รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามคำสำคัญ  : ล้านนา
การศึกษาและรวบรวมการใช้พันธุ์ไม้ ประดับลายหม้อปูรณฆฏะในศิลปกรรมล้านนา » การศึกษาและรวบรวมการใช้พันธุ์ไม้ ประดับลายหม้อปูรณฆฏะในศิลปกรรมล้านนา
การศึกษาและรวบรวมการใช้พันธุ์ไม้ ประดับลายหม้อปูรณฆฏะในศิลปกรรมล้านนา เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รมถึงรวบรวมรูปแบบลายหม้อปูรณฆฏะ ที่ปรากฏในงานศิลปกรรมล้านนาและนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปเผยแพร่ในลักษณะของสื่อสิ่งพิมพ์ โดยใช้วิธีการเขียนอธิบายความพรรณนาและบันทึกภาพถ่าย ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการลงพื้นที่ภาคสนามเข้าเก็บข้อมูลในพื้นที่ ซึ่งเป็นการวิจัยในลักษณะที่มุ่งเก็บรวมรวมรูปแบบลวดลายปูรณฆฏะในศิลปกรรม 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ซึ่งผลของการศึกษาสามารถนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปพัฒนาในรูปแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยใช้วัฒนธรรมล้านนาเป็นทุนทางวัฒนธรรม ผลการศึกษาการรวบรวมการใช้พันธุ์ไม้ ประดับลายหม้อปูรณฆฏะในศิลปกรรมล้านนา พบว่าในวัฒนธรรมของล้านนามีการใช้พันธุ์ไม้ตามธรรมชาติ มาออกแบบจนเกิดเป็นลวดลายประดับในงานศิลปะที่รับใช้ศาสนา ว่าด้วยลวดลายของเครื่องสักการระบูชา หนึ่งในลวดลายดังกล่าวปรากฏในรูปของ หม้อปูรณฆฏะ หรือในพื้นที่เรียกว่า ลายหม้อดอก ซึ่งปรากฏในงานศิลปกรรมล้านนาโดยการนำเอารูปแบบพันธุ์พฤกษาดอกไม้ต่างๆ มาออกแบบเป็นงานช่างศิลป์ ทั้งงานจิตรกรรม งานประติมากรรม งานภาพพิมพ์ นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงประวัติความเป็นมา การเกิดขึ้นของลวดลายในแต่ละพื้นที่ ถึงรูปแบบที่มีพัฒนาการและปรับใช้ในยุคสมัยที่ต่างกัน โดยการเก็บรวบรวมลายหม้อดอกปูรณฆฏะ จำนวน 184 วัดกับ 6 แหล่งมรดกวัฒนธรรม ปรากฏลวดลายหม้อดอกกว่า483 ลาย สู่การทำความเข้าใจรูปแบบลายและความหมายในพื้นที่ผ่านการประดับลายในตำแหน่งต่างๆ ในเขตพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ซึ่งได้แก่จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน จังหวัดลำปาง จังหวัดแพร่ จังหวัดน่าน จังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยา และจังหวัดแม่ฮ่องสอน นอกจากนี้จากการลงพื้นที่พบเทคนิคการสร้างงาน 3 อันดับแรกคือ งานลายคำมากที่สุด รองลงมาเป็นงานปูนปั้น และงานไม้แกะสลักตามลำดับ นอกจากเทคนิคงานช่างแล้ว จากการลงพื้นที่พบลวดลายหม้อดอกมากที่สุดในจังหวัด 3 อันดับแรกคือ จังหวัดลำปาง รองลงมาเป็นจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแพร่ ตามลำดับ และลวดลายหม้อดอกถูกสร้างขึ้นมาในการเป็นสัญลักษณ์ของการบูชาพระธรรมมากที่สุด โดยปรากฏบนหีบธรรม ธรรมมาสน์ และหอธรรม ส่วนการใช้พันธุ์ไม้ประดับลายหม้อปูรณฆฏะในศิลปกรรมล้านนา พบว่าในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20-21 ยังปรากฏรูปแบบของหม้อปูรณฆฏะที่มีดอกบัวโผล่ออกมาจากปากหม้อเป็นส่วนใหญ่ จนถึงในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22-23 ลายหม้อปูรณฆฏะเริ่มเป็นลวดลายกระหนก ซึ่งไม่สามารถระบุการใช้พันธุ์ไม้ในการประดับได้ จนถึงช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 หม้อปูรณฆฏะที่มีดอกบัวโผล่ออกมาจากปากหม้อเริ่มกลับมามีความนิยมอีกครั้ง และครั้งนี้เริ่มมีช่อดอกเอื้องประดับย้อยออกมาทั้งสองข้างของปากหม้อ ซึ่งพบลายในลักษณะนี้เฉพาะในพื้นที่จังหวัดลำปางเท่านั้น และในช่วงสุดท้ายพุทธศตวรรษที่ 25ลายหม้อปูรณฆฏะเริ่มเป็นลวดลายกระหนกอีกครั้ง โดยมีรูปแบบของลวดลายประดิษฐ์เข้ามาผสมผสาน เช่นลายดอกพุดตาน ลายหน้ากาล ลายกระจังตาอ้อย ซึ่งเป็นลายที่ได้รับอิทธิพลจากรัตนโกสินทร์เป็นส่วนใหญ่ รวมถึงอิทธิพลจากพม่า จีน และชาติตะวันตกด้วย จากการศึกษาการใช้พันธุ์ไม้ ประดับลายหม้อปูรณฆฏะในศิลปกรรมล้านนา ถือเป็นการรวบรวมข้อมูลซึ่งองค์ความรู้เหล่านี้ ถือเป็นงานศิลปะที่เกิดขึ้นจากการผูกพันกับธรรมชาติในสังคมล้านนา โดยนำเสนอผ่านมุมมองของความงามและสุนทรียะ เทคนิคงานช่างที่ใช้ใการสร้างสรรค์งาน ความนิยมในแต่ละพื้นที่ ทำให้เข้าใจการเชื่อมโยงและเห็นถึงที่มาของการใช้ลวดลายหม้อดอกสมบูรณ์มากขึ้น ซึ่งงานศึกษาชิ้นนี้จะเป็นประโยชน์และสร้างองค์ความรู้ใหม่ ว่าด้วยเรื่องหม้อปูรณฆฏะในศิลปกรรมล้านนา ให้ผู้สนใจมองเห็นและเข้าใจความงาม และสามารถนำรูปแบบลวดลายที่ได้เก็บรวบรวมไว้นี้ ไปพัฒนาและปรับใช้ในอนาคตต่อไป
คำสำคัญ : หม้อปูรณฆฏะ, หม้อดอก, ศิลปกรรมล้านนา  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : ดนตรี ศิลปะ วรรณกรรม บันเทิง
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1374  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ฐาปกรณ์ เครือระยา  วันที่เขียน 25/8/2565 10:00:21  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 18:00:02
การบริการวิชาการสู่ชุมชนด้านการทำนุบำรุงมรดกทางวัฒนธรรม » วัดร้างแสนขานกับจิตรกรรมเขียนสีกลางกรุ อายุ 600 ปี ค้นพบใหม่อีกแห่งในล้านนา
เจดีย์วัดร้างแสนขาน ตั้งอยู่บนถนนมณีนพรัตน์ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ไม่ปรากฏชื่อวัดแสนขาน ในเอกสารตำนานพงศาวดาร แต่สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นวัดที่ปรากฏชื่อในพงศาวดารโยนกว่า “...พญาเมืองเกษเกล้าได้ถูกอัญเชิญให้ขึ้นครองราชย์ แต่พระองค์ครองราชย์ได้แค่ 2 ปี พระองค์ก็ทรงเสียพระจริตจึงถูกปลงพระชนม์ และทำการส่งสักการ(เผา) ณ วัดแสนขาน แล้วจึงนำเอาพระอัฐิธาตุไปบรรจุไว้ ณ เจดีย์วัดโลกโมฬี..” อีกหนึ่งข้อสันนิษฐานคือ วัดนี้สร้างขึ้นโดยเจ้าแสนขาน หนึ่งในอำมาตย์ของพระเจ้าสามฝั่งแกน ที่คิดช่วยให้ "เจ้าลก" พระโอรสองค์ที่ 6 ในพญาสามฝั่งแกน ขึ้นครองราชย์ในนาม พระเจ้าติโลกราช แล้วบังคับให้พระเจ้าสามฝั่งแกนสละราชสมบัติ ในปี พ.ศ. 1985 ซึ่งต่อมาถูกพระเจ้าติโลกราชคุมขังและลดยศเป็น "หมื่นขาน" และให้ไปครองเมืองเชียงแสนแทน โดยสถาพปัจจุบันเป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่ในบริเวณบ้านพักอาศัยของประชาชน โดยการบุกรุกพื้นที่ของวัดจนถึงแนวขอบของฐานเจดีย์ รอบด้านเป็นอาคารบ้านพักชั้นเดียวและสองชั้น ซึ่งได้ทำการเช่าที่ดินจากราชพัสดุมาเป็นเวลานานหลายสิบปีแล้ว สิ่งที่น่าสนใจคือจิตรกรรมฝาผนังที่ถูกค้นพบในครั้งนี้ ถือเป็นหลักฐานใหม่ที่เกี่ยวข้องกับงานจิตรกรรมฝาผนังล้านนาในสมัยพุทธศตวรรษที่ 21 ซึ่งในอดีตที่ผ่านมามีข้อมูลเพียงงานจิตรกรรมฝาผนังในถ้ำคูหา วัดอุโมงค์ เชิงดอยสุเทพ ซึ่งเมื่อกล่าวถึงงานจิตรกรรมล้านนาโบราณในสมัยพุทธศตวรรษที่ 21 แล้ว ย่อมเป็นงานที่พบได้น้อยมากและเป็นภาพลายดอกไม้และลายธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้เนื่องจากการเวลาและสภาพภูมิอากาศ ที่เป็นตัวทำลายงานจิตรกรรมเขียนสีเหล่านั้น จากการค้นพบครั้งนี้เกิดจากการสำรวจวัดร้างในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่ ระหว่างปี 2561-2562 นำโดย รศ.ดร. สืบศักดิ์ แสนยาเกียรติคุณ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.ธวัชชัย ทำทอง จากมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง และ อ.ฐาปกรณ์ เครือระยา จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ทำการสำรวจวัดร้างแสนขาน ตามเอกสารที่ได้บันทึกไว้ว่า วัดร้างดังกล่าวตั้งอยู่บริเวณทิศตะวันออกของวัดโลกโมฬี นอกจากนี้ยังพบว่าวัดร้างแสนขานยังไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากทางกรมศิลปากร จึงทำให้เห็นสภาพเจดีย์ร้างอยู่ท่ามกลางสิ่งปลูกสร้างสมัยใหม่ ซึ่งก็เป็นบ้านเรือนของประชาชนที่จับจองพื้นที่รายล้อมเขตโบราณสถานดังกล่าว โดยสภาพของเจดีย์ยังค่อนข้างเห็นเป็นองค์ชัดเจน รูปแบบของเจดีย์สามารถบ่งบอกรายละเอียดได้บ้างบางส่วน สิ่งที่ทำให้เราเห็นหลักฐานภาพจิตรกรรมล้านนาโบราณในสมัยพุทธศตวรรษที่ 21 ก็เพราะการขุดหาของมีค่าจากกรุจนกรุแตก ภาพเขียนฝาผนังภายในกรุของวัดร้างแสนขานนั้น เขียนขึ้นเพื่อตกแต่งภายในกรุสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็ก กว้าง 55 เซนติเมตร ยาว 140 เซนติเมตร และสูง 120 เซนติเมตร ซึ่งเป็นกรุชั้นใน ส่วนกรุชั้นนอก (กรุหลอก) จะมีการก่อปูนไม่ฉาบ ห่างออกมาจากกรุในด้านละประมาณ 40-45 เซนติเมตร โดยกรุดังกล่าวอยู่ในระดับตัวเรือนธาตุ จิตรกรรมฝาผนังประดับกรุ ปรากฏบนผนังกรุด้านทิศเหนือ(ตัวภาพหันหน้าไปทางทิศใต้) ซึ่งเป็นผนังฝั่งเดียวที่มีงานเขียนภาพจิตรกรรม อีกทั้งภาพหลักฐานจิตรกรรมฝาผนังในกรุมีสภาพลบเลือนไปมาก จำเป็นต้องใช้เทคนิคคัดลอกจิตรกรรมด้วยมือและคอมพิวเตอร์ควบคู่กัน โดยการคัดลอกลายเส้น เพื่อให้เห็นรายละเอียดของภาพรวมในงานจิตรกรรมฝาผนังอันเก่าแก่ของศิลปะล้านนา ซึ่งมีอายุกว่า 600 ปีได้ชัดเจนมากขึ้นกว่าเดิม จิตรกรรมดังกล่าวเป็นเทคนิคเขียนสีปูนเปียก ซึ่งเป็นเทคนิคที่นิยมกันในยุคโบราณ เพื่อให้งานจิตรกรรมนั้นติดทนนาน ดังนั้นภายในห้องกรุเราจึงเห็นเนื้อปูนที่กะเทาะออกมาสองชั้นคือชั้นแรกคือปูนฉาบ และชั้นที่สองคือชั้นปูนเปียกเพื่อเตรียมเขียนงานจิตรกรรม สีที่ใช้เขียนพบว่ามีเพียงสองสีที่ชัดเจน คือสีแดงและสีดำ ซึ่งน่าจะเป็นสีที่มาจากชาดและยางรัก อันเป็นวัตถุให้สีที่นิยมกันในยุคโบราณ ส่วนภาพเขียนเป็นภาพเทวดา 2 องค์ องค์แรกไม่สามารถระบุได้เนื่องจากมีการกะเทาะของปูนบริเวณส่วนองค์เทวดาพอดี องค์ที่ 2 เป็นเทวดา 4 กร นั่นคือพระพรหมนั่นเอง พระพรหมทรงเครื่องสวมชฎามีรัศมี มือคู่แรกประนมมือไว้ มือคู่หลังกรีดกรายเหมือนถือช่อดอกไว้แต่ไม่ชัดเจน นุ่งผ้าสะบัดพลิ้ว รอบๆมีดอกไม้ลอยเป็นดอกโบตั๋น ส่วนฐานล่างสุดเป็นลายหม้อดอกบูรณฆฏะในหม้อเป็นดอกบัว ส่วนด้านบนเป็นลักษณะของรูปทรงสามเหลี่ยม ซึ่งจากการดูลายเส้นที่เลือนรางสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นรูปทรงของฉัตรหรือไม่ก็เป็นรูปทรงของเจดีย์ จิตรกรรมผาผนังภายในกรุวัดร้างแสนขาน ตามสภาพปัจจุบันนั้น อยู่ในสภาพที่ชำรุดลบเลือนมาก จนหลายคนเข้าใจว่าคงไม่มีภาพจิตรกรรมหลงเหลือ แต่จากการสำรวจครั้งนี้กลับพบหลักฐานของจิตรกรรมฝาผนังที่มีความสำคัญมากอีกชิ้นหนึ่งในล้านนา ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อวงการวิชากาต่อไปในอนาคต
คำสำคัญ : จิตรกรรมวัดร้างแสนขาน, จิตรกรรมล้านนา 600 ปี  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2634  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ฐาปกรณ์ เครือระยา  วันที่เขียน 5/9/2563 22:20:19  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:34:21
บทความ » อาหารพื้นบ้านของชาวล้านนา
ภาคเหนือหรืออาณาจักรล้านนาในอดีต เป็นดินแดนแห่งหนึ่งที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีตจวบจน ปัจจุบัน มีผู้คนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนแห่งนี้จากหลาย ๆ แหล่ง ทำให้ได้รับวัฒนธรรมหลากหลาย จากชนชาติต่าง ๆ เข้ามาในชีวิตประจำวัน รวมถึงประเภทอาหารและการบริโภคอาหาร ประกอบกับลักษณะ ภูมิประเทศที่มีเทือกเขาน้อยใหญ่ และมีแหล่งต้นน้ำหลายสาย ทำให้อากาศค่อนข้างหนาวเย็นในฤดูหนาว และฤดูฝน ส่งผลให้มีพืชพันธุ์ธัญญาหารมากมายโดยเฉพาะผักพื้นบ้าน ชาวล้านนา (คนที่อาศัยในภาคเหนือ) ได้สรรค์สร้างอาหารที่มีหลากหลายประเภทหรือตำหรับที่มีเสน่ห์ และมีเอกลักษณ์รสชาติเป็นของตนเอง การปรุงอาหารของชาวล้านนาส่วนใหญ่จะมีทั้งรสอ่อน เผ็ด เค็ม เปรี้ยว แต่ไม่หวาน อาหารภาคเหนือไม่นิยมใส่ น้ำตาล ความหวานจะได้จากวัตถุดิบส่วนผสมที่นำมาประกอบอาหาร เช่น ความหวานจากผัก และปลา เป็นต้น
คำสำคัญ : อาหารล้านนา  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 5848  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน กัณณิกา ข้ามสี่  วันที่เขียน 11/10/2562 10:31:57  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:35:07
การบริการการศึกษาและกิจการนักศึกษา » การสร้างขวัญและกำลังใจให้กับนักศึกษา อนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นแบบล้านนาให้ดำรงอยู่ "โครงการครอบครูกิ๋นอ้อไหว้ครูศิลปะ"
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดกิจกรรมครอบครูกิ๋นอ้อไหว้ครูศิลปะมาอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2539 จนถึงปัจจุบัน เป้าหมายหลักของพิธีเพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนทางด้านวิชาชีพสถาปัตยกรรม ช่วยเสริมความเชื่อมั่นและศรัทธาของนักศึกษาต่อคณาจารย์ตลอดจนช่วยเสริมสร้างความรักความสามัคคีระหว่างคณาจารย์ บุคลากร ศิษย์เก่า และศิษย์ปัจจุบันในสังกัดของคณะ
คำสำคัญ : อนุรักษ์ สืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ล้านนา ครอบครูกิ๋นอ้อ ไหว้ครูศิลปะ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานบริการการศึกษา
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3734  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน วรเชษฐ์ กาญจนวิศาล  วันที่เขียน 12/9/2562 14:11:27  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 20:40:25
เครื่องสักการะล้านนา » เครื่องสักการะล้านนา
กล่าวโดยรวมว่าด้วยเครื่องสักการะหลักในล้านนาได้แก่ “..ธุปบุปผาลาชาดวงดอกข้าวตอกดอกไม้ลำเทียน..” 1) ธุป(อ่านว่า ธุ-ปะ) แปลว่า ธูป 2) บุปผา แปลว่า ดอกไม้ 3) ลาชา(อ่านว่า ลา-จา) แปลว่าข้าวตอก 4) ลำเทียน คือ เทียน ของ 4 อย่างนี้ คือเครื่องสักการะหลักของชาวล้านนา
คำสำคัญ : เครื่องสักการะล้านนา  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 5674  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ฐาปกรณ์ เครือระยา  วันที่เขียน 7/8/2560 12:00:05  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 18:56:24
เรื่องนี้ต้องแบ่งปัน » ภูมิปัญญาบรรพบุรุษจากกลองหลวงล้านนาไทย
บทความเรื่อง"ภูมิปัญญาบรรพบุรุษจากกลองหลวงล้านนาไทย"มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมส่งเสริมในด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยบทความนี้ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารแม่โจ้ปริทัศน์ ปีที่ 16 ฉบับที่ 3 เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2558
คำสำคัญ : กลองหลวงล้านนา  ภูมิปัญญา  มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ศิลปวัฒนธรรม  ห้องสมุดคณะผลิตกรรมการเกษตร  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 4482  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ปาณิศา วงค์ใส  วันที่เขียน 7/9/2558 15:37:43  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:58:38
มะลิริมรั้ว » กล้วยไม้ เส้นใย และลีลา
เสียดายว่าปะเดี๋ยวนี้จกบ่ไหวสังขารมันบ่เอื้ออำนวยเสียแล้ว ลูกหลานมันก็บ่เอาแล้ว คงจะต้องปล่อยหื้อภูมิปัญญาบรรพบุรุษค่อยสูญสิ้นไป พร้อมกับผ้าซิ่นตีนจกผืนสุดท้ายของแม่อุ๊ยนี้แล้วหนอ
คำสำคัญ : ล้านนา  ศิลปวัฒนธรรม  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 13183  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน จรัสพิมพ์ บุญญานันต์  วันที่เขียน 13/1/2554 11:23:07  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 17:46:04