การศึกษาและรวบรวมการใช้พันธุ์ไม้ ประดับลายหม้อปูรณฆฏะในศิลปกรรมล้านนา
วันที่เขียน 25/8/2565 10:00:21     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:09:06
เปิดอ่าน: 1373 ครั้ง

การศึกษาและรวบรวมการใช้พันธุ์ไม้ ประดับลายหม้อปูรณฆฏะในศิลปกรรมล้านนา เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รมถึงรวบรวมรูปแบบลายหม้อปูรณฆฏะ ที่ปรากฏในงานศิลปกรรมล้านนาและนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปเผยแพร่ในลักษณะของสื่อสิ่งพิมพ์ โดยใช้วิธีการเขียนอธิบายความพรรณนาและบันทึกภาพถ่าย ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการลงพื้นที่ภาคสนามเข้าเก็บข้อมูลในพื้นที่ ซึ่งเป็นการวิจัยในลักษณะที่มุ่งเก็บรวมรวมรูปแบบลวดลายปูรณฆฏะในศิลปกรรม 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ซึ่งผลของการศึกษาสามารถนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปพัฒนาในรูปแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยใช้วัฒนธรรมล้านนาเป็นทุนทางวัฒนธรรม ผลการศึกษาการรวบรวมการใช้พันธุ์ไม้ ประดับลายหม้อปูรณฆฏะในศิลปกรรมล้านนา พบว่าในวัฒนธรรมของล้านนามีการใช้พันธุ์ไม้ตามธรรมชาติ มาออกแบบจนเกิดเป็นลวดลายประดับในงานศิลปะที่รับใช้ศาสนา ว่าด้วยลวดลายของเครื่องสักการระบูชา หนึ่งในลวดลายดังกล่าวปรากฏในรูปของ หม้อปูรณฆฏะ หรือในพื้นที่เรียกว่า ลายหม้อดอก ซึ่งปรากฏในงานศิลปกรรมล้านนาโดยการนำเอารูปแบบพันธุ์พฤกษาดอกไม้ต่างๆ มาออกแบบเป็นงานช่างศิลป์ ทั้งงานจิตรกรรม งานประติมากรรม งานภาพพิมพ์ นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงประวัติความเป็นมา การเกิดขึ้นของลวดลายในแต่ละพื้นที่ ถึงรูปแบบที่มีพัฒนาการและปรับใช้ในยุคสมัยที่ต่างกัน โดยการเก็บรวบรวมลายหม้อดอกปูรณฆฏะ จำนวน 184 วัดกับ 6 แหล่งมรดกวัฒนธรรม ปรากฏลวดลายหม้อดอกกว่า483 ลาย สู่การทำความเข้าใจรูปแบบลายและความหมายในพื้นที่ผ่านการประดับลายในตำแหน่งต่างๆ ในเขตพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ซึ่งได้แก่จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน จังหวัดลำปาง จังหวัดแพร่ จังหวัดน่าน จังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยา และจังหวัดแม่ฮ่องสอน นอกจากนี้จากการลงพื้นที่พบเทคนิคการสร้างงาน 3 อันดับแรกคือ งานลายคำมากที่สุด รองลงมาเป็นงานปูนปั้น และงานไม้แกะสลักตามลำดับ นอกจากเทคนิคงานช่างแล้ว จากการลงพื้นที่พบลวดลายหม้อดอกมากที่สุดในจังหวัด 3 อันดับแรกคือ จังหวัดลำปาง รองลงมาเป็นจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแพร่ ตามลำดับ และลวดลายหม้อดอกถูกสร้างขึ้นมาในการเป็นสัญลักษณ์ของการบูชาพระธรรมมากที่สุด โดยปรากฏบนหีบธรรม ธรรมมาสน์ และหอธรรม ส่วนการใช้พันธุ์ไม้ประดับลายหม้อปูรณฆฏะในศิลปกรรมล้านนา พบว่าในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20-21 ยังปรากฏรูปแบบของหม้อปูรณฆฏะที่มีดอกบัวโผล่ออกมาจากปากหม้อเป็นส่วนใหญ่ จนถึงในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22-23 ลายหม้อปูรณฆฏะเริ่มเป็นลวดลายกระหนก ซึ่งไม่สามารถระบุการใช้พันธุ์ไม้ในการประดับได้ จนถึงช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 หม้อปูรณฆฏะที่มีดอกบัวโผล่ออกมาจากปากหม้อเริ่มกลับมามีความนิยมอีกครั้ง และครั้งนี้เริ่มมีช่อดอกเอื้องประดับย้อยออกมาทั้งสองข้างของปากหม้อ ซึ่งพบลายในลักษณะนี้เฉพาะในพื้นที่จังหวัดลำปางเท่านั้น และในช่วงสุดท้ายพุทธศตวรรษที่ 25ลายหม้อปูรณฆฏะเริ่มเป็นลวดลายกระหนกอีกครั้ง โดยมีรูปแบบของลวดลายประดิษฐ์เข้ามาผสมผสาน เช่นลายดอกพุดตาน ลายหน้ากาล ลายกระจังตาอ้อย ซึ่งเป็นลายที่ได้รับอิทธิพลจากรัตนโกสินทร์เป็นส่วนใหญ่ รวมถึงอิทธิพลจากพม่า จีน และชาติตะวันตกด้วย จากการศึกษาการใช้พันธุ์ไม้ ประดับลายหม้อปูรณฆฏะในศิลปกรรมล้านนา ถือเป็นการรวบรวมข้อมูลซึ่งองค์ความรู้เหล่านี้ ถือเป็นงานศิลปะที่เกิดขึ้นจากการผูกพันกับธรรมชาติในสังคมล้านนา โดยนำเสนอผ่านมุมมองของความงามและสุนทรียะ เทคนิคงานช่างที่ใช้ใการสร้างสรรค์งาน ความนิยมในแต่ละพื้นที่ ทำให้เข้าใจการเชื่อมโยงและเห็นถึงที่มาของการใช้ลวดลายหม้อดอกสมบูรณ์มากขึ้น ซึ่งงานศึกษาชิ้นนี้จะเป็นประโยชน์และสร้างองค์ความรู้ใหม่ ว่าด้วยเรื่องหม้อปูรณฆฏะในศิลปกรรมล้านนา ให้ผู้สนใจมองเห็นและเข้าใจความงาม และสามารถนำรูปแบบลวดลายที่ได้เก็บรวบรวมไว้นี้ ไปพัฒนาและปรับใช้ในอนาคตต่อไป

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : ดนตรี ศิลปะ วรรณกรรม บันเทิง
การวาดรูปสีน้ำเบื้องต้น » หลักการการวาดสีน้ำ
หลักการระบายสีน้ำ และเทคนิคการระบายสีน้ำ ความจำเป็นที่จะต้องเข้าใจคุณสมบัติของสีน้ำ และต้องสามารถควบคุมได้ การลงมือทดลองจะเห็นธรรมชาติและความเป็นไปของจังหวะสี ดังนั้นการสร้างสรรค์ภาพวาดสีน้ำจึงต้อง...
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   ดนตรี ศิลปะ วรรณกรรม บันเทิง
ผู้เขียน ฐาปกรณ์ เครือระยา  วันที่เขียน 5/9/2563 22:15:54  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:42:20   เปิดอ่าน 5370  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
มองภูมิปัญญาทางงานศิลปะผ่านวัฒนธรรมโคมลอย » มองภูมิปัญญาทางงานศิลปะผ่านวัฒนธรรมโคมลอย
การลอยโคมลอยในปัจจุบันนี้แทบไม่มีความเชื่อดั้งเดิมหลงเหลืออยู่ คนจำนวนน้อยมากที่จะรู้ว่าพระธาตุประจำปีเกิดคืออะไร พระเกศแก้วจุฬามณีคืออะไร ทุกคนปล่อยโคมเพื่อหวังจะปล่อยเคราะห์ปล่อยโศกออกจากตัวไปกั...
โคมลอย     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   ดนตรี ศิลปะ วรรณกรรม บันเทิง
ผู้เขียน ฐาปกรณ์ เครือระยา  วันที่เขียน 7/8/2560 11:58:01  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 12:43:50   เปิดอ่าน 3871  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การวาดรูปสีน้ำเบื้องต้น » การวาดรูปสีน้ำเบื้องต้น
การวาดภาพสีน้ำ จะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก ซึ่งถ้าไม่คิดอะไรก็ป้ายๆสีลงไปเดี๋ยวก็ได้ภาพออกมา แต่ถ้าเล็งผลเลิศคาดหวังกับผลงานอนาคตมากเกินไป ความคิดไม่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงในปัจจุบัน หรือ ...
การวาดสีน้ำเบื้องต้น     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   ดนตรี ศิลปะ วรรณกรรม บันเทิง
ผู้เขียน ฐาปกรณ์ เครือระยา  วันที่เขียน 1/9/2559 11:05:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:37:05   เปิดอ่าน 3820  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การตัดตุงไส้หมู » การตัดตุงไส้หมู ศิลปะและภูมิปัญญาทางภาคเหนือ
การตัดตุงไส้หมู ซึ่งได้มีการสืบสานและเผยแพร่กันมา ดังนั้นในช่วงปีใหม่เมือง 2555 นี้คณะจึงได้นำความรู้ดังกล่าวมาเผยแพร่ให้ทุกคนได้เรียนรู้และนำไปใช้ในช่วงเทศกาลปี๋ใหม่เมือง ประหยัดงบประมาณ ได้ความ...
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   ดนตรี ศิลปะ วรรณกรรม บันเทิง
ผู้เขียน รัชชานนท์ สมบูรณ์ชัย  วันที่เขียน 16/5/2555 16:36:06  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:07:47   เปิดอ่าน 9535  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง