รหัสอ้างอิง :
2063
|
|
ชื่อสมาชิก :
ฐาปกรณ์ เครือระยา
|
เพศ :
ชาย
|
อีเมล์ :
thapakorn_k@mju.ac.th
|
ประเภทสมาชิก :
บุคลากรภายใน [สังกัด]
|
ลงทะเบียนเมื่อ :
11/4/2559 13:27:50
|
แก้ไขล่าสุดเมื่อ :
11/4/2559 13:27:50
|
|
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : เครื่องสักการะล้านนา
เครื่องสักการะของชาวล้านนานั้น สามารถบ่งบอกถึงความคิดอันลึกซึ้งของชาวล้านนาในการมองเห็นคุณค่าของสิ่งที่ควรบูชา โดยการน้อมนำสิ่งของมีคุณค่าอันควรแก่การบูชาที่มีอยู่ตามธรรมชาติและเต็มไปด้วยความงดงามและดีที่สุด นอกเหนือจากสิ่งที่บริโภคในวิถีชีวิตประจำวัน กล่าวคือ ข้าวตอก ซึ่งโดยปกตินั้นข้าวมีไว้สำหรับบริโภค แต่เมื่อนำมาทำเป็นข้าวตอกก็ถือเป็นสิ่งสักการะ เทียนขี้ผึ้ง (ไม่นับธูปเพราะรับมาจากถิ่นอื่น) ปกติจะไม่นำมาใช้เพื่อให้เกิดแสงสว่าง ถ้าจะมีการใช้ ก็จะใช้เฉพาะการบูชา และที่น่าสนใจยิ่ง คือ ดอกไม้ โดยทั่วไปดอกไม้ที่มีความสวยงามและมีกลิ่นหอมจะไม่มีการนำมาบริโภคเป็นอาหารแต่จะนำมาเป็นเครื่องสักการะ ส่วนวิธีการเก็บดอกไม้เพื่อบูชาพระก็จะกระทำด้วยความนุ่มนวลอ่อนโยนดังได้กล่าวแล้วข้างต้น ตรงนี้สะท้อนให้เห็นการให้ความเคารพต่อธรรมชาติ การปฏิบัติต่อธรรมชาติด้วยความอ่อนโยนและเทิดทูน แสดงถึงพื้นฐานจิตใจที่งดงามของชาวล้านนาซึ่งมีมาช้านาน
กล่าวโดยรวมว่าด้วยเครื่องสักการะหลักในล้านนาได้แก่ “..ธุปบุปผาลาชาดวงดอกข้าวตอกดอกไม้ลำเทียน..” 1) ธุป(อ่านว่า ธุ-ปะ) แปลว่า ธูป 2) บุปผา แปลว่า ดอกไม้ 3) ลาชา(อ่านว่า ลา-จา) แปลว่าข้าวตอก 4) ลำเทียน คือ เทียน ของ 4 อย่างนี้ คือเครื่องสักการะหลักของชาวล้านนา
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้