ตอนที่ 1 : ข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก
รหัสอ้างอิง : 2063
ชื่อสมาชิก : ฐาปกรณ์ เครือระยา
เพศ : ชาย
อีเมล์ : thapakorn_k@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน[สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 11/4/2559 13:27:50
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 11/4/2559 13:27:50


ตอนที่ 2 : ประวัติการเขียนบทความของสมาชิก
การศึกษาและรวบรวมการใช้พันธุ์ไม้ ประดับลายหม้อปูรณฆฏะในศิลปกรรมล้านนา เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รมถึงรวบรวมรูปแบบลายหม้อปูรณฆฏะ ที่ปรากฏในงานศิลปกรรมล้านนาและนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปเผยแพร่ในลักษณะของสื่อสิ่งพิมพ์ โดยใช้วิธีการเขียนอธิบายความพรรณนาและบันทึกภาพถ่าย ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการลงพื้นที่ภาคสนามเข้าเก็บข้อมูลในพื้นที่ ซึ่งเป็นการวิจัยในลักษณะที่มุ่งเก็บรวมรวมรูปแบบลวดลายปูรณฆฏะในศิลปกรรม 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ซึ่งผลของการศึกษาสามารถนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปพัฒนาในรูปแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยใช้วัฒนธรรมล้านนาเป็นทุนทางวัฒนธรรม ผลการศึกษาการรวบรวมการใช้พันธุ์ไม้ ประดับลายหม้อปูรณฆฏะในศิลปกรรมล้านนา พบว่าในวัฒนธรรมของล้านนามีการใช้พันธุ์ไม้ตามธรรมชาติ มาออกแบบจนเกิดเป็นลวดลายประดับในงานศิลปะที่รับใช้ศาสนา ว่าด้วยลวดลายของเครื่องสักการระบูชา หนึ่งในลวดลายดังกล่าวปรากฏในรูปของ หม้อปูรณฆฏะ หรือในพื้นที่เรียกว่า ลายหม้อดอก ซึ่งปรากฏในงานศิลปกรรมล้านนาโดยการนำเอารูปแบบพันธุ์พฤกษาดอกไม้ต่างๆ มาออกแบบเป็นงานช่างศิลป์ ทั้งงานจิตรกรรม งานประติมากรรม งานภาพพิมพ์ นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงประวัติความเป็นมา การเกิดขึ้นของลวดลายในแต่ละพื้นที่ ถึงรูปแบบที่มีพัฒนาการและปรับใช้ในยุคสมัยที่ต่างกัน โดยการเก็บรวบรวมลายหม้อดอกปูรณฆฏะ จำนวน 184 วัดกับ 6 แหล่งมรดกวัฒนธรรม ปรากฏลวดลายหม้อดอกกว่า483 ลาย สู่การทำความเข้าใจรูปแบบลายและความหมายในพื้นที่ผ่านการประดับลายในตำแหน่งต่างๆ ในเขตพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ซึ่งได้แก่จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน จังหวัดลำปาง จังหวัดแพร่ จังหวัดน่าน จังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยา และจังหวัดแม่ฮ่องสอน นอกจากนี้จากการลงพื้นที่พบเทคนิคการสร้างงาน 3 อันดับแรกคือ งานลายคำมากที่สุด รองลงมาเป็นงานปูนปั้น และงานไม้แกะสลักตามลำดับ นอกจากเทคนิคงานช่างแล้ว จากการลงพื้นที่พบลวดลายหม้อดอกมากที่สุดในจังหวัด 3 อันดับแรกคือ จังหวัดลำปาง รองลงมาเป็นจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแพร่ ตามลำดับ และลวดลายหม้อดอกถูกสร้างขึ้นมาในการเป็นสัญลักษณ์ของการบูชาพระธรรมมากที่สุด โดยปรากฏบนหีบธรรม ธรรมมาสน์ และหอธรรม ส่วนการใช้พันธุ์ไม้ประดับลายหม้อปูรณฆฏะในศิลปกรรมล้านนา พบว่าในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20-21 ยังปรากฏรูปแบบของหม้อปูรณฆฏะที่มีดอกบัวโผล่ออกมาจากปากหม้อเป็นส่วนใหญ่ จนถึงในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22-23 ลายหม้อปูรณฆฏะเริ่มเป็นลวดลายกระหนก ซึ่งไม่สามารถระบุการใช้พันธุ์ไม้ในการประดับได้ จนถึงช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 หม้อปูรณฆฏะที่มีดอกบัวโผล่ออกมาจากปากหม้อเริ่มกลับมามีความนิยมอีกครั้ง และครั้งนี้เริ่มมีช่อดอกเอื้องประดับย้อยออกมาทั้งสองข้างของปากหม้อ ซึ่งพบลายในลักษณะนี้เฉพาะในพื้นที่จังหวัดลำปางเท่านั้น และในช่วงสุดท้ายพุทธศตวรรษที่ 25ลายหม้อปูรณฆฏะเริ่มเป็นลวดลายกระหนกอีกครั้ง โดยมีรูปแบบของลวดลายประดิษฐ์เข้ามาผสมผสาน เช่นลายดอกพุดตาน ลายหน้ากาล ลายกระจังตาอ้อย ซึ่งเป็นลายที่ได้รับอิทธิพลจากรัตนโกสินทร์เป็นส่วนใหญ่ รวมถึงอิทธิพลจากพม่า จีน และชาติตะวันตกด้วย จากการศึกษาการใช้พันธุ์ไม้ ประดับลายหม้อปูรณฆฏะในศิลปกรรมล้านนา ถือเป็นการรวบรวมข้อมูลซึ่งองค์ความรู้เหล่านี้ ถือเป็นงานศิลปะที่เกิดขึ้นจากการผูกพันกับธรรมชาติในสังคมล้านนา โดยนำเสนอผ่านมุมมองของความงามและสุนทรียะ เทคนิคงานช่างที่ใช้ใการสร้างสรรค์งาน ความนิยมในแต่ละพื้นที่ ทำให้เข้าใจการเชื่อมโยงและเห็นถึงที่มาของการใช้ลวดลายหม้อดอกสมบูรณ์มากขึ้น ซึ่งงานศึกษาชิ้นนี้จะเป็นประโยชน์และสร้างองค์ความรู้ใหม่ ว่าด้วยเรื่องหม้อปูรณฆฏะในศิลปกรรมล้านนา ให้ผู้สนใจมองเห็นและเข้าใจความงาม และสามารถนำรูปแบบลวดลายที่ได้เก็บรวบรวมไว้นี้ ไปพัฒนาและปรับใช้ในอนาคตต่อไป
ความหมายของโคมลอย โคมลอย ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของมวลมนุษยชาติอีกหนึ่งชิ้น ที่สามารถพบวัฒนธรรมการปล่อยโคมในหลายพื้นที่บนโลกนี้ เช่นในจีนโบราณ โคมลอยใช้ในทางยุทธศาสตร์ในสงคราม แต่ในช่วงหลังมีการใช้นอกเหนือจากทางทหาร เมื่อได้รับความนิยมในหมู่เด็กในเทศกาล จนนำมาปรับใช้อย่างเช่นเทศกาลไหว้พระจันทร์และเทศกาลโคม ในประเทศใต้หวัน นครนิวไทเป จะจัดเทศกาลโคมประจำปีซึ่งมีการปล่อยโคมลอยสู่ท้องฟ้าราตรีพร้อมกับมีคำอธิษฐานเขียนไว้บนโคม และตัวอย่างโคมลอยในประเทศบราซิลและโปรตุเกสเป็นประเพณีหนึ่งของเทศกาลเดือนมิถุนายน ประเพณีดังกล่าวได้นำมาจากโปรตุเกสแล้วนำมาแพร่หลายในประเทศบราซิลในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และยังคงแพร่หลายในประเทศโปรตุเกส โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโปร์ตู สันนิษฐานว่านักสำรวจชาวโปรตุเกสอาจนำประเพณีนี้มาจากจีนราว ค.ศ. 1500 นำไปดัดแปลงและปรับใช้จนกลายเป็นจารีตประเพณีของโคมลอยบราซิลให้เข้ากับเทศกาลของตน ในส่วนของโคมลอยในประเทศไทยนั้น ปรากฏในเขตภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งอยู่ในเขตวัฒนธรรมล้านนา มีการใช้โคมลอยในเทศกาลยี่เป็ง ซึ่งจัดในวันเพ็ญเดือน 2 ของปฏิทินล้านนา (ตรงกับลอยกระทง ในวันเพ็ญ เดือน 12 ของปฏิทินจันทรคติไทย) เทศกาลนี้มุ่งหมายให้เป็นเวลาทำบุญ ทั้งการไหว้พระธาตุเกศแก้วจุฬามณี การฟังเทศน์มหาชาติหรือการตั้งธรรมหลวง การฟังธรรมอานิสงส์การจุดฝางประทีป เป็นต้น ในยุคปัจจุบันชาวไทยทุกภาคนิยมลอยโคมจนกลายเป็นเทศกาลธรรมเนียมนิยมของประเทศ จากวัฒนธรรมโคมลอยดังกล่าว ได้มีนักวิชาการได้ให้นิยามและความหมายของโคมลอยหลากหลายแนวคิด ซึ่งความหมายแต่ละแนวคิดมีส่วนเติมเต็มให้รู้และเข้าใจในความเป็นโคมลอยในวัฒนธรรมล้านนามากขึ้น ดังแนวคิดต่อไปนี้ มณี พะยอมยงค์, 2537. กล่าวว่า โคมลอย นิยมเล่นกันมากในเดือนยี่ เพราะ เชื่อว่าอากาศโปร่ง ท้องฟ้าแจ่มใส สามารถเห็นโคมลอยได้ชัดในวันเดือนยี่เป็ง จึงมีโคมลอยถูกปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้าอย่างมากมาย เมื่อลอยไปในอากาศมีเสียงประทัด ที่แขวนไว้ได้โคมลอยแตกเป็นระยะๆน่าสนุกสนานยิ่ง ส่วนวิบูลย์ ลี้สุวรรณ, 2541. ได้ให้นิยามศัพท์คำว่าโคมโดยรวม ได้กล่าวว่า โคม หมายถึง เครื่องตามไฟที่มีกำบังลมโปร่งแสง อาจทำเป็นรูปสี่เหลี่ยม, รูปแปดเหลี่ยม, รูปกลม หรือทรงอื่นๆ ที่หิ้วหรือแขวน ตามที่ต่างๆ ทั้งเพื่อให้แสงสว่างโดยตรง และให้เป็นเครื่องบูชาสิ่งที่เคารพนับถือ เช่น แขวนบูชาพระพุทธรูปแขวนไว้ในศาสนสถาน และสถานที่สำคัญในงานพิธีต่างๆ นอกจากนี้สิงห์แก้ว มโนเพชร, 2535. ปราชญ์ท้องถิ่นได้กล่าวว่า ความเชื่อในอดีตเชื่อว่า การปล่อยโคมเพื่อเป็นพุทธบูชาและการปล่อยเคราะห์กรรม คนโบราณเขาเชื่อกันว่าการลอยโคมขึ้นบนท้องฟ้า เป็นการลอยเคราะห์ลอยนาม เป็นการให้ทานอีกลักษณะหนึ่ง โคมที่ปล่อยขึ้นไปนั้นก็เพื่อจะให้ลอยขึ้นไปบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสรวงสรรค์อันเป็นที่บรรจุพระธาตุประจำปีของผู้ที่เกิดปีจอ หรือเพื่อบูชาแก่เจ้าผู้ให้กำเนิดของตนบนสวรรค์ที่เรียกว่า "พ่อเกิดแม่เกิด" เหตุของการปล่อยโคมลอย การปล่อยโคมลอยนั้น ในวัฒนธรรมล้านนาจะปล่อยกันในช่วงวันเพ็ญเดือนยี่ หรือวันเพ็ญเดือนสิบสองของไทยเท่านั้น โดยก่อนจะถึงวันเพ็ญ 3-4 วัน แต่ละชุมชนจะมีการรวมตัวกันของพระสงฆ์ สามเณร พ่อ หน้อยและพ่อหนานภายในชุมชน มาร่วมด้วยช่วยกันในการทำโคมลอย ซึ่งโดยหลักๆแล้ว จะทำกันชุมชนละ 2 ลูกขึ้นไป แล้วอาจจะทำสำรองไว้ 1-2 ลูก เพื่อใช้ในวันเพ็ญเดือนยี่ โดยโคมลอยลูกแรกจะปล่อยเพื่อบูชาพระธาตุเกศแก้วจุฬามณี หลังจากที่ปล่อยโคมลมลูปแรกไปแล้วสักระยะ ก็จะปล่อยโคมลมลูกที่สอง เพื่อเป็นการปล่อยเคราะห์ ตามความเชื่อของชาวล้านนา โดยโคมแต่ละลูกมีรายละเอียดดังนี้ 1. ปล่อยโคมบูชาพระธาตุเกศแก้วจุฬามณี การปล่อยโคมลมบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีที่อยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น ถือเป็นความเชื่อเรื่องการบูชาพระธาตุที่อยู่บนสวรรค์ซึ่งคนเราไม่สามารถขึ้นไปไหว้พระธาตุนี้ได้นอกจากจะเสียชีวิตไปแล้ว ถึงจะสามารถขึ้นไปไหว้สักการะพระธาตุองค์ดังกล่าว แต่คนล้านนาก็มีวิธีไหว้โดยการปล่อยโคมเพื่อสักการะพระธาตุบนสรวงสวรรค์โดยไม่ต้องรอให้ถึงชีวิตหลังความตาย รวมไปถึงการเชื่อมโยงเรื่องของชุธาตุของคนล้านนา กล่าวคือคนล้านนาจะเชื่อว่าก่อนที่คนเราจะเกิดมาเป็นมนุษย์ วิญญาณของเราจะไปชุหรือพักอยู่ที่พระธาตุประจำปีเกิดก่อนที่จะจุติมาเป็นคน ดังนั้นในช่วงชีวิตหนึ่งที่เกิดมา ทุกคนควรจะได้ไปสักการะพระธาตุประจำปีเกิดของตนเองให้ได้สักครั้ง อย่างเช่นคนเกิดปีชวดมีพระธาตุประจำปีเกิดคือพระธาตุศรีจอมทองก็ต้องไปไหว้พระธาตุจอมทอง ส่วนคนที่เกิดปีอื่นๆ ก็ไหว้พระธาตุประจำปีเกิดของตนเองไปซึ่งส่วนใหญ่ก็อยู่ในเขตล้านนา ในบรรดา 12 ปีเกิดนั้นก็จะมีเพียงสองสามปีเกิดที่มีพระธาตุประจำปีเกิดอยู่นอกเขตล้านนา เช่น พระธาตุพนม เจดีย์ชเวดากอง แต่ปีที่พิเศษสุดก็คือคนเกิดปีจอ มีพระธาตุประจำปีเกิดอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ คือพระเกศแก้วจุฬามณี ซึ่งจะไปไหว้ที่ไหนก็ไม่ได้ ก็เลยทำอะไรหลายอย่างเพื่อให้ได้ไปไหว้พระธาตุประจำปีเกิดของตน เช่น ทำสรวยดอกไม้หรือกรวยดอกไม้ธูปเทียนไปใส่ในโลงศพของคนตายที่เกิดปีจอเหมือนกัน ฝากวิญญาณนำดอกไม้ธูปเทียนไปไหว้พระเกศแก้วจุฬามณีแทนตัวเอง หรือจะใช้วิธีไปไหว้พระกลางวิหารหลวงในคืนยี่เป็ง หรือจะเขียนชื่อใส่กระดาษผูกติดโคมลมแล้วปล่อยขึ้นฟ้าไปไหว้พระเกศแก้วจุฬามณีก็ได้ ส่วน “โคมไฟ” ก็จะปล่อยในตอนกลางคืนโดยมีไฟเป็นเชื้อเพลิง และโคมไฟนี้ ก็จะมีต้นครัวตานติดไว้กับโคมเพื่อใช้ในการถวายไปถึงพระธาตุเกศแก้วจุฬามณีนั้นเอง ซึ่งถือเป็นทำเนียมปฏิบัติมานาน จนมีหลักฐานจากราชกิจจานุเบกษาที่ประกาศ เมื่อปี พ.ศ.2443 ได้ประกาศเกี่ยวกับการห้ามลอยโคมลอยในมณฑลพายัพว่า “.....การปล่อยโคมลอยได้สร้างความเสียหายจากเพลิงไหม้แก่บ้านเรือน....” แสดงให้เห็นว่าในอดีตมีการปล่อยโคมไฟจนก่อเกิดความเสียหายทางทรัพย์สิน จากประกาศห้ามดังกล่าว ทำให้โคมไฟครัวตานแบบนี้ลดความนิยมลงด้วยตัวบทกฎหมาย และคงเหลือในบางพื้นที่จนห่างหายไป ซึ่งโคมไฟดังกล่าวนี้เป็นโคมไฟ
เครื่องสักการะของชาวล้านนานั้น สามารถบ่งบอกถึงความคิดอันลึกซึ้งของชาวล้านนาในการมองเห็นคุณค่าของสิ่งที่ควรบูชา โดยการน้อมนำสิ่งของมีคุณค่าอันควรแก่การบูชาที่มีอยู่ตามธรรมชาติและเต็มไปด้วยความงดงามและดีที่สุด นอกเหนือจากสิ่งที่บริโภคในวิถีชีวิตประจำวัน กล่าวคือ ข้าวตอก ซึ่งโดยปกตินั้นข้าวมีไว้สำหรับบริโภค แต่เมื่อนำมาทำเป็นข้าวตอกก็ถือเป็นสิ่งสักการะ เทียนขี้ผึ้ง (ไม่นับธูปเพราะรับมาจากถิ่นอื่น) ปกติจะไม่นำมาใช้เพื่อให้เกิดแสงสว่าง ถ้าจะมีการใช้ ก็จะใช้เฉพาะการบูชา และที่น่าสนใจยิ่ง คือ ดอกไม้ โดยทั่วไปดอกไม้ที่มีความสวยงามและมีกลิ่นหอมจะไม่มีการนำมาบริโภคเป็นอาหารแต่จะนำมาเป็นเครื่องสักการะ ส่วนวิธีการเก็บดอกไม้เพื่อบูชาพระก็จะกระทำด้วยความนุ่มนวลอ่อนโยนดังได้กล่าวแล้วข้างต้น ตรงนี้สะท้อนให้เห็นการให้ความเคารพต่อธรรมชาติ การปฏิบัติต่อธรรมชาติด้วยความอ่อนโยนและเทิดทูน แสดงถึงพื้นฐานจิตใจที่งดงามของชาวล้านนาซึ่งมีมาช้านาน กล่าวโดยรวมว่าด้วยเครื่องสักการะหลักในล้านนาได้แก่ “..ธุปบุปผาลาชาดวงดอกข้าวตอกดอกไม้ลำเทียน..” 1) ธุป(อ่านว่า ธุ-ปะ) แปลว่า ธูป 2) บุปผา แปลว่า ดอกไม้ 3) ลาชา(อ่านว่า ลา-จา) แปลว่าข้าวตอก 4) ลำเทียน คือ เทียน ของ 4 อย่างนี้ คือเครื่องสักการะหลักของชาวล้านนา
เทคนิคสำหรับสีน้ำเบื้องต้นสามารถฝึกตาม โดยเริ่มร่างภาพตามต้นแบบดอกกล้วยไม้ที่เราเตรียมไว้ ซึ่งต้องหามุม จังหวะ และกะองศาจองดอกให้ถูก โดยช่อดอกแกนต้องตรง ถัดมามองภาพรวมของดอกทั้งหมดเป็นวงรีและตามด้วยกลีบสองข้างที่ยื่นออกมาและก้านของดอก แบ่งช่วงดอกด้านใน หลังจากขั้นตอนด้านบนจึงค่อยเก็บรายละเอียดด้านในของดอกทั้งหมดทำไปพร้อมๆกัน การเริ่มลงสีจะใช้วิธีเปียกบนแห้ง คือรอให้สีที่ลงแต่ละชั้นแห้งก่อนแล้วจึงผสมสีให้เข้ม ขึ้นลงทับชั้นต่อไปเรื่อยๆ ผสมสีเพิ่มเพื่อลงในชั้นต่อไป ตรงนี้เป็นส่วนสำคัญ กะปริมาณสีและน้ำให้ดี เพิ่มความเข้มของสีลงทับชั้นต่อไป ข้อควรระวังอย่าลงสีในลักษณะกดและย้ำภู่กัน ถูไปมาจะทำให้กระดาษช้ำจนงานเสีย สีเขียวที่ก้านผมผสม เหลืองไปนิดหน่อยและบวกแดงอีกนิด เพิ่มความเข้มชั้นต่อไป ระหว่างนี้อาจจะมีบางส่วนเป็นรอยด่างบ้าง ถ้าเกิดขึ้นมาแล้วอย่าไปใส่ใจมันมากควบคุมภาพรวมของงานสำคัญกว่า เพิ่มน้ำหนักเขียวเข้มในงานโดยใช้สีที่มีความเข้มเป็นส่วนของเงา เก็บงานรอบสุดท้าย ซึ่งแต่ละคนอาจแบ่งชั้นของน้ำหนักมากกว่าหรือน้อยกว่านี้ก็ได้ไม่มีผิดหรือถูก อยู่ที่ว่าเราสามารถสื่อออกมาให้คนอื่นรับรู้ได้ว่าเรากำลังวาดอะไร
พิพิธภัณฑ์งานศิลป์เมืองละกอน วัดปงสนุกเหนือ วัดปงสนุก หรือวัดปงสนุกเหนือ ตั้งอยู่ในเขต ต.เวียงเหนือ อ.เมือง จ.ลำปาง เป็นวัดสำคัญคู่กับจังหวัดลำปางมาช้านาน สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยที่เจ้าอนันตยศ ราชบุตรของพระนางจามเทวีแห่งหริภุญไชย (ลำพูน) เสด็จมาสร้างเขลางค์นคร(ลำปาง) เมื่อ พ.ศ.1223 หรือ 1,328 ปีก่อน ต่อมาซึ่งไม่ชัดเจนว่าปี พ.ศ. ใดจึงได้มีการแบ่งวัดเป็นวัดปงสนุกด้านเหนือและวัดปงสนุกด้านใต้ เรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2429 ได้มีการบูรณะครั้งใหญ่ โดยเริ่มจากการซ่อมพระเจดีย์ สร้างฉัตร ก่อซุ้มประตูโขง วิหารยอดปราสาท หรือวิหารพระเจ้าพันองค์ วิหารพระนอน พร้อมทั้งการสร้างหีบธรรม งานพุทธศิลป์ต่างๆ ถวายไว้กับวัดปงสนุกโดยครูบาโนร่วมกับเจ้าผู้ครองนครลำปางในยุคนั้น ซึ่งเป็นเหตุให้วัดปงสนุกมีงานพุทธศิลป์ปรากฏอยู่มากมาย หลากหลายชนิดในปัจจุบัน สิ่งที่สำคัญและถือเป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถาน ที่ทางวัดได้นำเสนอสิ่งแรกๆคือ วิหารยอดปราสาทหรือวิหารพระเจ้าพันองค์ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่มีความโดดเด่นและเก่าแก่ที่รวบรวมไว้ทั้งงานด้านจิตรกรรม งานประติมากรรม สถาปัตยกรรมผสมผสานได้อย่างลงตัว ถือเป็นงานสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีเพียงแห่งเดียวของประเทศ ได้รับการบูรณะซ่อมแซมที่เกิดจากการเห็นคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมระหว่างคนในชุมชนและนักวิชาการภายนอก ทั้งในส่วนงานราชการและองค์กรเอกชน เช่นคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยศิลปากร, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นต้น จนเป็นรูปแบบของการอนุรักษ์อาคารที่เป็นการรักษาของเดิมไว้อย่างสมบูรณ์ ทำให้“โครงการอนุรักษ์มรดกทางศิลปกรรม สถาปัตยกรรมวิหารพระเจ้าพันองค์” วัดปงสนุกด้านเหนือ ได้รับคัดเลือกจาก 45 โครงการ ใน 13 ประเทศ ให้ได้รับรางวัล Award of Merit จากโครงการ 2008 Asia-Pacific Heritage Award for Cultural Heritage Conservation จากองค์การ UNESCO ซึ่งถือเป็นก้าวแรกของการจัดทำพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตขึ้นมา เพื่อให้นักท่องเที่ยว นักเรียน นักศึกษาและผู้สนใจ เข้าเยี่ยมชมและเรียนรู้งานศิลป์ของเมืองลำปาง จากการเก็บรวบรวมงานโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่ถือเป็นงานพุทธศิลป์ครูบาโน ที่ปรากฎภายในวัดปงสนุกเหนือน โดยพระครูโสภิตขันตยาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดปงสนุกด้านเหนือประมาณ 50 กว่าปีที่ผ่านมา ทำให้งานพุทธศิลป์ต่างๆ ที่ครูบาโนได้สร้างไว้ยังคงถูกเก็บรักษาไว้ภายในวัดปงสนุกเหนือเป็นอย่างดี จนต่อมาพระน้อย นรตฺตโม ผู้ช่วยเจ้าอาวาส และอาจารย์อนุกูล ศิริพันธุ์ คนในชุมชนบ้านปงสนุก ได้เล็งเห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้ จึงได้มีการศึกษาทั้งในรูปแบบลวดลาย การนำไปใช้งานต่างๆ รวมไปถึงประวัติในการสร้างงานพุทธศิลป์ชิ้นนั้นๆ เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาจัดเป็นระบบฐานข้อมูลมรดกทางวัฒนธรรมที่มีภายในชุมชน และจึงได้พิพิธภัณฑ์งานศิลป์เมืองละกอน วัดปงสนุกเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดยแบ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ย่อยอีกมากมาย คือ 1) พิพิธภัณฑ์หีบธรรม 2)พิพิธภัณฑ์พระพุทธรูปไม้ 3)พิพิธภัณฑ์ตุงค่าวธรรม 4)พิพิธภัณฑ์งานพุทธศิลป์และเครื่องใช้ในพิธีกรรม 5)พิพิธภัณฑ์ครูเมืองละกอน และ 6)ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านปงสนุก เป็นต้น ถือเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลแสดงผลของการศึกษาถึงรูปแบบงานพุทธศิลป์ครูบาโนอันเป็นเอกลักษณ์ทางเทคนิคเชิงช่างที่ปรากฏในนครลำปาง ซึ่งพิพิธภัณฑ์ต่างๆเหล่านนี้ถือเป็นแหล่งข้อมูลด้านงานพุทธศิลป์สำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดลำปาง ทำหน้าที่เผยแพร่องค์ความรู้และมรดกทางวัฒนธรรมสู่สังคมภายนอกเพื่อนำไปใช้เป็นประโยชน์ซึ่งแต่ละพิพิธภัณฑ์ย่อย มีรูปแบบการนำเสนองานพุทธศิลปกรรมดังนี้ 1) พิพิธภัณฑ์หีบธรรม ในพิพิธภัณฑ์ห้องนี้จัดแสดงหีบธรรม เป็นหีบสำหรับเก็บคัมภีร์ใบลานที่เขียนด้วยภาษาและตัวอักษรพื้นเมืองมีทั้งหมด 10 ใบ แต่ละใบตกแต่งด้วยการเขียนลวดลาย ลงรักปิดทอง เช่น รูปเทวดา รูปดอกไม้ รูปลวดลายหมอบูรณกฎ ลายสัตว์และลวดลายพรรณพฤกษา หีบธรรมบางใบตกแต่งด้วยการปั้นปูนซึ่งเป็นรูปเทวดาและใช้เทคนิคการฉลุทองเหลือง ประดับด้วยกระจกจีน การตกแต่งด้วยภาพพระเกศแก้วจุฬามณี ภาพการเทศนาธรรมอยู่ในอาคาร เป็นต้น บางใบมีการจารึกหีบธรรมที่สร้างขึ้นในสมัยครูบาโนยังปรากฏให้เห็นและอยู่ในสภาพที่ดี ซึ่งได้รับการศึกษาคัดลอกลายประดับและขึ้นทะเบียนเป็นที่เรียบร้อย 2)พิพิธภัณฑ์พระพุทธรูปไม้ พิพิธภัณฑ์พระพุทธรูปไม้ เกิดขึ้นจากการที่คนในชุมชนร่วมมือกับคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย รศ.ดร.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ ได้จัดทำโครงการอนุรักษ์และถอดแบบวิหารพระเจ้าพันองค์ เพื่อนำองค์ความรู้มาใช้ในการบูรณะซ่อมแซม ในปี 2547 แล้วจากการรื้อถอนโครงสร้างด้านบนของวิหารพระเจ้าพันองค์ ก็ได้เจอพระพุทธรูปไม้โบราณจำนวนหลายร้อยองค์ ที่ถูกนำมาเก็บรักษาไว้เมื่อประมาณ 50สิบปีก่อน คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย รศ.ดร.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ ร่วมกับ อ.อนุกูล ศิริพันธ์ และคนในชุมชนจึงเห็นควรจัดทำทะเบียนโบราณวัตถุให้กับพระพุทธรูป เพื่อให้ได้ฐานข้อมูลและสามารถนำมาจัดแสดงให้ชมต่อไปได้ ในเวลาต่อมาคนในชุมชนร่วมกันนำพระพุทธรูปไม้บางส่วนมาจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ โดยปรับอาคารกุฏิหลังเดิมมาเป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงและให้เป็นสถานที่จัดเก็บโบราณวัตถุของวัดและใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน โดยได้รับความร่วมมือจากบรรดาพระเณรภายในวัด คนในชุมชนและนักวิชาการภายนอก พระพุทธรูปไม้ในภาษาพื้นเมืองเรียกกันว่า "พระเจ้าไม้" ในอดีตชาวล้านนานิยมสร้างพระไม้หรือพระเจ้าไม้ เพื่อสืบทอดพุทธศาสนา พระเจ้าไม้ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีหลากหลายพุทธลักษณะและหลายขนาด มีฐานสูงเพื่อจารึกข้อความ ส่วนมากจะจารคำถวายของผู้สร้าง ระบุวันเดือนปีที่สร้าง บางองค์ทำจากเกสรดอกไม้ โดยนำเกสรมาเผาแล้วนำมาปั้น ภายในเป็นโครงเหล็ก บางองค์แกะสลักจากไม้ต่างๆ เช่น ไม้สัก ไม้ศรี(ต้นโพธิ์) ไม้ขนุน ไม้แก้ว ไม้แก่นจันทน์ เป็นต้น ซึ่งพระเจ้าไม้ทุกองค์ทางวัดปงสนุกได้ทำทะเบียนและ
การบริการวิชาการสู่ชุมชนด้านการทำนุบำรุงมรดกทางวัฒนธรรมนั้น ผู้จัดทำโครงการต้องมีบทบาทในการอนุรักษ์ซ่อมแซมและสร้างจิตสำนึก ด้วยการเข้ามาทำความรู้จักงานศิลปกรรมภายในชุมชนและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ศิลปกรรมที่มีในท้องถิ่น ดังโครงการที่ได้จัดทำขึ้นตามชุมชนต่างๆ เช่นการอนุรักษ์และทำทะเบียน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่พบภายในชุมชนนั้นๆ ซึ่งต้องอาศัยคนในชุมชนโดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์งานศิลปกรรมดังกล่าว ทั้งนี้ยังเปิดโอกาสให้ผู้อาวุโสภายในชุมชน เข้ามาร่วมวิภาคและแสดงความคิดเห็น รวมทั้งเล่าเกร็ดประวัติศาสตร์ของชุมชน เพื่อได้รับรู้และเข้าใจร่วมกัน อันเป็นการกระบวนการปลุกจิตสำนึกร่วมกับชุมชน นอกจากนี้งานบริการวิชาการยังได้สร้างกลุ่มผู้นำในการอนุรักษ์ศิลปกรรมในท้องถิ่น โดยส่งผลให้เกิดกระบวนการอนุรักษ์ต่อไปได้อย่างมีระบบ โดยอาศัยกลุ่มประธานชุมชน กลุ่มแม่บ้าน และกลุ่มเยาวชน เข้ามามีบทบาทหน้าที่ในการแสดงความสามารถและแสดงความคิดเห็นในการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมภายในชุมชน มีสิทธิ เสรีภาพในการจัดกิจกรรมต่างๆ โดยอาศัยแนวทางการปฏิบัติตามที่คณะวิจัยได้เสนอแนะ คือการทำงานร่วมกับชุมชน บทเรียนสำคัญจากการทำงานร่วมกับชุมชนนั้น คือการสร้างความรู้สึกร่วมให้ได้ โดยลำดับแรกของการทำงานนั้น ต้องทำให้คนในชุมชนเห็นคุณค่าและความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมที่ตนมีให้ได้ โดยอธิบายทั้งในด้านรูปแบบทางศิลปกรรม สถานะภาพในปัจจุบันและการใช้งานในอดีต รวมไปถึงสร้างความรู้สึกรักและหวงแหนในงานศิลปกรรม ว่าชุมชนดังกล่าวเป็นหนึ่งในชุมชนที่มีเพียงไม่กี่แห่ง ที่มีภาพตุงค่าวธรรมชุดนั้น ซึ่งมีความสำคัญมากในทางวิชาการ ต่อจากนั้นจะเป็นกระบวนการสร้างความไว้วางใจระหว่างคนในชุมชน และทีมงานวิจัยว่าที่ผ่านมาได้เข้าไปทำงานในพื้นที่ใดแล้วบ้าง รวมไปถึงแสดงรูปแบบของการทำงานในชุมชนต่างๆ ที่ผ่านมา ให้คนในชุมชนรับรู้และเข้าใจถึงกระบวนการการทำงานทั้งหมด นอกจากนี้การมีพระสงฆ์เข้าเป็นหนึ่งในทีมงานวิจัย สามารถสร้างความเชื่อมั่นในวงการสงฆ์ได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งเมื่อพระสงฆ์ในชุมชนนั้นไว้วางใจแล้ว นั่นหมายถึงความไว้วางใจจากคนในชุมชนนั้นๆด้วย การสร้างสำนึกร่วม ถึงเป็นการกระตุ้นให้ตระหนักถึงคุณค่าและอยากเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลรักษามรดกทางวัฒนธรรมตนเอง ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษา ในการทำงานแต่ละครั้ง ทีมนักวิจัยจะให้เกียรติคนในชุมชนในการซ่อมแซมภาพตุงค่าวธรรมด้วยตัวเอง ทั้งนี้ทีมงานจะเป็นผู้แนะนำวิธีการในเบื้องต้น โดยเป็นกระบวนการที่ง่ายไม่สลับซับซ้อน ถือเป็นกระบวนการที่คนในชุมชนคุ้นเคย และสามารถร่วมกับคณะวิจัยในการทำงานได้อย่างมั่นใจ การสร้างสำนึกร่วมดังกล่าว เป็นกระบวนการสำคัญที่สามารถนำไปสู่การรักและหวงแหนมรดกทางวัฒนธรรมตนเองให้กับคนในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี กระบวนการสุดท้ายคือ การสร้างบทบาทหน้าที่ให้คนในชุมชน ถือเป็นกระบวนการที่ไม่ได้เน้นความรู้ทางวิชาการ แต่เน้นให้ทุกคนมีหน้าที่ปฏิบัติ ต่องานงานศิลปกรรมชิ้นนั้นๆ เช่นการจัดเก็บในที่ๆจัดเตรียมไว้ การให้ชาวบ้านช่วยกันถือ เพื่อบันทึกภาพร่วมกัน หรือแม้กระทั่งการขอขมาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ดูแลรักษางานศิลปกรรมชิ้นนั้นๆ ก่อนจะนำถวายคืนให้กลับวัด และจัดเก็บเป็นกระบวนการสุดท้าย จากประสบการณ์และแนวทางการบริการวิชาการสู่ชุมชนเบื่องต้นนี้ เป็นเพียงกระบวนการและวิธีการหนึ่งเท่านั้น ที่เป็นผลจากการเรียนรู้ร่วมกับคนในชุมชน ในการเข้าไปจัดการทั้งองค์ความรู้ จัดการมรดกทางวัฒนธรรม และการจัดการคนในชุมชน ซึ่งแต่ละชุมชนล้วนแล้วแต่มีบริบททางสังคมที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งองค์ความรู้หรือแนวทางดังกล่าวอาจจะสามารถนำไปปรับใช้ในกระบวนการบริการวิชาการสู่ชุมชนต่างๆได้ ต่อไป