การเขียนบทคัดย่อ
วันที่เขียน 2/3/2558 10:18:42     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 10:03:21
เปิดอ่าน: 198210 ครั้ง

บทคัดย่อ คือข้อความที่สำคัญ สั้น และสมบูรณ์ในตัวเอง เพื่ออธิบายผลงานชิ้นหนึ่ง โดยอาจจะประกอบด้วยความสำคัญและความเป็นมา ขอบเขตของงาน วัตถุประสงค์ ข้อค้นพบของงาน บทสรุปของงาน และประโยชน์ของงาน ซึ่งบทคัดย่อจะไม่ใช่การตัดตอนข้อความมาจากงานเขียน

            จากการเข้าร่วมโครงการพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ (บทคัดย่อ) เมื่อวันพุธ ที่ 15 ตุลาคม 2557 และ วันพุธที่ 22 ตุลาคม 2557 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สุพัฒน์  สุกมลสันต์ ผู้เชี่ยวชาญของศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นวิทยากร   ให้ความรู้ในครั้งนี้ โดยวิทยากรได้ให้คำแนะนำในการเขียนบทคัดย่อ ตั้งแต่ความหมายของบทคัดย่อ วัตถุประสงค์ของบทคัดย่อ ลักษณะเฉพาะของบทคัดย่อ ชนิดของบทคัดย่อ เนื้อหาของบทคัดย่อ หลักการเขียนที่ดี และข้อผิดพลาดที่พบบ่อยในการเขียนบทคัดย่อ โดยมีเนื้อหาพอสังเขป ดังนี้

 

ความหมายของบทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ คือข้อความที่สำคัญ สั้น และสมบูรณ์ในตัวเอง เพื่ออธิบายผลงานชิ้นหนึ่ง โดยอาจจะประกอบด้วยความสำคัญและความเป็นมา ขอบเขตของงาน วัตถุประสงค์ ข้อค้นพบของงาน บทสรุป    ของงาน และประโยชน์ของงาน ซึ่งบทคัดย่อจะไม่ใช่การตัดตอนข้อความมาจากงานเขียน

 

วัตถุประสงค์ของบทคัดย่อ  

  1. เพื่อให้รายละเอียดกว้าง ๆ ของบทความหรือรายงานการวิจัย
  2. เพื่อให้บริบทแก่ผู้อ่านที่ไม่ได้อ่านบทความหรือรายงานวิจัย
  3. เพื่อให้นักวารสารใช้สำหรับมอบหมายงานให้ผู้ปริทัศน์บทความหรืองานวิจัย
  4. เพื่อให้ผู้ให้บริการบทคัดย่อและสารสนเทศใช้จัดทำดัชนีและค้นหาบทความ
  5. เพื่อให้ผู้ให้บริการการแปลใช้สำหรับแปลให้แก่ผู้อ่านต่างชาติ
  6. เพื่อช่วยให้ผู้อ่านตัดสินใจว่าควรจะอ่านบทความหรือรายงานการวิจัยหรือไม่
  7. เพื่อช่วยเตือนความจำแก่ผู้อ่านหลังจากที่อ่านบทความหรือรายงานการวิจัยแล้ว
  8. เพื่อให้ผู้อ่านเน้นความสนใจไปยังสาระที่สำคัญของบทความหรือรายงานการวิจัยได้

 

ลักษณะเฉพาะของบทคัดย่อ 

  1. บทคัดย่อควรเป็นส่วนที่ดีที่สุดของบทความ
  2. บทคัดย่อเป็นส่วนที่คนอ่านบ่อยที่สุดรองจากชื่อเรื่อง
  3. บทคัดย่อควรจะให้รายละเอียดถูกต้อง ร้อยเรียงสัมพันธ์กัน และอ่านง่าย
  4. บทคัดย่อควรสั้น กะทัดรัด และมีสาระที่เลือกสรรแล้ว
  5. บทคัดย่อควรจะมีความสมบูรณ์ในตัวเอง และมีความคงเส้นคงวาภายในตัวเอง
  6. บทคัดย่อไม่มีการอ้างอิง ไม่มีตาราง หรือ ภาพประกอบ และไม่ควรใช้อักษรย่อ หากใช้อักษรย่อต้องให้คำนิยามด้วย
  7. ข้อสรุปของบทคัดย่อควรอาศัยข้อมูลหรือข้อสารสนเทศที่มีอยู่ภายในบทคัดย่อนั้น

 

ชนิดของบทคัดย่อ

          บทคัดย่อ จะสามารถแบ่งได้เป็น 6 ชนิด คือ

  1. บทคัดย่อเชิงบรรยาย (Descriptive Abstracts)
  2. บทคัดย่อเชิงปริทัศน์ (Indicative Abstracts)
  3. บทคัดย่อเชิงสารสนเทศ (Informative Abstracts)
  4. บทคัดย่อเชิงโครงสร้าง (Structured Abstracts)
  5. บทคัดย่อเพื่อนำเสนอและประชุม (Presentation and Meeting Abstracts)
  6. บทคัดย่อเพื่อนิเทศ (Poster Abstracts)

 

โดยในโครงการนี้จะกล่าวถึงการเขียนบทคัดย่อเชิงสารสนเทศ เพื่อใช้สำหรับรายงานการวิจัยและบทความวิชาการทั่วไป โดยอาจจะนำเสนอและประชุม ซึ่งจะต้องสั้น กะทัดรัด และสมบูรณ์ โดยจะต้องเขียนตามรูปแบบและกฎเกณฑ์ที่ผู้จัดกำหนดอย่างเข็มงวด รวมทั้งต้องประณีต โดยปกติจะนำเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการวิจัย และนัยของผลการวิจัยด้วย ซึ่งอาจจะได้รับการจัดพิมพ์ในเอกสาร หลังการสัมมนา และมีการให้โอกาสเพื่อการซักถาม ณ ที่จัดแสดง

 

เนื้อหาของบทคัดย่อ

          บทคัดย่อที่ใช้สำหรับรายงานการวิจัยและบทความวิชาการทั่วไป จะประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญ 5 ส่วน (บางครั้งเรียกว่า 5 Moves) ดังนี้

  1. Motivation / Importance (แรงจูงใจ หรือ ความสำคัญ : ทำไมจึงทำการวิจัยเรื่องนี้)
  2. Statement of Purposes (วัตถุประสงค์)
  3. Methodology (วิธีการวิจัย : ทำวิจัยเรื่องนี้อย่างไร)
  4. Major Results (ผลการวิจัยที่สำคัญ)
  5. Conclusion / Implications (สรุป /นัยสำคัญ)

 

หลักการเขียนที่ดี

          หลักการเขียนบทคัดย่อที่ดี จะเหมือนกับหลักการเขียนรายงานการวิจัย บทความทางวิชาการ และ งานเขียนอื่น ๆ ที่เรียกว่า 4 C ดังนี้

  1. Complete (สมบูรณ์) ครอบคลุมส่วนสำคัญต่าง ๆ ของบทคัดย่อ และหลีกเลี่ยงการอ้างอิง เรื่องส่วนบุคคล
  2. Concise (กะทัดรัด) ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น และไม่กล่าวถึงสารสนเทศที่ไม่สำคัญ
  3. Clear (ชัดเจน) เขียนให้อ่านง่าย มีโครงเรื่องที่ดี หลีกเลี่ยงคำเฉพาะ หรือคำย่อ หรือสัญลักษณ์ ใช้ภาษาอังกฤษง่าย ๆ ที่คนทั่วไปอ่านแล้วเข้าใจแต่เป็นภาษาทางการ และใช้ประโยคง่าย ๆ แต่มีหลายรูปแบบเพื่อไม่ให้อ่านแล้วขาดเป็นห้วง ๆ
  4. Cohesive (ร้อยเรียง)  เขียนให้ส่วนต่าง ๆ ร้อยเรียงกันเป็นอย่างดี

 

ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยในการเขียนบทคัดย่อ

          ข้อผิดพลาดที่พบได้บ่อย มี 8 เรื่อง ดังนี้

  1. ใช้กาล (tenses) ผิด
  2. ใช้วาจก (voices) ผิด
  3. เขียนความสอดคล้องระหว่างประธานและคำกริยาผิด
  4. ไม่ใช้คำหรือวลีเชื่อมโยงความคิด
  5. ให้รายละเอียดมากเกินไป และฟุ่มเฟือย
  6. ใช้ประโยคที่ยาวมากหรือสั้นมากเกินไป
  7. ไม่ให้รายละเอียดที่สำคัญ
  8. ใช้เครื่องหมาย colon ไม่ถูกต้อง

 

----------------------------------------------------------------------

เอกสารอ้างอิง

ศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 2558. การเขียนบทคัดย่องานวิจัย. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์ช้างเผือก.

สุพัฒน์  สุกมลสันต์ 2557. เอกสารประกอบการอบรม เรื่อง การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ (บทคัดย่อ) วันที่ 15 และ 22 ตุลาคม 2557.

 

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดสอบระบบ Dugga » เรียนรู้การใช้งานระบบ Dugga - Digital Assessment Platform
Dugga - Digital Assessment Platform (https://www.dugga.com) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสอบ บนโลกออนไลน์ ให้สะดวก ปลอดภัยมากขึ้น แนวทางการออกแบบประเภทคำถามมีหลากหลายกว่า 15 ประเภท แนะการจัดการระบบความปล...
AI  Dugga  Exam     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 9/7/2567 12:31:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 7:28:28   เปิดอ่าน 24  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน วิทยากรโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ  การตีพิมพ์ผลงาน  จริยธรรมการวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 7/7/2567 15:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 7:01:51   เปิดอ่าน 23  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ กรรมการ กพว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้เกียรติบรรยายเกี่ยวกับ หลักเก...
ตำแหน่งทางวิชาการ  ประกาศ ก.พ.อ.     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:15:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 2:37:51   เปิดอ่าน 46  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » ความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE
เป็นประเด็นที่ผู้ประเมินอาจเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE โดยที่ประเด็นต่าง ๆ ที่นำมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อใช้ในการเป็นผู้ประเมินเพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ให้เป็นไปในทิศทางเดี...
AUNQA  OBE  ประกันคุณภาพการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:04:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 4:48:37   เปิดอ่าน 42  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง