ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมรับฟังการบรรยาย เรื่อง Catalytic Conversations on Learning and the Road Ahead
วันที่เขียน 8/9/2557 8:59:30     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 12:40:47
เปิดอ่าน: 3392 ครั้ง

การจัดการเรียนการสอนในยุคปัจจุบัน ต้องมีการปรับเปลี่ยน เนื่องจากลักษณะของผู้เรียนในปัจจุบัน แตกต่างจากผู้เรียนในอดีต การจัดการเรียนการสอนที่ใช้กิจกรรมเข้ามาประกอบจะทำให้การเรียนการสอนประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น

         จากการเข้ารับฟังการบรรยาย เรื่อง Catalytic Conversations on Learning and the Road Ahead โดย Dr. Mark David Milliron ในวันที่ 7 สิงหาคม 2557 ณ ห้องสายน้ำผึ้ง สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ที่ผ่านมาทำให้ตระหนักว่า คณาจารย์ควรมีการปรับเปลี่ยนวิธีสอน โดยลดการบรรยายให้น้อยลง และเพ่ิ่มในส่วนของการศึกษาด้วยตนเองให้มากขึ้น โดยคณาจารย์จะเป็นผู้สร้างกิจกรรมให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ ซึ่งในปัจจุบันมีแหล่งการศึกษา online มากมายที่จะช่วยเสริมในการเรียนรู้ของนักศึกษาให้เกิดมากขึ้น เช่น Website , Social Networks , Mobile Application และผู้เรียนในปัจจุบัน แตกต่างจากผู้เรียนในอดีต ผู้เรียนในปัจจุบันจะชอบเทคโนโลยี สังเกตได้จากแต่ละคนจะมี smart phone และมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย โดย Dr. Mark David Milliron แนะนำว่า "การเรียนการสอน ไม่มีวิธีใดดีที่สุด มีแต่วิธีที่ดี เท่านั้น เราจึงควรเลือกส่ิ่งที่ดีของแต่ละวิธีการสอนมาใช้ร่วมกัน" และ ยังแนะนำให้ลองปรับเปลี่ยนวิธีการสอนโดยให้นักศึกษาเรียนเองที่บ้าน (จะทำให้สามารถอ่าน/ทำความเข้าใจได้หลายรอบ และสามารถศึกษาได้จากทั่วโลกผ่านเทคโนโลยี) และ ช่วงเวลาเข้าชั้นเรียนให้เป็นช่วงเวลาของการทำกิจกรรม เนื่องจากหากมีปัจหา จะสามารถปรึกษาเพื่อน ๆ หรือ อาจารย์ได้ทันที

         หลังจากได้รับฟังการบรรยายดังกล่าว ข้าพเจ้าได้ลองนำมาใช้ในรายวิชา สต311 การวางแผนการทดลองเบื้องต้น ในภาคเรียนที่ 1/2557 ซึ่งรายวิชานี้เป็นรายวิชาของสาขาวิชาสถิติ เป็นวิชาคำนวณ โดยแจ้งให้นักศึกษาไปทำความเข้าใจเนื้อหาวิชา เรื่องการวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ แล้วให้นักศึกษาแต่ละคนออกไปทำโจทย์หน้าชั้นเรียน โดยหากขั้นตอนใดที่นักศึกษามีปัญหาเพื่อน ๆ คนอื่นก็จะช่วยแนะนำ รวมถึงข้าพเจ้าจะเป็นผู้สรุปให้นักศึกษาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งนักศึกษาชอบมากบอกว่ามีความเข้าใจมากขึ้น และมีความต้องการให้จัดกิจกรรมลักษณะนี้อีก ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าจะใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนลักษณะนี้ต่อไป


คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=325
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดสอบระบบ Dugga » เรียนรู้การใช้งานระบบ Dugga - Digital Assessment Platform
Dugga - Digital Assessment Platform (https://www.dugga.com) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสอบ บนโลกออนไลน์ ให้สะดวก ปลอดภัยมากขึ้น แนวทางการออกแบบประเภทคำถามมีหลากหลายกว่า 15 ประเภท แนะการจัดการระบบความปล...
AI  Dugga  Exam     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 9/7/2567 12:31:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 11:47:10   เปิดอ่าน 26  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน วิทยากรโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ  การตีพิมพ์ผลงาน  จริยธรรมการวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 7/7/2567 15:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 7:01:51   เปิดอ่าน 23  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ กรรมการ กพว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้เกียรติบรรยายเกี่ยวกับ หลักเก...
ตำแหน่งทางวิชาการ  ประกาศ ก.พ.อ.     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:15:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 2:37:51   เปิดอ่าน 46  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » ความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE
เป็นประเด็นที่ผู้ประเมินอาจเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE โดยที่ประเด็นต่าง ๆ ที่นำมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อใช้ในการเป็นผู้ประเมินเพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ให้เป็นไปในทิศทางเดี...
AUNQA  OBE  ประกันคุณภาพการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:04:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 4:48:37   เปิดอ่าน 42  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง