ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง เทคนิคการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ
วันที่เขียน 17/3/2559 19:50:24     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 12:25:25
เปิดอ่าน: 3825 ครั้ง

การตีพิมพ์ผลงานวิจัยเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้แก่สาธารณะชน ซึ่งการจะเลือกวารสารที่จะตีพิมพ์ผลงานวิชาการนั้นจะต้องมีขอบเขตเดียวกับงานวิจัยของเราและเพื่อให้การส่งบทความได้รับการตอบรับจึงต้องมีการเตรียมบทความวิจัยให้มีคุณภาพ

ประเภทและองค์ประกอบเพื่อการเตรียมผลงานวิจัย (Scientific disclosure; types and anatomy) 

ในหัวข้อนี้รองศาสตราจารย์ ดร.ศิวพร มีจู สมิธ เป็นวิทยากร ได้กล่าวถึง เหตุผลของการตีพิมพ์หรือนำเสนอผลงานวิจัย ซึ่งประกอบด้วย 2 เหตุผล หลัก ๆ คือ 

1) เหตุผลส่วนตัว (Personal gain) เช่น เพื่อการสำเร็จการศึกษา เพื่อสร้างผลงานให้ตัวเอง เพื่อความมีชื่อเสียง หรือเพื่อหารายได้

2) เหตุผลสาธารณะ (Public gain)  เพื่อการเผยแพร่องค์ความรู้ที่ค้นพบซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ

   

และวิทยากรได้ให้ความหมายของการเผยแพร่งานวิจัยว่า เป็นขบวนการในการแลกเปลี่ยนกับสาธารณชน โดยอาจจะนำเสนอในรูปแบบการพูด โปสเตอร์ ทางอินเทอร์เน็ต หรือสื่อต่าง ๆ ก็ได้ โดยแบ่งประเภทของการเผยแพร่ผลงานวิจัยหลัก ๆ  3 ประเภท ดังนี้

1)  โปสเตอร์ (poster)

2)  การนำเสนอในการประชุมวิชาการ (presentation)

3)  การตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ (publication)

 

1. องค์ประกอบของโปสเตอร์ 

โปสเตอร์จะมีองค์ประกอบหลักอยู่ 5 ส่วน ได้แก่ บทนำ (Introduction) วิธีการ (methods) ผลการวิจัยหรืออภิปรายผล (results/discussion) การสรุปผล (conclusion) และการอ้างอิง (literature cited)

 2.  เทคนิคในการนำเสนอในการประชุมวิชาการ 

ผู้นำเสนอจะต้องทราบรูปแบบการจัดการ ได้แก่ ทราบเวลาในการนำเสนอ ทราบว่าผู้ฟังคือใคร  ควรใช้เวลาในการนำเสนอตามที่กำหนด โดยนำเสนอ slid ละ 1 นาที ไม่ควรนำเสนอด้วยการอ่านจาก slid และควรเตรียมคำตอบสำหรับคำถามที่คาดว่าผู้ฟังจะถาม

 3. เทคนิคในการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ 

การตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มีข้อควรระวังคือ ไม่นำผลงานที่เคยนำเสนอที่อื่นไปตีพิมพ์อีก เพราะจะเป็นการซ้ำซ้อน โดยควรมีการเตรียมความพร้อมในการตีพิมพ์ ดังนี้

1)  ชื่องานวิจัย สามารถตั้งชื่องานวิจัยได้ 3 รูปแบบหลัก คือ อิงสมมติฐาน (Hypothesis) อิงวิธีการ (Methods) และอิงผลลัพธ์ (Results)

2)  บทคัดย่อ (Abstract) ควรเขียนให้ชัดเจนและครอบคลุมงานวิจัยที่เป็นหลักสำคัญทั้งหมด เนื่องจากบทคัดย่อเป็นสิ่งแรกที่ผู้อ่านงานวิจัยจะอ่าน โดยอาจยึดหลักสำคัญ ดังนี้

                  2.1 บอกถึงวัตถุประสงค์ของงานวิจัย

                  2.2 อธิบายถึงวิธีการหรือเทคนิคที่ใช้ในงานวิจัย

                  2.3 แสดงผลวิจัยที่สำคัญ ๆ

                  2.4 สรุปผลลัพธ์ที่ได้

 

                    โดยให้ข้อแนะนำในการเขียนบทคัดย่อเป็นภาษาอังกฤษ ดังนี้

1) ควรใช้ Past tense

2) ควรใช้ภาษาที่มีความชัดเจนไม่คลุมเครือ

3) แสดงผลงานวิจัยที่ชัดเจน

4) ไม่ควรใช้คำโอ้อวดเกินจริง

5) ไม่ควรใช้คำเหล่านี้  better, faster, larger, more effective, more variable เป็นต้น

 

3) การออกแบบรูปภาพ (Figure Desige)

 ต้องทราบกลุ่มผู้อ่าน ภาพที่แสดงควรอธิบายให้เข้าใจด้วยตัวของภาพเอง ภาพและตัวอักษรมีความชัดเจน

  

สาระน่ารู้ การแชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับขั้นตอนการส่งผลงานวิจัยเพื่อรับการประเมินสำหรับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ (Manuscript submission: Peer-review in practice and tips)

ในหัวข้อนี้วิทยากร (รองศาสตราจารย์ ดร.ศิวพร มีจู สมิธ) ได้กล่าวถึง Peer review ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งที่สำคัญในการตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารวิชาการ โดยได้แสดงถึงสถิติของการตอบรับบทความวิจัย ดังนี้

     8% ได้รับการตอบรับโดยไม่มีที่แก้ไข

          41% ได้รับการตอบรับแต่ให้ปรับปรุงตามคำแนะนำ

          30% ได้รับการปฏิเสธหลังจากพิจารณาบทความแล้ว

          13% ได้รับการปฏิเสธ โดยไม่ได้รับการพิจารณาบทความ เนื่องจากบทความมีคุณภาพต่ำ

          8ได้รับการปฏิเสธ โดยไม่ได้รับการพิจารณาบทความ เนื่องจากไม่ตรงกับขอบเขตของวารสาร

 

ซึ่งการจะได้รับการตอบรับจากวารสาร บทความจะต้องอยู่ในขอบเขตของวารสารเป็นลำดับแรก ดังนั้นจะต้องเลือกวารสารที่มีขอบเขตตรงกับผลงานของเรา รวมถึงต้องมีการพิจารณาชื่อเสียงของวารสาร กระบวนการในการ Review (รวมถึงระยะเวลาในการรับบทความ จนถึงขั้นตอนของการตอบรับ/ปฏิเสธ) และพิจารณาค่า Impact factor ด้วย

 

การเขียนถึงเนื้อความของเขาให้เป็นประโยคของเรา (Paraphrasing)

ในส่วนนี้วิทยากร คือ Dr. Christopher B. Smith ได้ให้ความหมายของ Paraphrasing ว่าเป็นการคัดลอกหรืออ้างถึงคำ (word) ความคิด (idea) ของบุคคลอื่นมาเป็นของตนเอง โดยนักวิจัยจะต้องคำนึง   ถึงส่วนนี้ให้มาก ทั้งนี้ การคัดลอกงานวิจัยอาจจะเป็นไปโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้ ซึ่งการคัดลอกผลงาน   ที่พบจะมีได้ 4 รูปแบบคือ

1. คัดลอกหรือนำงานของผู้อื่นมาอ้างอิงโดยขาดการอ้างอิง

2. การใช้ความคิดของผู้อื่นโดยขาดการให้เครดิต

3. การอ้างอิงหรือให้เครดิตที่ไม่เพียงพอ

4. การนำข้อความของผู้อื่นโดยขาดการใช้เครื่องหมาย quotation (“…”)  เป็นต้น

 

 โดยหากจะนำข้อความในบทความวิจัยชิ้นเดิมของนักวิจัยเอง หรือของนักวิจัยท่านอื่นมาใช้ในบทความของเรา วิทยากรแนะนำให้ให้เปลี่ยนเอกพจน์ (singular) ไปเป็น พหูพจน์ (plural)  หรือการเปลี่ยนรูปแบบการเขียนจาก noun เป็น verb หรือใช้วิธีการสรุปสาระสำคัญในงานเดิมมาเขียนในงานของเราแทน

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=495
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดสอบระบบ Dugga » เรียนรู้การใช้งานระบบ Dugga - Digital Assessment Platform
Dugga - Digital Assessment Platform (https://www.dugga.com) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสอบ บนโลกออนไลน์ ให้สะดวก ปลอดภัยมากขึ้น แนวทางการออกแบบประเภทคำถามมีหลากหลายกว่า 15 ประเภท แนะการจัดการระบบความปล...
AI  Dugga  Exam     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 9/7/2567 12:31:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 11:47:10   เปิดอ่าน 26  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน วิทยากรโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ  การตีพิมพ์ผลงาน  จริยธรรมการวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 7/7/2567 15:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 7:01:51   เปิดอ่าน 23  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ กรรมการ กพว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้เกียรติบรรยายเกี่ยวกับ หลักเก...
ตำแหน่งทางวิชาการ  ประกาศ ก.พ.อ.     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:15:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 2:37:51   เปิดอ่าน 46  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » ความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE
เป็นประเด็นที่ผู้ประเมินอาจเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE โดยที่ประเด็นต่าง ๆ ที่นำมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อใช้ในการเป็นผู้ประเมินเพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ให้เป็นไปในทิศทางเดี...
AUNQA  OBE  ประกันคุณภาพการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:04:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 4:48:37   เปิดอ่าน 42  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง