ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมโครงการพัฒนาผู้สอนด้านทักษะการสอนเป็นภาษาอังกฤษ
วันที่เขียน 15/3/2560 22:07:16     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 14/9/2567 8:35:42
เปิดอ่าน: 3359 ครั้ง

         ในการเข้าร่วมอบรมในโครงการพัฒนาอาจารย์ผู้สอนด้านทักษะการสอนเป็นภาษาอังกฤษ  เมื่อวันที่ 9 - 10 มีนาคม 2559 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้  โดยมีวิทยากร คือ ศาสตราจารย์ ดร. พจนารถ  เสมอมิตร ซึ่งมีความรู้ความสามารถในด้านการสอนเป็นภาษาอังกฤษ  เป็นอย่างดียิ่ง โดยวิทยากรได้ให้ความรู้เกี่ยวกับหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้

  • Nucleic Concept in Communication
  • Nucleic Natural English
  • Public Self Introduction
  • Speech Production
  • Breathe Cycles
  • Speech Mechanism and Organs
  • Speech Organs
  • The Rules
  • Determiners

 

           โดยในส่วนของ Nucleic Concept in Communication นั้น วิทยากรแนะนำว่าส่วนที่เป็น Nucleic จะเป็นส่วนที่สำคัญ ให้พิจารณาว่าคำใดที่เสียงไม่หายไป จะถือว่าเป็น Nucleic โดยในการออกเสียงคำในส่วนที่เป็น Nucleic จะออกเสียงสูง(High) ดัง (Loud) และ ออกเสียงยาว (Long) โดยคำที่ไม่เป็น Nucleic  ได้แก่     

   Models : may, would…

   Pronouns : I , You,…

   Demonstrators : this, that, those…

   Possessive : my, your ยกเว้นว่าผู้พูดต้องการเน้น

   Prepositions : in, on, at, for,to…

   Articles : a, and, the…

   Prefix : pre, post…

ในการพูดภาษาอังกฤษจะเน้นส่วนที่เป็น Nucleic ส่วนที่ไม่เป็น Nucleic จะออกเสียงสั้น (Short) เบา (Light) และ ต่ำ (Low) ทำให้คนไทยบางส่วนไม่สามารถเข้าใจประโยคที่ชาวต่างชาติพูดได้ และในทำนองเดียวกันเมื่อคนไทยบางคนพูดภาษาอังกฤษชาวต่างชาติก็จะฟังไม่เข้าใจเช่นเดียวกัน ซึ่งส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะตำแหน่งของการวางลิ้นไม่ถูกต้อง ซึ่งวิทยากรได้แนะนำวิธีการออกเสียงที่ถูกต้องให้ด้วย

นอกจากนั้นวิทยากรยังแนะนำว่าในการพูดภาษาอังกฤษจะต้องออกเสียงเป็นคลื่น เช่น  

Abbreviate จะออกเสียงสูงตรงคำว่า bre และ ate เพราะ bre และ ate เป็น Nucleic

Advantage จะออกเสียงสูงตรงคำว่า van เพราะ van เป็น Nucleic

Aggravation จะออกเสียงสูงตรงคำว่า agg และ va เพราะ agg และ va เป็น Nucleic

California จะออกเสียงสูงตรงคำว่า ca และ for เพราะ ca และ for เป็น Nucleic

tobacco จะออกเสียงสูงตรงคำว่า bac เพราะ bac เป็น Nucleic

 

          สำหรับส่วนของการสอนเป็นภาษาอังกฤษนั้น วิทยากรได้แนะนำว่าควรตั้งเป้าหมายไว้ก่อนว่านักศึกษาเรียนเรื่องนี้แล้วจะได้อะไร (Goal) เช่น นักศึกษาจะสามารถประยุกต์ใช้ในเรื่อง....ได้ จากนั้นให้หาวิธีการ (Method) เพื่อจะนำไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยการวัดผลอาจจะวัดหลาย ๆ อย่าง เช่น วัดความจำ  วัดความเข้าใจ  การนำไปใช้  การวิเคราะห์  การสังเคราะห์  และการประยุกต์  โดยในการเริ่มต้นสอนอาจจะสอนโดยสอนเป็นขั้นตอน เช่น How To Peel the eggs 1)….2)…3)… เป็นต้น

นอกจากนี้วิทยากรยังให้คำแนะนำว่าคนเก่งที่สุดไม่ใช่คนที่สอนดีที่สุด คนที่สอนดีที่สุดต้องสอนเป็น โดยครูที่ดีจะไม่ใช้วิธีสอนเพียงวิธีเดียว เพราะผู้เรียนบางคนอาจจะชอบฟัง(Auditory)  บางคนอาจจะชอบดู (Visual) บางคนอาจจะชอบสัมผัส (Kinetic) ดังนั้นในการสอนผู้สอนต้องให้ผู้เรียนได้สัมผัส อาจจะใช้การสาทิต (Demonstation / observation)  การทดลอง (Experimentation) การวิจัย (Research) การนำเสนอ (Presentation) หรือวิธีอื่น ๆ ก็ได้

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=653
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
เข้าร่วมโครงการ » สรุปเนื้อหาจากการเข้าร่วมอบรมแบบออนไลน์ หลักสูตร Data Science
Data Science เป็นสาขาที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วและมีความสำคัญในโลกธุรกิจและการวิจัย การเข้าใจแนวคิดและเทคนิคพื้นฐาน เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล การเรียนรู้ของเครื่อง และการสื่อสารผลลัพธ์ จะช่วยให้สามาร...
Big Data  Data Analysis  Data Visualization  Machine Learning  Statistics     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน จีรวรรณ พัชรประกิติ  วันที่เขียน 7/9/2567 5:45:38  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 12/9/2567 19:54:51   เปิดอ่าน 99  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง