ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมอบรม "ทำหนังสืออย่างไรให้ถูกลิขสิทธิ์"
วันที่เขียน 17/12/2562 16:02:31     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/11/2567 16:46:00
เปิดอ่าน: 2763 ครั้ง

การทำเอกสารประกอบการสอน เอกสารคำสอน หนังสือ หรือตำรา ควรมีการคำนึงถึงเรื่องของลิขสิทธิ์ งานเขียนบางอย่างมีความจำเป็นต้องมีการขอลิขสิทธิ์ นอกเหนือจากการอ้างอิงที่มา แต่งานเขียนบางอย่างอาจจะไม่จำเป็นต้องมีการขอลิขสิทธิ์ก็ได้

ในการเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้รับฟังการบรรยายเรื่องทำหนังสืออย่างไรให้ถูกลิขสิทธิ์ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. จักรพงษ์ แก้วขาว เป็นวิทยากรบรรยาย ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 เวลา 08.30-12.00 น. ณ ห้องข้าวสาลี อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้

วิทยากรได้เริ่มต้นพูดคุยเกี่ยวกับความสำคัญของการทำเอกสารประกอบการสอน เอกสารคำสอนหนังสือ หรือตำราเพื่อนำไปใช้ในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ โดยมีสิ่งที่ควรระวัง 6 ประเด็น ได้แก่ 1) การคัดลอกรูป 2) การวาดรูปขึ้นมาใหม่ แต่เหมือนกับรูปเดิม 3) การวาดรูปขึ้นมาใหม่แต่มีการปรับปรุงไปจากเอกสารอ้างอิง 4) การวาดรูปเองใหม่หมดเลย 5) การคัดลอกตาราง และ 6) การใช้เนื้อหามาแปลบรรทัดต่อบรรทัด ซึ่งโดยปกติเราจะต้องมีการอ้างอิงที่มาอยู่แล้ว แต่มีข้อควรระวังที่จะต้องมีการขอลิขสิทธิ์ควบคู่ไปด้วย โดยวิทยากรได้ให้คำแนะนำว่า กรณีต่อไปนี้ต้องอ้างอิงและขอลิขสิทธิ์ในการนำมาใช้ในการทำเอกสารเผยแพร่ของเรา

  1. การคัดลอกรูปจากวารสารต่าง ๆ ทั้ง ๆ ที่เป็นผลงานของเราเอง
  2. การวาดรูปขึ้นมาใหม่ แต่เหมือนกับรูปเก่าที่อยู่ในวารสาร แม้ว่าจะเป็นงานของเราเอง
  3. รูปถ่ายที่เราถ่ายเอง แต่เคยนำไปตีพิมพ์ในวารสารแล้ว
  4. ตารางจากการทดลอง ซึ่งเป็นผลงานของเราเอง แต่ได้ตีพิมพ์ไปแล้ว
  5. แผนภาพหรือประโยคแสดงความคิด (เช่น Flow chart) ที่ได้จากการทดลองของเราเอง แต่ได้ตีพิมพ์ไปแล้ว

กรณีที่ไม่ต้องอ้างอิง และไม่ต้องขอลิขสิทธิ์

  1. รูปถ่ายที่ถ่ายเอง และยังไม่เคยลงตีพิมพ์
  2. รูปที่วาดเองจาก Software ต่าง ๆ
  3. แผนภาพของตนเองที่ใช้อธิบายแนวคิด หรือขั้นตอนในการทดลอง

 

ส่วนการดัดแปลงรูป ดัดแปลงตาราง เช่น มีการวาดเพิ่มเติม หรือแปลเพิ่มเติม เพื่อความปลอดภัยควรขอลิขสิทธิ์

วิทยากรได้ให้ข้อแนะนำเพิ่มเติมว่าในการลดความเสี่ยงในการถูกฟ้องร้องกรณีการละเมิดลิขสิทธิ์ เราควรดำเนินการถ่ายรูปใหม่ โดยอาจจะถ่ายรูปจากวัตถุเดิมแต่เปลี่ยนมุมกล้อง จัดทำตารางใหม่ที่มีลักษณะต่างจากเดิม แต่หากมีความจำเป็นต้องใช้รูป แผนภาพ หรือตารางเดิม ที่เคยตีพิมพ์ในวารสารแล้ว ควรดำเนินการขอลิขสิทธิ์ โดยควรศึกษารายละเอียดของ Copyright Transfer Agreement เนื่องจากบางวารสารได้อนุญาตให้เจ้าของผลงานสามารถใช้ข้อมูลนั้นได้เลยโดยไม่ต้องขอลิขสิทธิ์อีก แต่บางวารสารจะต้องมีการดำเนินการขอลิขสิทธิ์ตามกระบวนการของสำนักพิมพ์ ซึ่งหากจะขอลิขสิทธิ์วิทยากรก็ได้แนะนำ เป็นตัวอย่าง  ดังนี้ 

  1. กรณีสำนักพิมพ์ Elsevier ให้เลือกบทความในวารสารที่ต้องการขอลิขสิทธิ์ จากนั้นคลิกที่    Get rights and content แล้วคลิกเลือกข้อมูลต่าง ๆ ตามที่โปรแกรมต้องการ จนสิ้นสุดกระบวนการ
  2. กรณีสำนักพิมพ์ Springer ให้เลือกบทความในวารสารที่ต้องการขอลิขสิทธิ์ จากนั้นคลิก ที่ Reprints and Permissions แล้วคลิกเลือกข้อมูลต่าง ๆ ตามที่โปรแกรมต้องการ จนสิ้นสุดกระบวนการ

             

จากการเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ทำให้มีความตระหนักในเรื่องลิขสิทธิ์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งข้าพเจ้าจะได้นำความรู้ที่ได้ไปแนะนำให้กับนักศึกษาในการทำวิจัยในวิชา วท497 สหกิจศึกษา ในภาคเรียนที่ 2/2562       ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงการละเมินลิขสิทธิ์ในการดำเนินการทำวิจัย นอกจากนั้นข้าพเจ้าจะนำไปใช้ในการทำเอกสารประกอบการสอน หนังสือ ตำรา ที่ถูกต้องตามหลักการของลิขสิทธิ์ในอนาคตต่อไป

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1083
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ » การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
การบริหารจัดการงบประมาณคณะวิทยาศาสตร์ ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ 2567 ได้มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดเพื่อเอื้อต่อการทำงาน และเพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบแนวปฏิ...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน นลิน วงศ์ขัตติยะ  วันที่เขียน 28/9/2567 16:33:52  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 22/11/2567 23:59:49   เปิดอ่าน 107  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง