รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามคำสำคัญ  : จีโนม
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » เทคโนโลยีการแก้ไขจีโนมพืช
เทคโนโลยีการแก้ไขจีโนม (genome editing) เป็นเทคนิคใหม่ที่นำมาใช้ในการแก้ไขยีนเป้าหมาย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจีโนมได้อย่างแม่นยำ โดยใช้เอนไซม์นิวคลีเอสที่ได้ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรม ทำให้เกิดการเติม ตัด และเปลี่ยนลำดับเบสของยีนที่ต้องการในจีโนม เทคโนโลยีการแก้ไขจีโนมที่เป็นที่นิยมคือ ระบบ CRISPR/Cas9 ได้ถูกนำมาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชเศรษฐกิจหลายชนิดทำให้พืชมีลักษณะที่ดีทางการเกษตร และการปรับปรุงพันธุ์พืชทำได้รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ : การแก้ไขจีโนม  การปรับปรุงพันธุ์พืช  คริสเปอร์แคส9  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 23851  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์  วันที่เขียน 27/9/2562 12:41:37  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 22/11/2567 1:18:27
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » ความก้าวหน้าทางพันธุศาสตร์ในการวิจัยพืชวงศ์มะเขือ
พืชในวงศ์มะเขือ (Solanaceae) ที่มีความสำคัญทางการเกษตร เช่น พริก มะเขือ มะเขือเทศ มันฝรั่ง และยาสูบ เป็นต้น เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ที่ใช้เป็นแหล่งอาหารและประโยชน์ทางยา การปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค เกษตรกร และอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ การเพิ่มของประชากรโลกอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัญหาโรคและแมลง และการเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร นักวิจัยได้นำเทคโนโลยีการแก้ไขจีโนม (genome editing) มาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อช่วยในการแก้ปัญหาดังกล่าว ทำให้งานวิจัยด้านการปรับปรุงพันธุ์พืชมีความก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว
คำสำคัญ : การแก้ไขจีโนม  การปรับปรุงพันธุ์พืช  พืชวงศ์ Solanaceae  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3888  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์  วันที่เขียน 2/11/2561 11:02:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 22/11/2567 1:17:24
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » การปรับปรุงพันธุ์พืชตระกูลแตงโดยใช้เทคโนโลยีจีโนมิกส์
พืชตระกูลแตง (Cucurbitaceae) ประกอบด้วยแตงกวา มะระ เมล่อน สควอช แตงโม และฟักทอง โดยแตงกวาเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญและเป็นพืชต้นแบบสำหรับการศึกษาการกำหนดเพศและชีววิทยาของท่อลำเลียงในพืช การศึกษาจีโนมของแตงกวาได้มีการหาลำดับเบสได้แล้ว ลำดับเบสของจีโนมจะเป็นประโยชน์ทำให้เข้าใจลักษณะที่สำคัญ ได้แก่ การแสดงออกของเพศ การต้านทานโรค การสังเคราะห์สารที่ทำให้เกิดรสขม (cucurbitacin) และกลิ่นหอม นอกจากนี้ จีโนมแตงกวาจะเป็นแหล่งข้อมูลที่มีคุณค่าสำหรับการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์แตงกวาให้เป็นพันธุ์การค้า และการผลิตสารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและมีฤทธิ์ต้านมะเร็งอีกด้วย
คำสำคัญ : การปรับปรุงพันธุ์พืช  เทคโนโลยีจีโนมิกส์  พืชตระกูลแตง  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 5627  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์  วันที่เขียน 7/1/2561 8:31:16  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 21:17:32
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีจีโนมในการศึกษายีนของพืชและการปรับปรุงพันธุ์ปศุสัตว์
การใช้ข้อมูลจีโนมิก (genomic data) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผันแปรทางพันธุกรรมกับฟีโนไทป์เพื่อระบุตำแหน่งในจีโนมที่มีหน้าที่สัมพันธ์กับลักษณะที่สนใจโดยไม่ต้องทำการสร้างประชากรจาการผสมพันธุ์ การศึกษาในพืชโดยใช้ข้อมูล transcriptomics และ proteomics ร่วมด้วย จะสามารถทำให้ได้ข้อมูลของยีนที่ควบคุมการตอบสนองของพืชต่อความเครียดนั้นได้ นอกจากนี้ ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีจีโนมและ genome-wide association study ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ปศุสัตว์ให้ทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ข้อมูลของ single nucleotide polymorphisms (SNP) ที่ระดับจีโนม ได้นำมาใช้ในการทำ genotyping และใช้ในโปรแกรมการปรับปรุงพันธุ์ปศุสัตว์ในหลายประเทศรวมทั้งในประเทศไทย
คำสำคัญ : SNP  การปรับปรุงพันธู์ปศุสัตว์  การศึกษายีนพืช  ข้อมูลจีโนมิก  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3524  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์  วันที่เขียน 5/9/2560 11:39:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 20:57:05
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » จีโนมและจีโนมิกส์
การเข้าร่วมประชุมวิชาการจีโนมิกส์และพันธุศาสตร์ ได้เข้าร่วมรับฟังการเสนอผลงานทางวิชาการ ดังนี้ สิ่งมีชีวิตต้นแบบ (model organisms) ได้ถูกนำมาใช้ในการวิจัยอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีคุณสมบัติที่ดีหลายประการ เช่น เจริญเติบโตได้ดีในสภาวะห้องปฏิบัติการ วงจรชีวิตสั้น จีโนมมีขนาดเล็ก สิ่งมีชีวิตอื่นที่ไม่ใช่ต้นแบบ (non-model organisms) มีการนำมาศึกษาได้ยากกว่า แต่มีมูลค่าสูงทางเศรษฐกิจ กำลังเป็นที่สนใจในการนำมาศึกษาวิจัย เนื่องจากพัฒนาการด้านเทคโนโลยีจีโนมิกส์รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม (genome editing) ได้ถูกพัฒนาขึ้นมานานหลายทศวรรษ จากระบบ zinc-finger endonucleases (ZFNs), transcription-activator like effector nuclease (TALENs) จนถึงเทคนิคที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ ระบบ clustered regularly interspaced short palindromic repeats (CRISPR) / CRISPR-associated (Cas) protein 9 เทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนมได้ถูกนำมาใช้เพื่อการบำบัดรักษาโรคด้วยยีน (gene therapy) ในโรคทางพันธุกรรมหลายชนิด
คำสำคัญ : การปรับแต่งจีโนม  จีโนม  จีโนมิกส์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 6416  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์  วันที่เขียน 6/9/2559 17:15:47  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 18:43:34
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » จีโนมและจีโนมิกส์
การเข้าร่วมประชุมวิชาการจีโนมิกส์และพันธุศาสตร์ ได้เข้าร่วมรับฟังการเสนอผลงานทางวิชาการ ดังนี้ สิ่งมีชีวิตต้นแบบ (model organisms) ได้ถูกนำมาใช้ในการวิจัยอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีคุณสมบัติที่ดีหลายประการ เช่น เจริญเติบโตได้ดีในสภาวะห้องปฏิบัติการ วงจรชีวิตสั้น จีโนมมีขนาดเล็ก สิ่งมีชีวิตอื่นที่ไม่ใช่ต้นแบบ (non-model organisms) มีการนำมาศึกษาได้ยากกว่า แต่มีมูลค่าสูงทางเศรษฐกิจ กำลังเป็นที่สนใจในการนำมาศึกษาวิจัย เนื่องจากพัฒนาการด้านเทคโนโลยีจีโนมิกส์รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม (genome editing) ได้ถูกพัฒนาขึ้นมานานหลายทศวรรษ จากระบบ zinc-finger endonucleases (ZFNs), transcription-activator like effector nuclease (TALENs) จนถึงเทคนิคที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ ระบบ clustered regularly interspaced short palindromic repeats (CRISPR) / CRISPR-associated (Cas) protein 9 เทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนมได้ถูกนำมาใช้เพื่อการบำบัดรักษาโรคด้วยยีน (gene therapy) ในโรคทางพันธุกรรมหลายชนิด
คำสำคัญ : การปรับแต่งจีโนม  จีโนม  จีโนมิกส์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 6416  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์  วันที่เขียน 6/9/2559 17:15:47  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 18:43:34
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » จีโนมและจีโนมิกส์
การเข้าร่วมประชุมวิชาการจีโนมิกส์และพันธุศาสตร์ ได้เข้าร่วมรับฟังการเสนอผลงานทางวิชาการ ดังนี้ สิ่งมีชีวิตต้นแบบ (model organisms) ได้ถูกนำมาใช้ในการวิจัยอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีคุณสมบัติที่ดีหลายประการ เช่น เจริญเติบโตได้ดีในสภาวะห้องปฏิบัติการ วงจรชีวิตสั้น จีโนมมีขนาดเล็ก สิ่งมีชีวิตอื่นที่ไม่ใช่ต้นแบบ (non-model organisms) มีการนำมาศึกษาได้ยากกว่า แต่มีมูลค่าสูงทางเศรษฐกิจ กำลังเป็นที่สนใจในการนำมาศึกษาวิจัย เนื่องจากพัฒนาการด้านเทคโนโลยีจีโนมิกส์รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม (genome editing) ได้ถูกพัฒนาขึ้นมานานหลายทศวรรษ จากระบบ zinc-finger endonucleases (ZFNs), transcription-activator like effector nuclease (TALENs) จนถึงเทคนิคที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ ระบบ clustered regularly interspaced short palindromic repeats (CRISPR) / CRISPR-associated (Cas) protein 9 เทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนมได้ถูกนำมาใช้เพื่อการบำบัดรักษาโรคด้วยยีน (gene therapy) ในโรคทางพันธุกรรมหลายชนิด
คำสำคัญ : การปรับแต่งจีโนม  จีโนม  จีโนมิกส์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 6416  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์  วันที่เขียน 6/9/2559 17:15:47  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 18:43:34
ความรู้จากการเข้าร่วมอบรม/สัมมนา/ประชุมวิชาการ » พันธุศาสตร์และจีโนมิกส์ จากระดับโมเลกุลสู่การประยุกต์
การเข้าร่วมประชุมวิชาการพันธุศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 19 “พันธุศาสตร์และจีโนมิกส์: จากการศึกษาระดับโมเลกุลสู่การประยุกต์” เมื่อวันที่ 15-17 กรกฎาคม 2558 ณ โรงแรมเซ็นทารา แอนด์ คอนเวนชั่นเซนเตอร์ จังหวัดขอนแก่น ในงานประชุมได้มีการบรรยายพิเศษ และบรรยายรับเชิญโดยผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุศาสตร์ สาขามนุษยพันธุศาสตร์ และสาขาพันธุศาสตร์ของพืช สัตว์ จุลินทรีย์ และอื่น ๆ นอกจากนี้มีการนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบบรรยายและโปสเตอร์ หัวข้อการบรรยายพิเศษและการบรรยายรับเชิญ ได้แก่ พันธุศาสตร์และจีโนมิกส์กับการปรับปรุงพันธุ์พืช พันธุศาสตร์สู่พัฒนาการด้านการประมง เทคโนโลยีจีโนมิกส์เพื่อการศึกษาพันธุศาสตร์ในพืช การประยุกต์ใช้พันธุศาสตร์กับการศึกษานิเวศวิทยา เป็นต้น และมีการอภิปราย เรื่อง พืชเทคโนชีวภาพ: ความจริงวันนี้ ในการเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าของงานวิจัยด้านพันธุศาสตร์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการนำมาพัฒนาการเรียนการสอน และการทำงานวิจัยต่อไป
คำสำคัญ : การปรับปรุงพันธุ์  จีโนมิกส์  พันธุศาสตร์  พืชเทคโนชีวภาพ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 8663  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ช่อทิพา สกูลสิงหาโรจน์  วันที่เขียน 7/9/2558 4:55:48  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 18:43:25
เกร็คความรู้จากการประชุมวิชาการ » พันธุศาสตร์และจีโนมิกส์: จากการศึกษาระดับโมเลกุลสู่การประยุกต์
การศึกษาสารพันธุกรรม (จีโนม) หรือ การแสดงออกของยีนทั้งหมดของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ได้ มีความสำคัญและมีประโยชน์อย่างมากมาย สามารถนำไปพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์เพื่อสร้างประโยชน์แก่การพัฒนาสังคมและประเทศทั้งทางด้าน เกษตร ประมง ปศุสัตว์ อุตสาหกรรม อาหาร และการแพทย์ ต่อไปในอนาคต
คำสำคัญ : พันธุศาสตร์ จีโนม  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 4754  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุภารัตน์ ลีธนัชอุดม  วันที่เขียน 1/9/2558 10:24:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 22:58:07
การศึกษาพันธุศาสตร์และจีโนมจากระดับโมเลกุลสู่การประยุกต์ » การศึกษาพันธุศาสตร์และจีโนมิกส์จากระดับโมเลกุลสู่การประยุกต์
จีโนมมีหน้าที่เป็นแหล่งบรรจุข้อมูลพันธุกรรมสมบูรณ์แบบ โดยถ้าศึกษาอย่างละเอียดจะทำให้เข้าใจกระบวนการต่างๆ ทางพันธุศาสตร์ได้ดีขึ้นเช่น การแสดงออกของยีนโดยการหา เครื่องหมายระดับโมเลกุลชนิดต่าง ๆที่ช่วยในการคัดเลือกลักษณะที่ต้องการซึ่งจะช่วยในงานด้านการปรับปรุงพันธุ์และข้อมูลที่อยู่ในจีโนมจะทำให้เข้าใจการพัฒนาของพืช นอกจากนี้จีโนมจะเป็นพื้นฐานที่สร้างความเข้าใจจีโนมของยูแคริโอต รูปแบบการจัดเรียงลำดับของเบสในจีโนม ดัชนีบ่งชี้ศักยภาพทางพันธุกรรมของจีโนม การแสดงออกและการควบคุมการทำงานของยีน และข้อมูลเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานที่จะนำไปสู่การศึกษาจีโนมพืชในระดับโมเลกุลต่อไป
คำสำคัญ : จีโนม พันธุศาสตร์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2855  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ทุเรียน ทาเจริญ  วันที่เขียน 1/9/2558 8:38:00  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 4:54:42
การศึกษาพันธุศาสตร์และจีโนมจากระดับโมเลกุลสู่การประยุกต์ » การศึกษาพันธุศาสตร์และจีโนมจากระดับโมเลกุลสู่การประยุกต์
จีโนม (genome)มีหน้าที่เป็นแหล่งบรรจุข้อมูลพันธุกรรมสมบูรณ์แบบ โดยถ้าศึกษาอย่างละเอียดจะทำให้เข้าใจกระบวนการต่างๆ ทางพันธุศาสตร์ได้ดีขึ้น เช่น การแสดงออกของยีนโดยการหา เครื่องหมายระดับโมเลกุลชนิดต่าง ๆที่ช่วยในการคัดเลือกลักษณะที่ต้องการซึ่งจะช่วยในงานด้านการปรับปรุงพันธุ์และข้อมูลที่อยู่ในจีโนมจะทำให้เข้าใจการพัฒนาของสิ่งมีชีวิต โดยจีโนมจะเป็นพื้นฐานที่สร้างความเข้าใจจีโนมของยูแคริโอต รูปแบบการจัดเรียงลำดับของเบสในจีโนม ดัชนีบ่งชี้ศักยภาพทางพันธุกรรมของจีโนม การแสดงออกและการควบคุมการทำงานของยีน และข้อมูลเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานที่จะนำไปสู่การศึกษาจีโนมพืชในระดับโมเลกุลต่อไป
คำสำคัญ : จีโนม  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2688  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ทุเรียน ทาเจริญ  วันที่เขียน 27/8/2558 10:03:21  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 12:10:05
เกร็คความรู้จากการประชุมวิชาการ » การศึกษาทางพันธุศาสตร์และจีโนมิกส์ด้วยเครื่องวิเคราะห์ยุคใหม่ (Next generation sequencing for genetics and genomics studies)
การศึกษาทางพันธุศาสตร์และจีโนมิกส์ด้วยเครื่องวิเคราะห์ยุคใหม่ (Next generation sequencing for genetics and genomics studies)เป็นเทคนิคใหม่ที่แสดงถึงการพัฒนาขององค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำไปสู่การพัฒนาวิธีการใหม่ๆในการศึกษาทางด้านพันธุศาสตร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการวิจัยและพัฒนาศักยภาพในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งองค๋ความรู้ต่างเหล่านี้จะมีประโยชน์อย่างมากต่อ มนุษย์ สังคมและสิ่งแวดล้อม
คำสำคัญ : Next generation sequencing for genetics and genomics studies  จีโนมิกส์  พันธุศาสตร์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 7280  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน สุภารัตน์ ลีธนัชอุดม  วันที่เขียน 1/9/2557 9:13:11  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 20:50:10