Blog : การศึกษาพันธุศาสตร์และจีโนมจากระดับโมเลกุลสู่การประยุกต์
รหัสอ้างอิง : 200
ชื่อสมาชิก : ทุเรียน ทาเจริญ
เพศ : หญิง
อีเมล์ : turean@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 7/2/2554 10:12:07
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 7/2/2554 10:12:07

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : การศึกษาพันธุศาสตร์และจีโนมจากระดับโมเลกุลสู่การประยุกต์
จีโนม (genome)มีหน้าที่เป็นแหล่งบรรจุข้อมูลพันธุกรรมสมบูรณ์แบบ โดยถ้าศึกษาอย่างละเอียดจะทำให้เข้าใจกระบวนการต่างๆ ทางพันธุศาสตร์ได้ดีขึ้น เช่น การแสดงออกของยีนโดยการหา เครื่องหมายระดับโมเลกุลชนิดต่าง ๆที่ช่วยในการคัดเลือกลักษณะที่ต้องการซึ่งจะช่วยในงานด้านการปรับปรุงพันธุ์และข้อมูลที่อยู่ในจีโนมจะทำให้เข้าใจการพัฒนาของสิ่งมีชีวิต โดยจีโนมจะเป็นพื้นฐานที่สร้างความเข้าใจจีโนมของยูแคริโอต รูปแบบการจัดเรียงลำดับของเบสในจีโนม ดัชนีบ่งชี้ศักยภาพทางพันธุกรรมของจีโนม การแสดงออกและการควบคุมการทำงานของยีน และข้อมูลเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานที่จะนำไปสู่การศึกษาจีโนมพืชในระดับโมเลกุลต่อไป ตัวอย่างประโยชน์ของการศึกษาพันธุศาสตร์ในด้านต่าง ๆ จากการศึกษาระดับโมเลกุลสู่การประยุกต์ ดังนี้คือ ด้านการเกษตร ด้านการแพทย์ ด้านนิเวศวิทยา และด้านความหลากหลายทาง พันธุกรรม เช่น 1. ด้านพันธุศาสตร์กับการเกษตร เช่น การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวให้มีรสชาติหวาน ซัง และไหม ทำให้มีสารแอนโทไซยานินสูง ที่สามารถใช้เป็นแหล่งของสารแอนโทไซยานินที่มีราคาถูกในระดับอุตสาหกรรม เป็นต้น 2. ด้านพันธุศาสตร์กับการแพทย์ เช่น วิธี Noninvasive prenatal testing (NIPT) เพื่อตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมในทารกก่อนคลอดรูปแบบใหม่ในสตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุเกิน 35 ปี เมื่อนับถึงวันครบกำหนดคลอด แทนแบบเดิมที่ต้องใช้เข็มเจาะน้ำคร่ำ โดยใช้วิธีเจาะเลือดของแม่ วิธีนี้ให้ความเชื่อมั่นร้อยละ 98-99 นอกจากนี้ยังพบว่าสตรีตั้งครรภ์ส่วนใหญ่มีผลการตรวจกรองกลุ่มอาการดาวน์โดยโครโมโซมผิดปกติชนิดที่เรียกว่า Aneuploidy 3. ด้านพันธุศาสตร์กับนิเวศวิทยา เช่น การใช้ดีเอ็นเอบาร์โค้ด คือ การใช้ลำดับนิวคลีโอไทด์ในการระบุชนิดของสิ่งมีชีวิต เพื่อใช้ในการศึกษานิเวศวิทยาของแมลง ซึ่งนำมาประยุกต์ใช้ในการศึกษาโครงสร้างทางสังคมของสิ่งมีชีวิต กระจายตัวของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ต่อไปได้ 4. ด้านพันธุศาสตร์กับความหลากหลายทางพันธุกรรม เช่น การศึกษายีนที่อยู่ในสิ่งมีชีวิตจะช่วยให้จำแนกชนิดของสิ่งมีชีวิตได้เพราะยีนของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะแตกต่างกันและไม่ผันแปรไปตามภาพแวดล้อมความใกล้ชิดทางพันธุกรรมระหว่างชนิดของสิ่งมีชีวิต และระหว่างพันธุ์ภายในชนิดเดียวกัน เช่น นกปรอทหัวโขน และ กล้วยไม้ในประเทศไทย เป็นต้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทุเรียน ทาเจริญ
การศึกษาพันธุศาสตร์และจีโนมจากระดับโมเลกุลสู่การประยุกต์ » ผลงานวิจัยที่น่าสนใจจากการประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ประจำปี 2558
1.การแสดงออกของโปรตีนตอบสนองต่ออุณหภูมิสูงขนาดเล็ก (OsHSP18) จากข้าวไทยในแบคทีเรีย E.coli จากการทดลองพบว่ายีนชนิดนี้จะมีการแสดงออกมากขึ้นที่อุณหภูมิสูงขึ้นและจากการศึกษาโปรตีน OsHSP18 พบว่าสารนี้น่าจะเป็นพิษต่อแบคทีเรียและไม่พบโดเมน PATSDND จึงทำให้เซลล์ที่มีโปรตีน OsHSP18 มีการรอดชีวิตไม่แตกต่างจากเซลล์เจ้าบ้าน 2.การวิเคราะห์การแสดงออกและลำดับบางส่วนของยีน OsDFR ในข้าวขาวและข้าวดำ จากการทดลองพบว่า ข้าวดำทุกพันธุ์มีการแสดงออกของยีนOsDFRในเมล็ดสูงกว่าในใบ ข้าวขาว กข 6 อาจมียีน OsDFR ที่มีการกลายพันธุ์ที่ตำแหน่งอื่น ส่วนการวิเคราะห์ลำดับเบสและกรดอมิโนบริเวณ exon ที่ 2 พบว่าข้าวดำพันธุ์ก่ำมีลำดับเบสเหมือนข้าวดำลืมผัว 3.การพัฒนาการถ่ายยีนเข้าสู่ embryo ของเมล็ดข้าวโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง จากการทดลองพบว่าใช้วิธีSAATกับVIAATของข้าว กข 41เป็นการถ่ายยีนโดยไม่ผ่านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช เพื่อพัฒนาข้าวดัดแปลงพันธุกรรมสำหรับใช้ศึกษาบทบาทหน้าที่ของยีนและใช้เป็นวิธีในการสร้างพันธุ์ข้าวใหม่ต่อไป 4.การใช้เครื่องหมายRAPD (Random Amplification Polymorphic DNA) จากการทดลอง พบว่า RAPD ซึ่งเป็นเทคนิคหนึ่งในการทำลายพิมพ์ DNAโดยใช้เทคนิค PCR โดยมีหลักการที่จะสุ่มเลือก Primer ใด ๆ สามารถในการตรวจสอบความแตกต่างระหว่างลำไยลูกผสมพันธุ์แห้วกับพันธุ์ดอก้านแข็งโดยใช้ไพรเมอร์ c14 G08และ I20และลูกผสมที่เกิดขึ้นจะใช้ในการศึกษาลักษณะทางการเกษตรต่อไป 5.การผลิตก๊าซชีวภาพจากฟางข้าวโดยกระบวนการย่อยสลายในสภาวะไร้อากาศแบบแห้ง ทำให้ได้มีเทนสูงประมาณ 50%หรือคิดเป็นปริมาณก๊าซชีวภาพได้ 905.28 ล./กก. และในระยะเวลาหมัก 30 วันจะได้ปริมาณก๊าซชีวภาพสะสมทั้งหมด 263.21 ล./กก.ส่วนประสิทธิภาพการกำจัดของแข็งระเหยได้ 54.25% ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการในครั้งนี้จะถูกนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอน เพื่อตอบสนองต่อนโยบายของมหาวิทยาลัยที่พัฒนาการเรียนการสอนต่อไปในอนาคต
คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2959  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ทุเรียน ทาเจริญ  วันที่เขียน 11/3/2559 12:54:44  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 13:24:29
การศึกษาพันธุศาสตร์และจีโนมจากระดับโมเลกุลสู่การประยุกต์ » การศึกษาพันธุศาสตร์และจีโนมิกส์จากระดับโมเลกุลสู่การประยุกต์
จีโนมมีหน้าที่เป็นแหล่งบรรจุข้อมูลพันธุกรรมสมบูรณ์แบบ โดยถ้าศึกษาอย่างละเอียดจะทำให้เข้าใจกระบวนการต่างๆ ทางพันธุศาสตร์ได้ดีขึ้นเช่น การแสดงออกของยีนโดยการหา เครื่องหมายระดับโมเลกุลชนิดต่าง ๆที่ช่วยในการคัดเลือกลักษณะที่ต้องการซึ่งจะช่วยในงานด้านการปรับปรุงพันธุ์และข้อมูลที่อยู่ในจีโนมจะทำให้เข้าใจการพัฒนาของพืช นอกจากนี้จีโนมจะเป็นพื้นฐานที่สร้างความเข้าใจจีโนมของยูแคริโอต รูปแบบการจัดเรียงลำดับของเบสในจีโนม ดัชนีบ่งชี้ศักยภาพทางพันธุกรรมของจีโนม การแสดงออกและการควบคุมการทำงานของยีน และข้อมูลเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานที่จะนำไปสู่การศึกษาจีโนมพืชในระดับโมเลกุลต่อไป
คำสำคัญ : จีโนม พันธุศาสตร์  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2855  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ทุเรียน ทาเจริญ  วันที่เขียน 1/9/2558 8:38:00  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 4:54:42
การศึกษาพันธุศาสตร์และจีโนมจากระดับโมเลกุลสู่การประยุกต์ » การศึกษาพันธุศาสตร์และจีโนมจากระดับโมเลกุลสู่การประยุกต์
จีโนม (genome)มีหน้าที่เป็นแหล่งบรรจุข้อมูลพันธุกรรมสมบูรณ์แบบ โดยถ้าศึกษาอย่างละเอียดจะทำให้เข้าใจกระบวนการต่างๆ ทางพันธุศาสตร์ได้ดีขึ้น เช่น การแสดงออกของยีนโดยการหา เครื่องหมายระดับโมเลกุลชนิดต่าง ๆที่ช่วยในการคัดเลือกลักษณะที่ต้องการซึ่งจะช่วยในงานด้านการปรับปรุงพันธุ์และข้อมูลที่อยู่ในจีโนมจะทำให้เข้าใจการพัฒนาของสิ่งมีชีวิต โดยจีโนมจะเป็นพื้นฐานที่สร้างความเข้าใจจีโนมของยูแคริโอต รูปแบบการจัดเรียงลำดับของเบสในจีโนม ดัชนีบ่งชี้ศักยภาพทางพันธุกรรมของจีโนม การแสดงออกและการควบคุมการทำงานของยีน และข้อมูลเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานที่จะนำไปสู่การศึกษาจีโนมพืชในระดับโมเลกุลต่อไป
คำสำคัญ : จีโนม  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2688  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ทุเรียน ทาเจริญ  วันที่เขียน 27/8/2558 10:03:21  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 12:10:05

URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้