การศึกษาทางพันธุศาสตร์และจีโนมิกส์ด้วยเครื่องวิเคราะห์ยุคใหม่ (Next generation sequencing for genetics and genomics studies)
วันที่เขียน 1/9/2557 9:13:11     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/4/2568 10:17:21
เปิดอ่าน: 7342 ครั้ง

การศึกษาทางพันธุศาสตร์และจีโนมิกส์ด้วยเครื่องวิเคราะห์ยุคใหม่ (Next generation sequencing for genetics and genomics studies)เป็นเทคนิคใหม่ที่แสดงถึงการพัฒนาขององค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำไปสู่การพัฒนาวิธีการใหม่ๆในการศึกษาทางด้านพันธุศาสตร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการวิจัยและพัฒนาศักยภาพในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งองค๋ความรู้ต่างเหล่านี้จะมีประโยชน์อย่างมากต่อ มนุษย์ สังคมและสิ่งแวดล้อม

การศึกษาทางด้านพันธุศาสตร์ในสิ่งมีชีวิตต่างๆ นั้นเป็นองค์ความรู้พื้นฐานที่สำคัญ โดยนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยสามารถนำเอาความรู้เหล่านี้ไปใช้ต่อยอดเพื่อการศึกษาเพิ่มเติมหรือแม้กระทั้งนำไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาด้านต่างๆ เช่น การเข้าใจถึงกลไกการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของลักษณะต่างๆ ในสิ่งมีชีวิต การศึกษาการควบคุมโดยยีนต่อกลไกต่างๆ ที่มีประโยชน์ในร่างกายของสิ่งมีชีวิต การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การปรับปรุงพันธุ์ทั้งในพืชและสัตว์ การนำข้อมูลทางพันธุกรรมไปใช้เพื่อการตรวจสอบ
ป้องกัน และการรักษาโรคต่าง ๆ ในมนุษย์ เป็นต้น ซึ่งการจะได้มาซึ่งองค์ความรู้ต่างๆ เหล่านี้นั้นนอกจากนักวิทยาศาสตร์จะต้องมีความรู้ความสามารถในการศึกษาแล้ว เครื่องมือหรือหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่ดีก็มีส่วนที่สำคัญเป็นอย่างมากในการที่จะนำมาช่วยให้การศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จากอดีตจนถึงปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์หลายๆ กลุ่มได้มีการค้นพบทฤษฏีและวิธีการมากมายเพื่อใช้ในการศึกษาและวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมหรือจีโนมในสิ่งมีชีวิตต่างๆ ซึ่งปัจจุบันนี้เทคโนโลยีและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้มีการพัฒนาเป็นอย่างมากอีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่มีบทบาทสำคัญ สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการเข้าร่วมงานประชุมวิชาการในครั้งนี้ผู้เข้าร่วมประชุมจึงได้รับองค์ความรู้ใหม่ในการนำเทคโนโลยีการวิเคราะห์จีโนม โดยการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ของดีเอ็นเอ
(DNA) และอารเอ็นเอ (RNA) ทั้งหมด เรียกการวิเคราะห์นี้ว่า Next generation sequencing (NGS) ซึ่งในงานประชุมได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี NGS โดยตัวแทนจากบริษัทต่างๆ ที่มีการพัฒนาเครื่องมีอที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ NGS นอกจากนี้ยังมีตัวแทนนักวิจัยที่ได้มีการนำเทคโนโลยี NGS มาใช้ในงานวิจัยทางด้านต่างๆ ทั้งใน พืช สัตว์ จุลชีพ และในมนุษย์ เป็นต้น โดยได้มีการนำเสนอทั้งการบรรยายและการนำเสนอในรูปแบบโปสเตอร์
ซึ่งการเข้าร่วมประชุมวิชาการครั้งนี้ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้มีโอกาสเพิ่มความรู้ของตนเองให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้นในการศึกษาและวิจัยทางด้านพันธุศาสตร์ อีกทั้งเปิดโอกาสให้ตนเองได้ทราบและเข้าใจงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ท่านอื่นๆ ซึ่งจะนำไปเป็นแนวทางในงานวิจัยของตนเองและการสร้างความร่วมมือในงานวิจัยต่อไปในอนาคต และที่สำคัญอย่างยิ่งองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมงานประชุมวิชาการนี้จะสามารถนำไปใช้เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนของหลักสูตรฯ ให้มีการพัฒนาและมีความทันสมัยมากยิ่งขึ้นSmile

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 6
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 6 ในวันที่ 27 มีนาคม 2568 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดยคณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการประมงแ...
การประชุมวิชาการ  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 2/4/2568 23:04:27  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/4/2568 8:33:46   เปิดอ่าน 15  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์ » การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์
การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์เป็นกระบวนการที่ใช้ตรวจสอบว่าคำตอบของสมการเชิงอนุพันธ์มีแนวโน้มที่จะคงที่หรือเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเวลาผ่านไป โดยทั่วไป การพิจารณาเสถียรภาพขึ้นอยู่กับพฤต...
การหาเสถียรภาพ  สมการเชิงอนุพันธ์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ธวัชชัย เพชรธาราทิพย์  วันที่เขียน 7/3/2568 14:18:42  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 21:03:27   เปิดอ่าน 86  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ รุ่นที่ ๕ : จากหลักการสู่การปฏิบัติ
จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ ในทางปฏิบัติมีความจำเป็นจะต้องพิจารณาก่อนที่จะดำเนินการวิจัย โดยยึดหลักตามหลักการของ Belmont Report and Basic Ethical (1978) ประกอบด้วย 3 หลักกา...
จริยธรรมวิจัย  พฤติกรรมศาสตร์  วิจัยในมนุษย์  สังคมศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 26/2/2568 16:09:31  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/4/2568 1:48:33   เปิดอ่าน 129  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง