พันธุศาสตร์และจีโนมิกส์: จากการศึกษาระดับโมเลกุลสู่การประยุกต์
วันที่เขียน 1/9/2558 10:24:15     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/4/2568 10:17:20
เปิดอ่าน: 4877 ครั้ง

การศึกษาสารพันธุกรรม (จีโนม) หรือ การแสดงออกของยีนทั้งหมดของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ได้ มีความสำคัญและมีประโยชน์อย่างมากมาย สามารถนำไปพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์เพื่อสร้างประโยชน์แก่การพัฒนาสังคมและประเทศทั้งทางด้าน เกษตร ประมง ปศุสัตว์ อุตสาหกรรม อาหาร และการแพทย์ ต่อไปในอนาคต

ปัจจุบันองค์ความรู้ทางด้านพันธุศาสตร์มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก โดยได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีความก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา จนสามารถนำมาใช้ในการศึกษาสารพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ได้ ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการศึกษาเพียงแค่ส่วนใดส่วนหนึ่งของดีเอ็นเอหรือยีนใดยีนหนึ่งที่สนใจเท่านั้น แต่สามารถที่จะศึกษาการแสงดออกของยีนทั้งหมด หรือดีเอ็นเอทั้งหมดหรือทั้งจีโนมนั่นเอง ซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการวิเคราะห์ข้อมูลไม่นาน เช่นการใช้เทคนิค next gen sequencing โดยการหาลำดับเอ็กโซม (exome sequencing) ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งทางการแพทย์, สัตว์, พืชและสิ่งมีชีวิตต่างๆ เพื่อการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ นำมาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ การประมง การศึกษาการกลายพันธุ์ของโรคติดต่อในมนุษย์ชนิดต่างๆ ที่สำคัญเช่น ไวรัสอีโบล่า ไข้หวัดนก เพื่อใช้ในการรักษาและป้องกันการระบาด นอกจากนี้ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อการศึกษาโรคทางพันธุกรรมในมนุษย์ เช่น โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย หรือแม้แต่กระทั่งโรคมะเร็งที่ปัจจุบันยังคงเป็นปัญหาทั้งการวินิจฉัยและการรักษาที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีการนำเทคโนโลยีจีโนมมาใช้เพื่อการศึกษาทางด้านสเต็มเซลล์สำหรับการวิจัยกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเซลล์ สาเหตุของโรคและการดูแลรักษาโรคในมนุษย์

ช้อมูลจีโนมจะมีความจำเพาะในสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ แม้แต่ในมนุษย์นั้นข้อมูลจีโนมของแต่ละบุคคลยังมีความแตกต่างกันออกไป ประมาณ 0.1% ของจีโนมทั้งหมด โดยความแตกต่างดังกล่าวนี้อาจสัมพันธ์กับโรค หรือลักษณะสำคัญบางอย่างหรือแม้กระทั่งการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาที่แตกต่างกัน จะเห็นได้ว่าการศึกษาจีโนมนั้นมีความสำคัญและมีประโยชน์อย่างมากมาย สามารถนำไปพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์เพื่อสร้างประโยชน์แก่การพัฒนาสังคมและประเทศทั้งทางด้าน เกษตร ประมง ปศุสัตว์ อุตสาหกรรม อาหาร และการแพทย์ ต่อไปในอนาคต 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=398
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 6
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 6 ในวันที่ 27 มีนาคม 2568 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดยคณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการประมงแ...
การประชุมวิชาการ  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 2/4/2568 23:04:27  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/4/2568 8:33:46   เปิดอ่าน 15  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์ » การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์
การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์เป็นกระบวนการที่ใช้ตรวจสอบว่าคำตอบของสมการเชิงอนุพันธ์มีแนวโน้มที่จะคงที่หรือเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเวลาผ่านไป โดยทั่วไป การพิจารณาเสถียรภาพขึ้นอยู่กับพฤต...
การหาเสถียรภาพ  สมการเชิงอนุพันธ์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ธวัชชัย เพชรธาราทิพย์  วันที่เขียน 7/3/2568 14:18:42  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 21:03:27   เปิดอ่าน 86  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ รุ่นที่ ๕ : จากหลักการสู่การปฏิบัติ
จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ ในทางปฏิบัติมีความจำเป็นจะต้องพิจารณาก่อนที่จะดำเนินการวิจัย โดยยึดหลักตามหลักการของ Belmont Report and Basic Ethical (1978) ประกอบด้วย 3 หลักกา...
จริยธรรมวิจัย  พฤติกรรมศาสตร์  วิจัยในมนุษย์  สังคมศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 26/2/2568 16:09:31  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/4/2568 1:48:33   เปิดอ่าน 129  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง