การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับด้านเกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
วันที่เขียน 9/4/2558 16:01:39     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/4/2567 1:18:51
เปิดอ่าน: 3212 ครั้ง

ผลการสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับด้านเกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้วิจัยได้ทำการสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเกษตรอินทรีย์จำนวน 18 เรื่อง จำแนกตามประเภทงานวิจัยทางด้านลำไยอินทรีย์ ทางด้านทรัพยากรนิเวศทางเกษตรอินทรีย์ และทางด้านการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ พบว่าด้านการผลิตลำไยอินทรีย์ และด้านทรัพยากรนิเวศทางเกษตรอินทรีย์ จำแนกเป็น 1) ประสิทธิภาพการผลิต ขึ้นอยู่กับระบบการผลิตลำไยที่มีประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับ ความรู้ความเข้าใจ การมีประสบการณ์ของเกษตรกรผู้ผลิต สภาพพื้นที่เพาะปลูก สภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิ ความสมบูรณ์ของต้นลำไย ความต้องการของตลาด และความร่วมมือของเกษตรกร 2) สาเหตุที่เลือกใช้ปุ๋ยอินทรีย์ มีสาเหตุเนื่องจากเพื่อลดอันตรายจากสารเคมีตกค้าง และสามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น จึงช่วยลดค่าใช้จ่าย เช่น ค่าขนส่ง ค่าแรงงาน เป็นต้น และ 3) วิธีเพิ่มผลผลิตของลำไย ได้แก่ การควั่นกิ่งและการตัดราก การใช้ต้นตอของพันธุ์ลำไยที่สามารถออกดอกได้มาก และการใช้วัตถุดิบที่หาง่ายในท้องถิ่นมาใช้ เช่น มูลวัว มูลค้างคาว มูลไก่ เป็นต้น ส่วนด้านการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ จำแนกเป็น 1) ด้านการบริโภคของผู้บริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ พบว่า ปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลต่อความเต็มใจที่จะซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ ได้แก่ ทัศนคติ ความรู้ และพฤติกรรมการบริโภค โดยสิ่งที่ผู้บริโภคคำนึงถึงเป็นอันดับต้นๆ ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัย การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ราคาสมเหตุสมผล ความรู้ที่ได้รับ และการคำนึงด้านสุขภาพ 2) ด้านการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ แบ่งเป็น ก) ประสิทธิภาพการผลิต และรูปแบบการผลิตพืชอินทรีย์ที่เหมาะสม ซึ่งควรใช้การปลูกพืชแบบผสมผสาน และ ข) ปัญหาที่ส่งผลต่อระบบการผลิต มีหลายสาเหตุ ได้แก่ สภาพภูมิอากาศ ภัยธรรมชาติ แมลงศัตรูพืช ราคาสินค้าตกต่ำ และระบบชลประทาน

รายละเอียดเอกสารเพิ่มเติม ตามลิงก์ด้านล่างนี้

http://www.e-manage.mju.ac.th/openFile.aspx?id=MTI2MTU1

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=374
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : การศึกษา การเรียนการสอน
ผลงานวิจัย » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการฯ
ในการเขียนบทความ ควรเริ่มจากการทำแผนที่บทความเพื่อแบ่งสัดส่วนของหัวข้อของบทความข้างต้นตามเกณฑ์วารสารที่กำหนดจะทำให้การเขียนง่ายขึ้น สามารถใช้ ChatGPT ช่วยในการเขียนตามหัวข้อที่กำหนดได้ง่ายขึ้น
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การศึกษา การเรียนการสอน
ผู้เขียน หนึ่งหทัย ชัยอาภร  วันที่เขียน 4/3/2567 10:46:23  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 16:48:53   เปิดอ่าน 119  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง