การคิดสร้างสรรค์ หมายถึง การสร้างสรรค์”สิ่งใหม่” อาทิ ผลผลิต การแก้ปัญหา นวัตกรรม ฯลฯ ซึ่งมีคุณค่า การขยายขอบเขตความคิดออกไปจาก กรอบความคิดเดิมที่มีอยู่สู่ความคิดใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน เพื่อค้นหาคำตอบที่ดีที่สุดให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม เป็นความคิดที่ หลากหลาย คิดได้กว้างไกล หลายแง่หลายมุม เน้นทั้งปริมาณและคุณภาพ การคิดเชิงสร้างสรรค์จึงเป็นการคิดเพื่อการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งเดิมไปสู่สิ่ง ใหม่ที่ดีกว่า ซึ่งจะได้ผลลัพธ์ที่ต่างไปโดยสิ้นเชิงหรือที่เรียกว่า นวัตกรรม
โดยผู้สอนควรจะมีรูปแบบการสอน หรือสิ่งที่แสดงขณะสอนควรจะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ฝึกคิด ได้ฝึกปฏิบัติจริงและฝึกปรับปรุงตนเองด้วยการจัดกิจกรรมกลุ่ม การใช้คำถามในการกระตุ้นและเสริมแรงให้เกิดการอยากเรียนรู้การใช้แหล่งเรียนรู้และสื่อการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งสรุปเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมทางด้านการคิดสร้างสรรค์ ได้ดังนี้
- การสร้างแรงจูงใจ ซึ่งเกิดจากทั้งภายนอกหรือภายใน โดยแรงจูงใจภายนอก จะได้จากปัจจัยภายนอก ส่วนแรงจูงใจภายใน เป็นแรงจูงใจที่เกิดจากความปรารถนาอันแรงกล้า หรือความสนใจต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดของบุคคล ซึ่งจะมีผลต่อความคิดสร้างสรรค์มากกว่า
- 2. การอบรมเลี้ยงดู เป็นวิธีการที่พ่อแม่ใช้การอบรมเลี้ยงดูที่ทำให้ลูกรู้สึกว่าตนเองได้รับการปฏิบัติด้วยความยุติธรรม พ่อแม่ไม่พอใจจนเกินไปหรือเข้มงวดเกินไป ยอมรับนับถือความสามารถและความคิดของลูกให้ความร่วมมือแก่ลูกตามโอกาสอันควร
- บุคลิกภาพ เป็นบุคลิกของผู้สอนที่มีความยืดหยุ่น ไม่เข้มงวด ให้กำลังใจ ให้ผู้เรียนรู้สึกผ่อนคลาย
- สมอง การรับรู้ การฝึกให้ผู้เรียนได้คิดโดยใช้เนื้อหาที่ขับเคลื่อนจากภายใน
- สภาพแวดล้อม จะเป็นบรรยากาศในการเรียนที่มีความปลอดภัย (ไม่มีการตำหนิ) การเข้าร่วมกิจกรรม การสนับสนุนของเพื่อน และอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก ทำให้ผู้เรียนสามารถสร้างเนื้อหาที่ใกล้ตัว
สำหรับเทคนิคการสอนนั้นมีหลากหลายวิธีเพื่อให้ตอบโจทย์ของการเรียนการสอนที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ ไม่ให้การเรียนเป็นที่น่าเบื่อหน่าย เป็นการเรียนที่มีความสนุก และเป็นการกระตุ้นผู้เรียนให้คิดเชิงสร้างสรรค์ เช่น การสอนแบบบรรยาย การสอนแบบสาธิต การสอนแบบการทดลอง การสอนแบบนิรนัย อุปนัย การสอนแบบการดูงาน การประชุมแบบกลุ่มย่อย การสอนแบบบทบาท แบบความร่วมมือ การใช้ประสบการณ์ การนำด้วยปัญหา ฯลฯ วิธีการสอนเหล่านี้ไม่จำเป็นจะต้องมีวิธีเดียวในการสอนในแต่ละครั้ง สามารถที่จะจัดการสอนได้หลายรูปแบบร่วมกันได้