การวิเคราะห์เส้นทางของปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้
วันที่เขียน 8/9/2559 10:17:28     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/4/2567 13:46:20
เปิดอ่าน: 4834 ครั้ง

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาตัวแปรสาเหตุที่มีอิทธิพลทั้งทางตรง ทางอ้อม ต่อความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษา โดยทำการเก็บแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 82 คน โดยใช้การชักตัวอย่างแบบสุ่มเชิงเดียว พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีคะแนนเฉลี่ยในการปฏิบัติความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองอยู่ในระดับมากทุกด้าน ตัวแปรเหตุที่มีอิทธิพลต่อความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียงตามลำดับความสำคัญได้ดังนี้ (1) การมีเจตคติต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง (2) การมีความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อน (3) การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย (4) การมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และ (5) การมีความมีวินัยในตนเอง โดยมีค่าอิทธิพลรวมเท่ากับ 1.1248 , 0.9111 , 0.8582 , 0.64 และ 0.5376 ตามลำดับ การมีเจตคติต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีอิทธิพลสูงสุดต่อความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยมีอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.77 ส่วนอิทธิพลทางอ้อมผ่านการมีความมีวินัยในตนเอง และการมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มีค่าเท่ากับ 0.3548 การมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์มีเฉพาะอิทธิพลทางตรงต่อความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองเท่ากับ 0.64 ส่วน การมีความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อน การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย และความมีวินัยในตนเองมีเฉพาะอิทธิพลทางอ้อม โดยมีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.9111 ,0.8582 และ 0.5376 ตามลำดับ คำสำคัญ: การวิเคราะห์เส้นทาง ความพร้อมในการเรียนรู้

บทนำ 

                มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาการจัดการศึกษา เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม และได้ตระหนักถึงความสำคัญของการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพในทุกด้านทุกสาขาวิชา ซึ่งปัจจุบันคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ก็ได้เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี ทั้งหมด 7  สาขาวิชา    โดยมีปรัชญา ของคณะวิทยาศาสตร์ คือ “มุ่งสร้างองค์ความรู้ สู่ความเป็นสากลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้วยการผลิตบัณฑิต ที่ใฝ่รู้ สู้งาน มีคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อเป็นรากฐานสู่การพัฒนาการเกษตรไทย” และมี วิสัยทัศน์ ของคณะวิทยาศาสตร์ คือ “เป็นหนึ่งในผู้นำด้านการผลิตบัณฑิตและสร้างองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาเกษตรไทยให้ยั่งยืน”  และในการนี้ทางคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้มีการพัฒนาการเรียนการสอน มุ่งสร้างทักษะ เจตคติที่ทำให้นักศึกษาผ่านหลักสูตรตามเกณฑ์ สามารถมีความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ สามารถวิเคราะห์ วิจารณ์ และแสวงหาความรู้ใหม่ได้ โดยเป็นการเรียนที่ต้องพึ่งพาตนเอง ซึ่งผู้เรียนจะต้องตระหนัก ต้องสนใจเรียนรู้จากระบบข่าวสารต่างๆ สามารถจัดแผนการเรียนด้วยตนเองเพื่อก่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง

การเรียนรู้ด้วยตนเองเกิดจากความคิดริเริ่มของบุคคลในเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามความต้องการและความสนใจของตนเอง มีการวางแผน วางจุดมุ่งหมายในเรื่องนั้น ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการอยู่รอดของมนุษย์ และเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดการศึกษาที่ต่อเนื่องตลอดชีวิต และบุคคลที่มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองมีลักษณะดังนี้ คือ การเปิดโอกาสต่อการเรียนรู้ การมีมโนคติของตนเองในด้านการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ มีความคิดริเริ่มและมีอิสระในการเรียนรู้ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีความรักในการเรียนรู้ การมองอนาคตในแง่ดี และความสามารถในการใช้ทักษะการศึกษาหาความรู้และทักษะการแก้ปัญหา และจากการศึกษาค้นคว้างานวิจัยเกี่ยวกับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองตามแนวคิดของนักวิจัยหลายท่าน พบว่า มีปัจจัยบางประการที่มีความสัมพันธ์และส่งผลต่อความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้แก่  การอบรมเลี้ยงดู ความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อน เจตคติต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง ความมีวินัยในตนเอง และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์  (มรุต ก้องวิริยะไพศาล . 2549 : 2)

จากประเด็นที่เกี่ยวข้องข้างต้น ทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะทำการศึกษาวิเคราะห์เส้นทางของตัวแปรที่มีผลต่อความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เนื่องจากการวิเคราะห์เส้นทาง สามารถอธิบายถึงปัจจัยเชิงสาเหตุต่างๆ ของตัวแปรทั้งทางตรงและทางอ้อมตามรูปแบบเชิงสาเหตุซึ่งสร้างบนพื้นฐานของความรู้ที่ได้จากงานวิจัยต่างๆ และทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะได้ทราบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษานั้นมากหรือน้อยเพียงใด เพื่อให้ผู้สอน ผู้เรียน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้นำไปใช้เป็นแนวทางส่งเสริมให้นักศึกษามีความพร้อมที่จะเรียนรู้ด้วยตนเองอยู่ในระดับสูงขึ้น

วัตถุประสงค์ของงานวิจัย

เพื่อศึกษาตัวแปรสาเหตุที่มีอิทธิพลทั้งทางตรง ทางอ้อม ต่อความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษา

 

ระเบียบวิธีวิจัย 

                ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

        ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ภาคปกติ ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 และตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่ลงทะเบียนเรียน   ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน  82 คน ที่ได้จากการชักตัวอย่างแบบสุ่มเชิงเดียว

        ตัวแปรที่ศึกษา 

  1. ตัวแปรอิสระ ปัจจัยที่มีผล

1.1         การอบรมเลี้ยงดู

1.2         ความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อน

1.3         เจตคติต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง

1.4         ความมีวินัย

1.5         แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์

  1. ตัวแปรตาม คือ ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 

        แบบสอบถาม ที่เกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามวัดความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์

      การวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis)

       

 

 

 

โมเดล ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองตามสมมติฐาน

 

สรุปผลการวิจัย  

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาตัวแปรสาเหตุที่มีอิทธิพลทั้งทางตรง ทางอ้อม ต่อความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษา ดังนั้นผู้วิจัยจึงเสนอผลการวิจัย เป็นดังนี้

 

ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของตัวอย่าง

ตาราง 1 คะแนนเฉลี่ยในการปฏิบัติความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง

ข้อความ

การปฏิบัติ

ค่าเฉลี่ย

แปลผล

การเปิดโอกาสต่อการเรียนรู้

1.การติดตามข่าวสารเกี่ยวกับแหล่งความรู้จากสื่อต่างๆ

เพื่อได้รับความรู้ใหม่ๆ

2.เมื่อเรียนจบในระดับนี้แล้ว จะหาโอกาสเรียนต่อในระดับสูงขึ้นไปอีก

3.มีความเชื่อว่า การเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

มโนคติแห่งตนในด้านการเป็นผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพ

4.ชอบค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆ เพิ่มเติมด้วยตนเอง

5.มีความเชื่อมั่นว่า สามารถเรียนรู้ในเรื่องที่ยากได้

6.มีความเชื่อว่า การเรียนรู้ทำให้พัฒนาตนเองได้ดีขึ้น

ความคิดริเริ่มและอิสระในการเรียนรู้

7.ตัดสินใจเลือกเรียนวิชาต่างๆ ตามที่สนใจเรียนได้

8.มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการเรียนรู้กับผู้อื่น

9.มีการเปลี่ยนแปลงแนวทางและวิธีการต่างๆ ในการค้นคว้าหาความรู้

ความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง

10.เชื่อในความสามารถว่าจะทำงานได้สำเร็จ

11.มีความพร้อมในการสอบแต่ละครั้ง เพราะได้ดูหนังสือและเตรียมตัวอย่างเต็มที่

12.เมื่อได้รับมอบหมายงานให้รับผิดชอบเกี่ยวกับงานกิจกรรม วิชาที่เรียน มักทำได้ดีและเสร็จก่อนกำหนด

ความรักในการเรียนรู้

13.ชอบและชื่นชมบุคคลที่มีความรู้หลากหลายในสาขาวิชาต่างๆ และเอาเป็นแบบอย่าง

14.กระตือรือร้นในการเรียนรู้ด้วยตนเอง

15.พอใจที่จะศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ

 

 

3.735

 

4.313

4.374

 

 

3.651

3.422

4.192

 

4.219

3.842

3.667

 

3.915

3.395

 

3.756

 

 

4.402

 

3.829

3.951

 

 

มาก

 

มาก

มาก

 

 

ปานกลาง

ปานกลาง

มาก

 

มาก

มาก

ปานกลาง

 

มาก

ปานกลาง

 

มาก

 

 

มาก

 

มาก

มาก

 

ตาราง 1 คะแนนเฉลี่ยในการปฏิบัติความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง (ต่อ)

ข้อความ

การปฏิบัติ

ค่าเฉลี่ย

แปลผล

ความคิดสร้างสรรค์

16.สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการเรียนรู้ไปประยุกต์เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ได้

17.สามารถบูรณาการด้านความคิด การพิจารณาแยกแยะความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์ของแนวคิดต่างๆ ได้

18.สามารถคิดค้นแนวคำตอบของโจทย์ปัญหาได้หลายวิธี

การมองอนาคตในแง่ดี

19.มีความเชื่อว่าการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ทำให้มีความก้าวหน้าในการประกอบอาชีพ

20.นำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ไปเชื่อมโยงกับเป้าหมายที่ต้องการในอนาคตได้

21.คิดว่าอนาคตของตนเองขึ้นอยู่กับความสำเร็จในการเรียนรู้ที่ตนเองได้รับมา

ความสามารถใช้ทักษะการศึกษาหาความรู้ และทักษะการแก้ปัญหา

22.เมื่อเกิดปัญหา สามารถเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาให้กับผู้ร่วมงานได้

23.จดบันทึกสรุปในการเรียนแต่ละครั้ง เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับตนเอง

24.เมื่อเผชิญกับปัญหาในการเรียน จะวิเคราะห์หาสาเหตุและหาแนวทางแก้ไขด้วยตนเอง

การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย

1.เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับการเรียนวิชาใดวิชาหนึ่ง พ่อ-แม่ หรือผู้ปกครองจะแสดงความห่วงใยและอนุญาตให้ไปอบรม หรือติวกับเพื่อนที่มหาวิทยาลัย

2.เมื่อ พ่อ-แม่ หรือผู้ปกครองทราบว่าผลการเรียนเฉลี่ยลดลงหรือไม่ดี ท่านถามสาเหตุของปัญหาและให้คำปรึกษา

3.เมื่อพาเพื่อนมาเที่ยวที่บ้าน พ่อ-แม่ หรือผู้ปกครองจะให้อิสระและให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการคบเพื่อน

4.พ่อ-แม่ หรือผู้ปกครองให้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในการเลือกเรียนในสาขาวิชาที่ข้าพเจ้าต้องการเรียน

5.เมื่อปรึกษาเกี่ยวกับการคบเพื่อนต่างเพศ พ่อ-แม่ หรือผู้ปกครองจะรับรู้และให้คำปรึกษา

6.เมื่อทำงานผิดพลาด มักจะได้รับคำชี้แนะและแนวคิดจาก พ่อ-แม่ หรือผู้ปกครอง

ความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อน

1.สามารถขอคำปรึกษาด้านการเรียนกับเพื่อนๆ ได้

2.ในการทำงานกลุ่ม มีความเต็มใจที่ปฏิบัติตามข้อตกลงของกลุ่ม

3.ถ้ามีเรื่องไม่สบายใจ สามารถปรับทุกข์กับเพื่อนๆ ได้

4.เต็มใจให้ความช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน กับเพื่อนๆ

5.พูดจาสุภาพกับเพื่อนๆ ถึงแม้จะมีอารมณ์หงุดหงิด

6.ผลัดกันเป็นผู้นำของกลุ่ม กับเพื่อนๆ เมื่อทำกิจกรรม

 

3.842

3.756

 

3.407

 

4.415

 

4.256

4.281

 

3.795

3.807

3.819

 

 

4.349

 

4.205

 

4.133

 

4.207

 

4.157

 

4.337

 

 

4.277

4.349

4.195

4.470

3.976

3.963

 

มาก

มาก

 

มาก

 

มาก

 

มาก

มาก

 

มาก

มาก

มาก

 

 

มาก

 

มาก

 

มาก

 

มาก

 

มาก

 

มาก

 

 

มาก

มาก

มาก

มาก

มาก

มาก

ตาราง 1 คะแนนเฉลี่ยในการปฏิบัติความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง (ต่อ)

ข้อความ

การปฏิบัติ

ค่าเฉลี่ย

แปลผล

เจตคติต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง

1.มีความเชื่อว่ากระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นสิ่งสำคัญ

2.การหาแหล่งความรู้ต่างๆ ด้วยตนเองจะทำให้ได้ความรู้ที่หลากหลาย

3.รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าเมื่อทำรายงานด้วยตนเองได้

4.การรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตน จะช่วยปลูกฝังให้เป็นผู้รับผิดชอบต่อเรื่องอื่นๆ ด้วย

5.การให้นักศึกษาเลือกวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง จะทำให้เรียนรู้ได้ดีขึ้น

6.รู้สึกเชื่อมั่นในตัวเองมากขึ้น เมื่อเป็นผู้วางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง

ความมีวินัยในตนเอง

ด้านความรับผิดชอบ

1.ทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถแม้ว่าจะไม่ถนัดหรือไม่เคยกระทำมาก่อน

2.สามารถจัดการเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายของตนเองได้

ด้านความเชื่อมั่นในตนเอง

3.เลือกเรียนรายวิชาต่างๆ ตามกลุ่มเพื่อนแม้จะรู้ว่าตนเองไม่ชอบก็ตาม

4.มีความมั่นใจในการกระทำสิ่งใดๆ ได้ตามลำพัง

ด้านความเป็นผู้นำ

5.ยินดีที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนๆ เพื่อหาข้อสรุปที่ดีที่สุด ในการตัดสินปัญหาต่างๆ โดยยึดประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง

6.การพูดให้กำลังใจแก่ผู้อื่น เมื่อเขาประสบปัญหาเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง ถึงแม้ตนเองก็ยังไม่สามารถจัดการแก้ไขปัญหาของตนเองให้ลุล่วงได้

ด้านความอดทน

7. ความขยันหมั่นเพียรเป็นคุณสมบัติที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับทุกคนที่หวังจะประสบความสำเร็จในชีวิต

8. การใช้เหตุผลในการแก้ปัญหาต่างๆ ไม่ใช้ทางออกที่ถูกต้องเสมอไป

ด้านความซื่อสัตย์

9.ไม่นำสิ่งของที่เป็นสาธารณะสมบัติมาครอบครองเป็นสมบัติส่วนตัว

10.ภูมิใจหากสามารถหลีกเลี่ยงจากการถูกลงโทษในความผิดที่ตัวเองได้เป็นผู้กระทำ

 

4.195

4.108

4.275

4.337

 

4.121

3.975

 

 

4.256

4.144

 

 

3.012

3.622

 

4.313

 

4.265

 

 

4.494

 

3.488

 

4.457

2.768

 

 

มาก

มาก

มาก

มาก

 

มาก

มาก

 

 

มาก

มาก

 

 

ปานกลาง

ปานกลาง

 

มาก

 

มาก

 

 

มาก

 

ปานกลาง

 

มาก

ปานกลาง

 

 

 

 

ตาราง 1 คะแนนเฉลี่ยในการปฏิบัติความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง (ต่อ)

ข้อความ

การปฏิบัติ

ค่าเฉลี่ย

แปลผล

แบบสอบถามวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์

1.ในการสอบถ้ายังไม่ได้คะแนนสูงสุด จะพยายามทำให้ได้

2.จะตั้งความหวังไว้สูงๆ เพื่อที่จะได้ใช้ความพยายามและความสามารถเต็มที่

3.ทุกครั้งที่ได้รับมอบหมายงานให้ทำ จะทำให้สำเร็จถึงแม้ว่าจะยากเพียงใดก็ตาม

4.จะยิ่งพยายามทำงานนั้นให้มากขึ้น เมื่องานนั้นเป็นงานที่ยาก

5.มีความพยายามมากขึ้น เมื่อรู้ตัวว่ามีความรู้ด้อยกว่างเพื่อนๆ

6.งานที่พอใจจะทำอย่างยิ่งคือ งานที่ได้ใช้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่

 

4.183

3.976

4.110

 

4.012

4.256

4.476

 

มาก

มาก

มาก

 

มาก

มาก

มาก

จากตาราง 1 พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีคะแนนเฉลี่ยในการปฏิบัติความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองอยู่ในระดับมากทุกด้าน

ตอนที่ 2 สรุปผลวิเคราะห์เส้นทางของตัวแปร

ตาราง 2 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

ตัวแปร

1

2

3

4

5

6

1.การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย

1.00

 

 

 

 

 

2.ความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อน

0.70

1.00

 

 

 

 

3.เจตคติต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง

0.62

0.85

1.00

 

 

 

4.ความมีวินัยในตัวเอง

0.81

0.84

0.91

1.00

 

 

5.แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์

0.68

0.70

0.76

0.84

1.00

 

6.ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง

0.45

0.63

0.74

0.67

0.75

1.00

 

จากตาราง 2 แสดงว่าตัวแปรทุกตัวมีความสัมพันธ์กันสูง ยกเว้น การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยกับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีความสัมพันธ์กันปานกลาง เท่ากับ 0.45

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางของโมเดล ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง

 

 

 

ตาราง 3 ค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางของโมเดลโครงสร้างตามสมมติฐาน

เส้นทาง

ค่าสัมประสิทธิ์เส้นทาง (Pij)

P65

P64

P63

P54

P41

P43

P31

P32

P21

0.64*

-0.57

0.77*

0.84*

0.41*

0.66*

0.05

0.81*

0.70*

 

จากตาราง 3 แสดงว่าสัมประสิทธิ์เส้นทาง ที่ได้จากการคำนวณโมเดลตามสมมติฐาน พบว่า Pij เกือบทุกค่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้น P64 และ P31 แสดงว่า ความมีวินัยในตนเองไม่มีอิทธิพลโดยตรงต่อ ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง แต่มีอิทธิพลโดยตรงต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ส่วน การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยไม่มีอิทธิพลต่อเจตคติต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง แต่มีอิทธิพลโดยตรงต่อความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อน และมีอิทธิพลโดยตรงต่อความมีวินัยในตนเอง

 

 

ตาราง 4  ผลการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางของตัวแปรเหตุที่มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อม ต่อความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง

ตัวแปรเหตุ

ผลทางตรง

Direct Effect

ผลทางอ้อม

Indirect Effect

ผลรวม

Total Effect

แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์

P65

(0.64)

-

0

0.64

ความมีวินัยในตนเอง

-

0

P54* P65

(0.84*0.64)   = 0.5376

0.5376

เจตคติต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง

P63

(0.77)

(P43* P54*P65)

( 0.66*0.84*0.64)  = .3548

1.1248

ความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อน

-

0

(P32* P63) + (P32*P43*P54*P65)

(0.81*0.77) + (0.81*0.66*0.84*0.64)

= 0.9111

0.9111

การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย

-

0

(P21*P32* P63) + (P21*P32*P43*P54*P65) + (P41*P54* P65)

(0.7*0.81*0.77) + (0.7*0.81*0.66*0.84*0.64)+ (0.41*0.84*0.64)    = 0.8582

0.8582

จากตาราง 4 เมื่อพิจารณาผลรวมแสดงว่าตัวแปรเหตุที่มีอิทธิพลต่อความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียงตามลำดับความสำคัญได้ดังนี้ (1) เจตคติต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง (2) ความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อน (3) การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย (4) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และ (5) ความมีวินัยในตนเอง โดยมีค่าอิทธิพลรวมเท่ากับ 1.1248 , 0.9111 , 0.8582 , 0.64 และ 0.5376 ตามลำดับ

                เจตคติต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีอิทธิพลสูงสุดต่อความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยมีอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.77 ส่วนอิทธิพลทางอ้อมผ่านความมีวินัยในตนเอง และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มีค่าเท่ากับ 0.3548

                แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์มีเฉพาะอิทธิพลทางตรงต่อความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองเท่ากับ 0.64 ส่วน ความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อน การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย และความมีวินัยในตนเองมีเฉพาะอิทธิพลทางอ้อม โดยมีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.9111 ,0.8582 และ 0.5376 ตามลำดับ

 

อภิปรายผล

จากผลการวิจัยพบว่าตัวแปรเหตุที่มีอิทธิพลต่อความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียงตามลำดับความสำคัญได้ดังนี้ (1) เจตคติต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง (2) ความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อน (3) การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย (4) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และ (5) ความมีวินัยในตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของพิสดี มินศิริ ที่ได้ทำวิจัยเรื่อง ปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลเครือข่ายภาคกลางในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข พบว่า เจตคติต่อวิชาชีพพยาบาล ลักษณะมุ่งอนาคต แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน และตัวแปรด้านสิ่งแวดล้อมทางการเรียน ได้แก่ บรรยากาศการเรียนการสอน ความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษากับเพื่อน มีความสัมพันธ์กับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนของนักศึกษา และพบว่าเจตคติต่อวิชาชีพพยาบาลมีความสัมพันธ์สูงที่สุดกับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง

 

กิตติกรรมประกาศ

                งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากทุนวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2556

 

บรรณานุกรม

เอมอร แก้มกล่ำศรี. 2550. “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการจัดการเรียนการ    สอนกับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน สายสามัญวิธีเรียนพบกลุ่มระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2548 ในจังหวัดชลบุรี.” วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พิสดี มินศิริ. 2547. “ปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลเครือข่ายภาคกลางในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มรุต ก้องวิริยะไพศาล. 2549. “การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อ      ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=588
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : การศึกษา การเรียนการสอน
ผลงานวิจัย » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการฯ
ในการเขียนบทความ ควรเริ่มจากการทำแผนที่บทความเพื่อแบ่งสัดส่วนของหัวข้อของบทความข้างต้นตามเกณฑ์วารสารที่กำหนดจะทำให้การเขียนง่ายขึ้น สามารถใช้ ChatGPT ช่วยในการเขียนตามหัวข้อที่กำหนดได้ง่ายขึ้น
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การศึกษา การเรียนการสอน
ผู้เขียน หนึ่งหทัย ชัยอาภร  วันที่เขียน 4/3/2567 10:46:23  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 16:48:53   เปิดอ่าน 119  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง