หลักจริยธรรมการวิจัย โดยให้ความสำคัญกับการได้มาซึ่งข้อมูลที่เป็นหน่วยวิเคราะห์ เช่น คน มนุษย์ สัตว์ ซึ่งการวิจัยในมนุษย์นั้น จะเน้นที่ The Belmont Report ส่วนนิยาม จรรยาบรรณ สำนักการวิจัยแห่งชาติ ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า จรรยาบรรณ หมายถึง หลักความประพฤติอันเหมาะสม แสดงถึงคุณธรรม และจริยธรรมในการประกอบอาชีพที่กลุ่มบุคคล และแต่ละสาขาวิชาชีพประมวลขึ้นไว้เป็นหลักเพื่อให้สมาชิกในวิชาชีพนั้น ๆ ยึดถือปฏิบัติ เพื่อรักษาชื่อเสียงและส่งเสริมเกียรติคุณของสาขาวิชาชีพของตน โดยจะเน้นและให้ความสำคัญกับตัวนักวิจัย ผู้เป็นนักวิชาการ สำหรับหลักจริยธรรมการวิจัยทั่วไป หรือThe Belmont Report ประกอบด้วย
- หลักการด้านพิทักษ์สิทธิและเคารพต่อบุคคล (Respect for person)
- หลักการที่เน้นคุณประโยชน์ เน้นความปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดอันตราย และเสียหายต่อบุคคล (Beneficence)
- หลักการที่เน้นความยุติธรรม (Justice)
ภูมิหลังของความสำคัญสำหรับการวิจัยในมนุษย์ เช่น รายงานเบลมองต์ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จัดให้มีพระราชบัญญัติวิจัยแห่งชาติ เมื่อพศ.2517 โดยจัดตั้งเพื่อคุ้มครองอาสาสมัคร สำหรับการวิจัยทางการแพทย์และพฤติกรรมศาสตร์ และหลักจริยธรรมสากลสำหรับการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ กฏนูเรมเบิร์ก ที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการทำวิจัยที่ถูกต้อง ถูกหลักในทางจริยธรรม เน้นการยินยอม ต้องตระหนักถึงสิทธิของบุคคลที่เป็นผู้ร่วมวิจัย เด็ก ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ผู้หมดสติ ผู้มีสติฟั่นเฟือน ผู้สูงอายุ ฯลฯ ถัดมาก็มีการระบุขยายความครอบคลุมถึง ผู้ให้ทุน กรรมการวิจัย ทีมงานวิจัย สถาบันวิจัย ผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งที่เป็นอาสาสมัครโครงการวิจัย เจ้าหน้าต่างๆ ต้องรับทราบและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เรื่องการละเมิดสิทธิ และความถูกต้องของหลักการวิจัย ระเบียบวิธีการวิจัย
และสิ่งที่วงการวิชาการต้องตระหนัก และคำนึงถึงกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ จะให้ความสำคัญอย่างมากคือ วารสารทุกฉบับ ต้นฉบับต้องถูกต้อง ทำเอง ทั้งความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การออกแบบ (Originality) ควรเป็นผลงานวิจัยที่ใหม่ ได้ข้อค้นพบใหม่ ความแปลกใหม่ (Novelty) สามารถทำซ้ำในผลวิจัย (Reproducibility) ที่เน้นการวัด ทวนสอบหลายครั้ง และสิ่งที่เป็นการละเมิดจริยธรรมงานวิชาการและงานวิจัย ได้แก่ การสร้างข้อมูลโดยมิได้เกิดขึ้นจริง (Fabrication) การดัดแปลง ตัดต่อ ปกปิด เสริมต่อ บิดเบือนข้อมูลเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจผิด (Falsification) การคัดลอก หรือลอกเลียนผลงานของผู้อื่นโดยมิชอบ (Plagiarism) หรือการเป็นหรือไม่เป็นผู้นิพนธ์โดยไม่เหมาะสม (Misconduct in Authorship) ทั้งนี้วิทยากรได้บรรยายถึง จรรยาบรรณของนักวิจัย ที่สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้วางหลักไว้ 9 ประการ ได้แก่
- นักวิจัยต้องซื่อสัตย์ และมีคุณธรรมในทางวิชาการ และการจัดการ
- นักวิจัยต้องตระหนักถึงพันธกรณีในการทำวิจัย
- นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาที่ทำ
- นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัย
- นักวิจัยต้องเคารพในศักดิ์ศรีของมนุษย์ที่ใช้เป็นตัวอย่างในการวิจัย
- นักวิจัยต้องมีอิสระทางความติดปราศจากอคติในทุกขั้นตอนของการวิจัย
- นักวิจัยต้องนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบ
- นักวิจัยพึงเคารพความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อื่น
- นักวิจัยพึงมีความรับผิดชอบต่อสังคมทุกระดับ