การเรียนรู้สู่อนาคต : ทางเลือกที่หลากหลาย
วันที่เขียน 2/9/2558 15:44:43     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/4/2567 10:27:52
เปิดอ่าน: 3634 ครั้ง

เป้าหมายของการเรียนรู้สู่อนาคต คือ การมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาผู้เรียนให้ดีขึ้นใน 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ ด้านการเรียนรู้และการคิด มีทักษะเท่าทันชีวิตและโลกของงานและการเป็นคนดีมีคุณธรรม

การเรียนรู้สู่อนาคต : ทางเลือกที่หลากหลาย โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อนุวัฒน์ จางวนิชเลิศ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง รองศาสตราจารย์ ดร.สุกรี เจริญสุข คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นเรฎฐ์ พันธราธร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยรังสิต และรองศาสตราจารย์ศศินันท์ เศรษฐวัฒน์บดี รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ซึ่งทั้งห้าท่านได้สนทนา ถึงพฤติกรรมของเด็กในยุค Gen Y & Gen Z การเรียนการสอนแบบ Active Learning เป็นอย่างไร และเป้าหมายของการเรียนรู้สู่อนาคต คือ การมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาผู้เรียนให้ดีขึ้นใน 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ ด้านการเรียนรู้และการคิด มีทักษะเท่าทันชีวิตและโลกของงานและการเป็นคนดีมีคุณธรรม และเป็นการจัดการศึกษาที่ตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศ มุ่งสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพระดับสากล ทั้งนี้ต้องมีการพัฒนาทักษะทางปัญญา ให้มีความสามารถในการคิดเชิงวิพากษ์ และการคิดเชิงสร้างสรรค์ สามารถสื่อสารด้วยการเขียนและการพูด มีความรับผิดชอบส่วนตัวและสังคม ได้แก่ มีความรู้และการมีส่วนร่วมในฐานะพลเมือง ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับโลก

การประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน 

          สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนได้เพื่อพัฒนาและช่วยให้ผู้เรียนดีขึ้นใน 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ ด้านการเรียนรู้และการคิด มีทักษะเท่าทันชีวิตและโลกของงานและเป็นคนดีมีคุณธรรม

การประยุกต์ใช้กับการวิจัย

          สามารถนำความรู้ที่ได้ ไปใช้ประโยชน์ในการด้านการวิจัยในชั้นเรียนได้ เพราะทำให้เห็นมุมมองและแนวทางที่หลากหลายในภาพของงานวิจัยมากขึ้น รวมทั้งเทคนิคการใช้สถิติ และระเบียบวิธีการใหม่ๆ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้ดีขึ้น

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=403
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : การศึกษา การเรียนการสอน
ผลงานวิจัย » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการฯ
ในการเขียนบทความ ควรเริ่มจากการทำแผนที่บทความเพื่อแบ่งสัดส่วนของหัวข้อของบทความข้างต้นตามเกณฑ์วารสารที่กำหนดจะทำให้การเขียนง่ายขึ้น สามารถใช้ ChatGPT ช่วยในการเขียนตามหัวข้อที่กำหนดได้ง่ายขึ้น
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การศึกษา การเรียนการสอน
ผู้เขียน หนึ่งหทัย ชัยอาภร  วันที่เขียน 4/3/2567 10:46:23  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 16:48:53   เปิดอ่าน 119  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง