เขียนหนังสืออย่างไร ไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์
วันที่เขียน 2/12/2562 13:34:25     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 17/9/2567 20:10:08
เปิดอ่าน: 4393 ครั้ง

ในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการบางครั้งอาจมีการใช้เงื่อนไขการเขียนเอกสารตำรา หรือหนังสือ และงานวิจัย ซึ่งการเขียนหนังสือหรือตำราเป็นงานที่เขียนที่ค่อนข้างยาก เนื่องจากอาจมีความซ้ำซ้อนกับงานอื่นๆ หรือซ้ำซ้อนกับงานเขียนของตัวเอง ดังนั้นสิ่งที่ควรระวังในการทำหนังสือ การเขียนตำรา การทำเอกสารประกอบการสอน อาจแบ่งเป็น 6 ประเด็น คือ 1) การคัดลอกรูป 2) การวาดรูปขึ้นมาใหม่ แต่ก็เหมือนกับรูปเดิม 3) วาดรูปขึ้นมาเองแต่มีการปรับปรุงไปจากเอกสารอ้างอิง 4) การวาดรูปขึ้นใหม่เอง 5) การคัดลอกตาราง และ 6) การใช้เนื้อหามาแปล

ในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการบางครั้งอาจมีการใช้เงื่อนไขการเขียนเอกสารตำรา หรือหนังสือ และงานวิจัย ซึ่งการเขียนหนังสือหรือตำราเป็นงานที่เขียนที่ค่อนข้างยาก เนื่องจากอาจมีความซ้ำซ้อนกับงานอื่นๆ หรือซ้ำซ้อนกับงานเขียนของตัวเอง ดังนั้นสิ่งที่ควรระวังในการทำหนังสือ การเขียนตำรา การทำเอกสารประกอบการสอน อาจแบ่งเป็น 6 ประเด็น คือ 1) การคัดลอกรูป 2) การวาดรูปขึ้นมาใหม่ แต่ก็เหมือนกับรูปเดิม 3) วาดรูปขึ้นมาเองแต่มีการปรับปรุงไปจากเอกสารอ้างอิง 4) การวาดรูปขึ้นใหม่เอง 5) การคัดลอกตาราง และ 6) การใช้เนื้อหามาแปล ซึ่งเมื่อมีการเผยแพร่เอกสาร งานวิจัย ต้องมีการให้สิทธิ์กับเจ้าของวารสารนั้นๆ หรือเป็นการให้ Copyright Transfer ไปแล้ว เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น จึงสรุปเป็นกรณีดังนี้

          กรณีที่ต้องอ้างอิงและขอลิขสิทธิ์ในการมาใช้ทำเอกสาร มีดังนี้

  • การคัดลอกรูปจากวารสาร และเป็นงานของตนเอง
  • การวาดรูปขึ้นมาใหม่ แต่ก็เหมือนกับรูปเก่าที่มาจากวารสาร และเป็นงานของตนเอง
  • รูปถ่ายที่ถ่ายเอง เคยลงพิมพ์ไปแล้วและเป็นงานของตนเอง
  • เป็นตารางของงานตนเอง จากการทดลองของตนเอง และได้ลงพิมพ์ไปแล้ว
  • แผนภาพหรือประโยคของตนเอง จากการทดลองของตนเอง และได้ลงพิมพ์ไปแล้ว

กรณีที่ไม่ต้องอ้างอิง และไม่ต้องขอลิขสิทธิ์

  • รูปถ่ายที่ถ่ายเอง และยังไม่เคยลงตีพิมพ์ / รูปที่วาดเองจากโปรแกรมต่าง ๆ
  • แผนภาพของตนเองที่ใช้อธิบายในงาน หรือการทดลองของตัวเอง

     กรณีที่ต้องอ้างอิง แต่ควรระวังเรื่องลิขสิทธิ์

คือ มีการดัดแปลงรูป ดัดแปลงตาราง โดยมีการวาดเพิ่มเติมหรือแปลเพิ่มเติม

ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดความซ้ำซ้อนของงานและเพื่อให้งานเขียนถูกต้องตามลิขสิทธิ์ หากจะต้องใช้รูป แผนภาพ หรือตารางต่างๆ ก็ควรที่จะทำให้ถูกต้องโดยการเขียนเองทั้งหมด หรือหากไม่สามารถเขียนหรือทำเองได้ก็ควรทำการขอลิขสิทธิ์งานนั้นๆ อย่างถูกต้อง ซึ่งส่วนใหญ่ต้องขอจากสำนักพิมพ์ หรืออาจจะขอจากเจ้าของงานนั้นๆ หากสำนักพิมพ์ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ และควรจะอ่านรายละเอียดในการ Copyright Transfer เพราะบางครั้งอาจจะสามารถใช้ข้อมูลนั้นได้เลยโดยไม่ต้องขอลิขสิทธิ์อีก

 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1081
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : การศึกษา การเรียนการสอน
การอบรมและสัมมนา » link smart home cabling system technology for the future
เนื้อหาการอบรม link smart home cabling system technology for the future จะเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับความหมายของเครือข่ายและข่ายสายสัญญาณ รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Topology) องค์ประกอบพื้น...
เครือข่ายและข่ายสายสัญญาณ  ช่องทางการติดต่อสื่อสารในระบบโทรคมนาคม  ประเภทของสายสัญญาณและ connector  รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  เส้นใยนำแสง  องค์ประกอบพื้นฐานในการสื่อสารข้อมูล     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การศึกษา การเรียนการสอน
ผู้เขียน ภานุวัฒน์ เมฆะ  วันที่เขียน 10/7/2567 9:56:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 17/9/2567 15:17:59   เปิดอ่าน 190  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผลงานวิจัย » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการฯ
ในการเขียนบทความ ควรเริ่มจากการทำแผนที่บทความเพื่อแบ่งสัดส่วนของหัวข้อของบทความข้างต้นตามเกณฑ์วารสารที่กำหนดจะทำให้การเขียนง่ายขึ้น สามารถใช้ ChatGPT ช่วยในการเขียนตามหัวข้อที่กำหนดได้ง่ายขึ้น
  บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การศึกษา การเรียนการสอน
ผู้เขียน หนึ่งหทัย ชัยอาภร  วันที่เขียน 4/3/2567 10:46:23  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 17/9/2567 16:13:22   เปิดอ่าน 462  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง