การเข้าร่วมโครงการ “หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2560 (หลักเกณฑ์ใหม่)
วันที่เขียน 24/8/2561 15:00:31     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/5/2567 8:12:47
เปิดอ่าน: 1928 ครั้ง

การเข้าร่วมโครงการ “หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2560 (หลักเกณฑ์ใหม่) ในวันที่ 6 กรกฎาคม 2561 ทำให้คณาจารย์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่มีความสนใจจะขอกำหนดตำแหน่งวิชาการมีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2560 (หลักเกณฑ์ใหม่)

การเข้าร่วมโครงการหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2560 (หลักเกณฑ์ใหม่) ในวันที่ 6 กรกฎาคม 2561 ทำให้คณาจารย์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่มีความสนใจจะขอกำหนดตำแหน่งวิชาการมีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2560 (หลักเกณฑ์ใหม่) โดยหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ หลักเกณฑ์ใหม่มีการเปิดโอกาสให้อาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก มีโอกาสขอกำหนดสู่ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ได้เร็วขึ้นกว่าหลักเกณฑ์เดิม คือ ปฏิบัติราชการมาแล้ว 1 ปี และพ้นระยะทดลองการปฏิบัติงานที่กำหนดโดยมหาวิทยาลัย แทนเกณฑ์เดิมที่กำหนดให้ต้องปฏิบัติราชการมาแล้ว 2 ปี นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ในชั่วโมงสอน จากเดิมที่มีหลักเกณฑ์ว่า ให้สอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่งที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยของมหาวิทยาลัย แต่ในหลักเกณฑ์ใหม่ ได้มีการกำหนดจำนวนหน่วยกิตอย่างชัดเจน คือ เทียบค่าได้ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต ในระบบทวิภาค นอกจากนี้ต้องมีการเสนอเอกสารประกอบการสอนที่มีคุณภาพดี มีการอ้างอิง และได้ใช้ประกอบการสอนมาแล้ว ซึ่งหลักเกณฑ์ของเอกสารประกอบการสอนให้ขึ้นอยู่กับทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นผู้กำหนด

ในส่วนของผลงานวิจัยสำหรับการกำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทางสายวิทยาศาสตร์นั้น ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการยื่นจำนวนชิ้นผลงานวิจัยที่ชัดเจน โดยได้กำหนดให้ต้องยื่นผลงานวิจัย จำนวน 2 เรื่อง แทนหลักเกณฑ์เดิมที่ได้กำหนดผลงานอย่างน้อย 1 เรื่อง ซึ่งได้มีการแจ้งว่าเป็นการแก้ปัญหาให้แก่ผู้ประเมินซึ่งมีแนวคิดที่แตกต่างกันว่าการให้ผ่านของการขอกำหนดตำแหน่งวิชาการนั้นจำนวนชิ้นของผลงานวิจัยเพียงพอหรือไม่ นอกจากนี้ผลงานวิจัยนั้นผู้ที่กำหนดตำแหน่งวิชาการต้องเป็นผู้วิจัยหลัก หมายถึงต้องมีสัดส่วนผลงานวิจัยไม่น้อยกว่า 50% ในผลงานวิจัยแต่ละเรื่อง และในกรณีที่ต้องการรวบรวมสัดส่วนของผลงานวิจัยแต่ละชิ้นที่มีสัดส่วนไม่ถึง 50% ผลงานวิจัยนั้นๆ จะต้องมีลักษณะเป็นชุดโครงการที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในผลงานแต่ละเรื่องจึงจะสามารถใช้รวมสัดส่วนของผลงานวิจัยได้ และผลงานวิจัยจะต้องได้รับการตีพิมพ์ในวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลที่ สกอ. ยอมรับ สามารถตีพิมพ์ในฐานข้อมูล TCI (Thai-Journal Citation Index Centre) ได้ ผลงานวิจัยที่ยื่นเพื่อขอกำหนดตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ต้องเป็นผลงานวิจัยที่มีคุณภาพดี นอกจากนี้ยังมีวิธีการอื่น นอกจากการยื่นด้วยผลงานวิจัย 2 เรื่อง คือ อาจใช้ผลงานวิจัย 1 เรื่อง ที่เป็นผู้วิจัยหลักและเป็นผลงานวิจัยมีคุณภาพดีและผลงานวิชาการในลักษณะอื่น 1 รายการ หรือผลงานวิจัย 1 เรื่อง และผลงานวิชาการรับใช้สังคม 1 เรื่อง หรือผลงานวิจัย 1 เรื่อง และตำราหรือหนังสือ 1 เล่ม ที่มีคุณภาพดี โดยหลักเกณฑ์ใหม่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไป


คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=833
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
Data Science คืออะไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร » Data Science คืออะไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร
Data Science หรือ วิทยาการข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ โดยครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บข้อมูล (Collect) การจัดการข้อมูล (Manage) การวิเคราะห์ข้อมูล (Analyze) ไปจนถึงขั้นตอนการนำข้อมูลมาช...
Data Science  วิทยาการข้อมูล     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ธวัชชัย เพชรธาราทิพย์  วันที่เขียน 24/4/2567 13:27:01  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/5/2567 8:59:07   เปิดอ่าน 25  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 ในวันที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 08.00 - 17.00 น. ณ ห้องเอกภพวิทยา ชั้น G อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดย...
ChatGPT  การประชุมวิชาการ  เทคโนโลยี  วิทยาศาสตร์  สิ่งแวดล้อม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 11/4/2567 15:19:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/5/2567 21:29:20   เปิดอ่าน 42  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม สัมมนาหรือประชุมวิชาการ » รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิริพร สมุทรวชิรวงษ์  วันที่เขียน 2/4/2567 16:14:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/5/2567 8:58:35   เปิดอ่าน 67  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง