Blog : การเข้าร่วมประชุมวิชาการ
รหัสอ้างอิง : 1002
ชื่อสมาชิก : ปารวี กาญจนประโชติ
เพศ : หญิง
อีเมล์ : parawee@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 29/3/2555 5:18:19
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 29/3/2555 5:18:19

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : การเข้าร่วมประชุมวิชาการ
การเข้าร่วมโครงการ “หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2560 (หลักเกณฑ์ใหม่) ในวันที่ 6 กรกฎาคม 2561 ทำให้คณาจารย์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่มีความสนใจจะขอกำหนดตำแหน่งวิชาการมีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2560 (หลักเกณฑ์ใหม่) โดยหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ หลักเกณฑ์ใหม่มีการเปิดโอกาสให้อาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก มีโอกาสขอกำหนดสู่ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ได้เร็วขึ้นกว่าหลักเกณฑ์เดิม คือ ปฏิบัติราชการมาแล้ว 1 ปี และพ้นระยะทดลองการปฏิบัติงานที่กำหนดโดยมหาวิทยาลัย แทนเกณฑ์เดิมที่กำหนดให้ต้องปฏิบัติราชการมาแล้ว 2 ปี นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ในชั่วโมงสอน จากเดิมที่มีหลักเกณฑ์ว่า ให้สอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่งที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยของมหาวิทยาลัย แต่ในหลักเกณฑ์ใหม่ ได้มีการกำหนดจำนวนหน่วยกิตอย่างชัดเจน คือ เทียบค่าได้ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต ในระบบทวิภาค นอกจากนี้ต้องมีการเสนอเอกสารประกอบการสอนที่มีคุณภาพดี มีการอ้างอิง และได้ใช้ประกอบการสอนมาแล้ว ซึ่งหลักเกณฑ์ของเอกสารประกอบการสอนให้ขึ้นอยู่กับทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นผู้กำหนด ในส่วนของผลงานวิจัยสำหรับการกำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทางสายวิทยาศาสตร์นั้น ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการยื่นจำนวนชิ้นผลงานวิจัยที่ชัดเจน โดยได้กำหนดให้ต้องยื่นผลงานวิจัย จำนวน 2 เรื่อง แทนหลักเกณฑ์เดิมที่ได้กำหนดผลงานอย่างน้อย 1 เรื่อง ซึ่งได้มีการแจ้งว่าเป็นการแก้ปัญหาให้แก่ผู้ประเมินซึ่งมีแนวคิดที่แตกต่างกันว่าการให้ผ่านของการขอกำหนดตำแหน่งวิชาการนั้นจำนวนชิ้นของผลงานวิจัยเพียงพอหรือไม่ นอกจากนี้ผลงานวิจัยนั้นผู้ที่กำหนดตำแหน่งวิชาการต้องเป็นผู้วิจัยหลัก หมายถึงต้องมีสัดส่วนผลงานวิจัยไม่น้อยกว่า 50% ในผลงานวิจัยแต่ละเรื่อง และในกรณีที่ต้องการรวบรวมสัดส่วนของผลงานวิจัยแต่ละชิ้นที่มีสัดส่วนไม่ถึง 50% ผลงานวิจัยนั้นๆ จะต้องมีลักษณะเป็นชุดโครงการที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในผลงานแต่ละเรื่องจึงจะสามารถใช้รวมสัดส่วนของผลงานวิจัยได้ และผลงานวิจัยจะต้องได้รับการตีพิมพ์ในวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลที่ สกอ. ยอมรับ สามารถตีพิมพ์ในฐานข้อมูล TCI (Thai-Journal Citation Index Centre) ได้ ผลงานวิจัยที่ยื่นเพื่อขอกำหนดตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ต้องเป็นผลงานวิจัยที่มีคุณภาพดี นอกจากนี้ยังมีวิธีการอื่น นอกจากการยื่นด้วยผลงานวิจัย 2 เรื่อง คือ อาจใช้ผลงานวิจัย 1 เรื่อง ที่เป็นผู้วิจัยหลักและเป็นผลงานวิจัยมีคุณภาพดีและผลงานวิชาการในลักษณะอื่น 1 รายการ หรือผลงานวิจัย 1 เรื่อง และผลงานวิชาการรับใช้สังคม 1 เรื่อง หรือผลงานวิจัย 1 เรื่อง และตำราหรือหนังสือ 1 เล่ม ที่มีคุณภาพดี โดยหลักเกณฑ์ใหม่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไป
การเข้าร่วมประชุมวิชาการ » การเข้าร่วมโครงการ “หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2560 (หลักเกณฑ์ใหม่)
การเข้าร่วมโครงการ “หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2560 (หลักเกณฑ์ใหม่) ในวันที่ 6 กรกฎาคม 2561 ทำให้คณาจารย์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่มีความสนใจจะขอกำหนดตำแหน่งวิชาการมีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2560 (หลักเกณฑ์ใหม่)
คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1927  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ปารวี กาญจนประโชติ  วันที่เขียน 24/8/2561 15:00:31  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/5/2567 2:35:07

URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้