การเข้าร่วมงานประชุมประจำปี 2559 สวทช.ภาคเหนือ
วันที่เขียน 9/3/2559 15:48:18     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/5/2567 22:25:55
เปิดอ่าน: 1327 ครั้ง

การเข้าร่วมการประชุมประจำปี 2559 ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.ภาคเหนือ) ในครั้งนี้ในภาคเช้าได้ฟังการบรรยายพิเศษ เรื่องการยกระดับสังคมวิทยาศาสตร์ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคเหนือ โดย ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. โดยได้บรรยายถึงทิศทางของผู้นำประเทศทางด้านเศรษฐกิจ ในแง่ความร่วมมือของรัฐและเอกชน และบรรยายถึง 5+5 อุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยมีการต่อยอด 5 อุตสาหกรรมเดิม+ เติม 5 อุตสาหกรรมใหม่ โดยการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ที่มีรากฐานสืบเนื่องมาจากการต่อยอดอุตสาหกรรมในปัจจุบัน คือ 1. อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ 2. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 3. อุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 4. การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ 5. อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร และเติมอุตสาหกรรมใหม่ คือ 1. หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม 2. อุตสาหกรรมการขนส่งและการบิน 3. อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร 4. เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ 5. อุตสาหกรรมดิจิตอล และยังได้บรรยายถึงการส่งเสริมโครงการ SMEs โดยทาง สวทช. ได้ใช้โปรแกรม ITAP ช่วยผู้ประกอบการธุรกิจ และได้มีการนำเสนอผลงานของ ITAP อีกด้วย นอกจากนี้ยังได้ชมการแสดงบูทผลงานวิจัยที่ได้รับทุนจากสวทช.ภาคเหลือ ภาคบ่าย ได้เข้าร่วมฟังการบรรยายในส่วนของ “การปลูกข้าวหรือพืชทางเลือกภายใต้วิกฤตน้ำแล้ง” โดยมีการบรรยายเทคโนโลยีและแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าวหรือพืชชนิดอื่นภายติวิกฤตน้ำแล้ง ในหัวข้อต่างๆ ดังนี้ 1. พืชทางเลือกจากงานวิจัย สวทช สำหรับวิกฤตน้ำแล้ง 2. วิกฤตน้ำแล้งกับการเกษตรและพืชทางเลือก 3. ระบบปลูกข้าวใช้น้ำน้อยแบบเปียกสลับแห้ง 4. เทคนิคการจัดการพื้นที่เพาะปลูก ภายใต้สภาวะน้ำน้อย โดยสามารถสรุปเนื้อหาได้ว่า ปัจจุบันประเทศไทยได้ประสบปัญหากับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เกิดภัยแล้ง ภัยธรรมชาติขึ้นหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในช่วงเดือนมีนาคม เมษายน ภัยแล้งได้ส่งผลกระทบกับการปลูกข้าวและพืชไร่เป็นอย่างมาก เกษตรกรควรมีการเตรียมตัว จัดการและปรับตัวให้อยู่รอดกับภาวะภัยแล้ง โดยหาพืชทางเลือกที่ใช้น้ำน้อยทดแทนการปลูกข้าวนาปรัง เพื่อเป็นการเสริมรายได้ ซึ่งปัจจุบัน ทาง สวทช. ได้มีพืชที่พัฒนาจากการวิจัย เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะปลูกในช่วงภาวะแล้ง เช่น การผลิตพันธุ์มะเขือเทศ พันธุ์พริก ซึ่งได้พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น นอกจากนี้ทาง สวทช ยังได้เน้นถั่วเขียวสายพันธุ์ใหม่ KUML No.30 ซึ่งใช้น้ำน้อยในการเพาะปลูก เพียง 1 ใน 3 เท่าของการปลูกข้าว ให้ผลผลิตสูง ประมาณ 250 กิโลกรัมต่อไร่ มีความทนทานต่อโรค และใช้เวลาในการเพาะปลูกสั้นเพียง 65-70 วัน ซึ่งสามารถนำมาเป็นพืชทางเลือกสำหรับช่วงภาวะแล้งได้ นอกจากนี้ยังเป็นการบำรุงดิน สามารถปลูกเป็นพืชหมุนเวียนได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังได้ฟังการบรรยายเทคนิคการปลูกข้าวใช้น้ำน้อย เป็นการปลูกข้าวแบบประหยัดน้ำ แบบเปียกสลับแห้ง โดยปลูกข้าวและปล่อยน้ำเข้านาในช่วงที่ข้าวเจริญเติบโตในขั้น vegetative growth หลังจากนั้นทำการฝังท่อพลาสติกเจาะรูในดิน 15 เซนติเมตร ให้ท่อโผล่พ้นเหนือดิน 5 เซนติเมตร ทำการวัดระดับน้ำในท่อพลาสติก โดยไม่ต้องมีการปล่อยน้ำเข้านา เมื่อน้ำในท่อลดลงต่ำกว่าจุดวิกฤตให้เติมน้ำเข้านา ซึ่งเป็นการประหยัดน้ำ และเป็นผลดีต่อสรีรวิทยาของต้นข้าว และแร่ธาตุในดิน โดยเฉพาะไนโตรเจน ซึ่งเกษตรกรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ การนำไปใช้ประโยชน์ สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ไปเป็นแนวทางในการบูรณาการในการสร้างสรรค์งานวิจัยและการเรียนการสอนวิชาทางกลุ่มพืชต่อไป

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=471
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
Data Science คืออะไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร » Data Science คืออะไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร
Data Science หรือ วิทยาการข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ โดยครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บข้อมูล (Collect) การจัดการข้อมูล (Manage) การวิเคราะห์ข้อมูล (Analyze) ไปจนถึงขั้นตอนการนำข้อมูลมาช...
Data Science  วิทยาการข้อมูล     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ธวัชชัย เพชรธาราทิพย์  วันที่เขียน 24/4/2567 13:27:01  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/5/2567 8:59:07   เปิดอ่าน 25  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 ในวันที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 08.00 - 17.00 น. ณ ห้องเอกภพวิทยา ชั้น G อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดย...
ChatGPT  การประชุมวิชาการ  เทคโนโลยี  วิทยาศาสตร์  สิ่งแวดล้อม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 11/4/2567 15:19:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/5/2567 21:29:20   เปิดอ่าน 42  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม สัมมนาหรือประชุมวิชาการ » รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิริพร สมุทรวชิรวงษ์  วันที่เขียน 2/4/2567 16:14:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/5/2567 8:58:35   เปิดอ่าน 67  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง