Blog : รายงานประชุมวิชาการ
รหัสอ้างอิง : 1002
ชื่อสมาชิก : ปารวี กาญจนประโชติ
เพศ : หญิง
อีเมล์ : parawee@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 29/3/2555 5:18:19
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 29/3/2555 5:18:19

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : รายงานประชุมวิชาการ
การเข้าร่วมการประชุมวิชาการ ประจำปี 2559 ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.ภาคเหนือ) ในครั้งนี้ได้ฟังการนำเสนอโครงการวิจัย เรื่อง อาหารผสมครบส่วนจากเปลือกข้าวโพดเพื่อการเลี้ยงโคเนื้อ และ การเสริมซังข้าวโพดปรับสภาพเพื่อลดต้นทุนอาหารไก่พื้นเมือง โดย ดร.มนตรี ปัญญาทอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยได้มีการใช้เปลือกข้าวโพดที่เป็นวัสดุเหลือทิ้งเป็นองค์ประกอบสำหรับการเลี้ยงโคขุน และเป็นอาหารไก่พื้นเมือง ในจังหวัดพะเยา เป็นการช่วยลดต้นทุนค่าอาหารและเป็นทางเลือกในช่วงที่อาหารขาดแคลน เรื่อง ผลิตภัณฑ์กัมมี่เยลลี่ผักเชียงดาเพื่อสุขภาพ โดย ดร.ภัทราภรณ์ ศรีสมรรถการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ในผักเชียงดาเป็นพืชสมุนไพรที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ที่สามารถยับยั้งการดูดซึม ลดน้ำตาล ลดการแตกตัวของเม็ดเลือดแดง นอกจากทานใบสดแล้วยังสามารถนำมาแปรรูปผลิตภัณฑ์ได้หลายอย่าง เช่น เครื่องดื่มผักเชียงดาสกัด ผักเชียงดาสกัดแคปซูล เป็นต้น จึงคิดค้นพัฒนาผลิตภัณฑ์กัมมี่เยลลี่ที่สามารถรับประทานได้ง่ายทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เรื่อง วัสดุปลูกจากซังข้าวโพดทดแทนกาบมะพร้าวเพื่อการปลูกพืชไร้ดิน โดย รองศาสตราจารย์ ดร.โชค โสรัจกุล มหาวิทยาลัยพะเยา โดยทั่วไปการปลูกพืชไร้ดินจะใช้กาบมะพร้าวสับเป็นวัสดุปลูก ในอำเภอปง จังหวัดพะเยา มีพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อยู่เป็นจำนวนมาก จึงได้มีแนวคิดในการประยุกต์ใช้เศษเหลือจากการปลูกข้าวโพดมาเป็นวัสดุปลูกสำหรับการผลิตผักเศรษฐกิจแก่เกษตรกร โดยได้มีการทดลองใช้ส่วนต่างๆ ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เช่น เปลือกฝัก ซังข้าวโพด และต้นแห้ง มาพัฒนาเป็นวัสดุปลูกพริกหวานเปรียบเทียบกับการใช้กาบมะพร้าว ใช้ระบบการให้ปุ๋ยเป็นแบบสารละลายธาตุอาหารพืช จากการทดลองพบว่าสามารถใช้ซังข้าวโพดและต้นแห้งของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มาเป็นวัสดุปลูกทดแทนการใช้กาบมะพร้าวได้ เรื่อง ปุ๋ยอินทรีย์น้ำเข้มข้นจากมูลหนอนไหมอีรี่ ผู้วิจัย ดร.ชัยอาทิตย์ อิ่นคำ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำเสนอโดย คุณเจิมขวัญ ศรีสวัสดิ์ ในกระบวนการเลี้ยงไหมอีรี่จะพบมูลปริมาณมาก โดยเกษตรกรบางท่านได้นำมูลของหนอนไหมอีรี่มาตากแห้ง และนำไปใช้เป็นปุ๋ยให้กับต้นลำไยพบว่า ลำไยมีการเจริญเติบโตที่ดี ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำจากมูลหนอนไหม เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงไหมอีรี่อีกทางหนึ่ง และเนื่องด้วยไหมอีรี่เป็นสัตว์กินพืชที่กินอาหารเพียง 2 ชนิด คือ ใบละหุ่ง และใบมันสำปะหลัง ทำให้มูลไหมอีรี่มีธาตุอาหารที่คงที่ แตกต่างจากมูลสัตว์ชนิดอื่นๆ ที่กินอาหารหลายชนิด และพบว่าในมูลไหมอีรี่มีปริมาณธาตุไนโตรเจนที่สูงถึง 5.81 กรัม/100 กรัม จึงเหมาะแก่การนำมาพัฒนาเป็นปุ๋ยน้ำอินทรีย์ ซื่งเมื่อพัฒนาได้เป็นผลิตภัณฑ์ปุ๋ยน้ำแล้วมูลไหมอีรี่มีปริมาณธาตุไนโตรเจน 0.16% ซึ่งสูงกว่ามูลค้างคาว และมูลไส้เดือนดิน ด้วยปริมาณธาตุไนโตรเจนที่สูง จึงเหมาะในการใช้ปุ๋ยน้ำอินทรีย์นี้สำหรับการปลูกผักใบ เช่น ผักกาดหอม ผักกาดแก้ว
รายงานประชุมวิชาการ » การเข้าร่วมงานประชุมประจำปี 2559 สวทช.ภาคเหนือ
การเข้าร่วมการประชุมประจำปี 2559 ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.ภาคเหนือ) ในครั้งนี้ในภาคเช้าได้ฟังการบรรยายพิเศษ เรื่องการยกระดับสังคมวิทยาศาสตร์ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคเหนือ โดย ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. โดยได้บรรยายถึงทิศทางของผู้นำประเทศทางด้านเศรษฐกิจ ในแง่ความร่วมมือของรัฐและเอกชน และบรรยายถึง 5+5 อุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยมีการต่อยอด 5 อุตสาหกรรมเดิม+ เติม 5 อุตสาหกรรมใหม่ โดยการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ที่มีรากฐานสืบเนื่องมาจากการต่อยอดอุตสาหกรรมในปัจจุบัน คือ 1. อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ 2. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 3. อุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 4. การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ 5. อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร และเติมอุตสาหกรรมใหม่ คือ 1. หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม 2. อุตสาหกรรมการขนส่งและการบิน 3. อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร 4. เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ 5. อุตสาหกรรมดิจิตอล และยังได้บรรยายถึงการส่งเสริมโครงการ SMEs โดยทาง สวทช. ได้ใช้โปรแกรม ITAP ช่วยผู้ประกอบการธุรกิจ และได้มีการนำเสนอผลงานของ ITAP อีกด้วย นอกจากนี้ยังได้ชมการแสดงบูทผลงานวิจัยที่ได้รับทุนจากสวทช.ภาคเหลือ ภาคบ่าย ได้เข้าร่วมฟังการบรรยายในส่วนของ “การปลูกข้าวหรือพืชทางเลือกภายใต้วิกฤตน้ำแล้ง” โดยมีการบรรยายเทคโนโลยีและแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าวหรือพืชชนิดอื่นภายติวิกฤตน้ำแล้ง ในหัวข้อต่างๆ ดังนี้ 1. พืชทางเลือกจากงานวิจัย สวทช สำหรับวิกฤตน้ำแล้ง 2. วิกฤตน้ำแล้งกับการเกษตรและพืชทางเลือก 3. ระบบปลูกข้าวใช้น้ำน้อยแบบเปียกสลับแห้ง 4. เทคนิคการจัดการพื้นที่เพาะปลูก ภายใต้สภาวะน้ำน้อย โดยสามารถสรุปเนื้อหาได้ว่า ปัจจุบันประเทศไทยได้ประสบปัญหากับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เกิดภัยแล้ง ภัยธรรมชาติขึ้นหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในช่วงเดือนมีนาคม เมษายน ภัยแล้งได้ส่งผลกระทบกับการปลูกข้าวและพืชไร่เป็นอย่างมาก เกษตรกรควรมีการเตรียมตัว จัดการและปรับตัวให้อยู่รอดกับภาวะภัยแล้ง โดยหาพืชทางเลือกที่ใช้น้ำน้อยทดแทนการปลูกข้าวนาปรัง เพื่อเป็นการเสริมรายได้ ซึ่งปัจจุบัน ทาง สวทช. ได้มีพืชที่พัฒนาจากการวิจัย เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะปลูกในช่วงภาวะแล้ง เช่น การผลิตพันธุ์มะเขือเทศ พันธุ์พริก ซึ่งได้พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น นอกจากนี้ทาง สวทช ยังได้เน้นถั่วเขียวสายพันธุ์ใหม่ KUML No.30 ซึ่งใช้น้ำน้อยในการเพาะปลูก เพียง 1 ใน 3 เท่าของการปลูกข้าว ให้ผลผลิตสูง ประมาณ 250 กิโลกรัมต่อไร่ มีความทนทานต่อโรค และใช้เวลาในการเพาะปลูกสั้นเพียง 65-70 วัน ซึ่งสามารถนำมาเป็นพืชทางเลือกสำหรับช่วงภาวะแล้งได้ นอกจากนี้ยังเป็นการบำรุงดิน สามารถปลูกเป็นพืชหมุนเวียนได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังได้ฟังการบรรยายเทคนิคการปลูกข้าวใช้น้ำน้อย เป็นการปลูกข้าวแบบประหยัดน้ำ แบบเปียกสลับแห้ง โดยปลูกข้าวและปล่อยน้ำเข้านาในช่วงที่ข้าวเจริญเติบโตในขั้น vegetative growth หลังจากนั้นทำการฝังท่อพลาสติกเจาะรูในดิน 15 เซนติเมตร ให้ท่อโผล่พ้นเหนือดิน 5 เซนติเมตร ทำการวัดระดับน้ำในท่อพลาสติก โดยไม่ต้องมีการปล่อยน้ำเข้านา เมื่อน้ำในท่อลดลงต่ำกว่าจุดวิกฤตให้เติมน้ำเข้านา ซึ่งเป็นการประหยัดน้ำ และเป็นผลดีต่อสรีรวิทยาของต้นข้าว และแร่ธาตุในดิน โดยเฉพาะไนโตรเจน ซึ่งเกษตรกรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ การนำไปใช้ประโยชน์ สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ไปเป็นแนวทางในการบูรณาการในการสร้างสรรค์งานวิจัยและการเรียนการสอนวิชาทางกลุ่มพืชต่อไป
คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1327  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ปารวี กาญจนประโชติ  วันที่เขียน 9/3/2559 15:48:18  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/5/2567 22:25:55

URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้