การประยุกต์ใช้รังสีแกมมาสำหรับการเกษตร
วันที่เขียน 30/9/2562 13:54:17     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/4/2567 7:57:52
เปิดอ่าน: 4903 ครั้ง

การประยุกต์ใช้รังสีมักจะถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรม พลังงาน การแพทย์และการเกษตร ในบทความนี้จะข้อกล่าวถึงการประยุกต์ใช้รังสีแกมมาสำหรับการเกษตร ซึ่งหลักสูตรฟิสิกส์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ มีเครื่องฉายรังสีแกมมาสำหรับการเรียนการสอน วิจัย และบริการวิชาการ มาแล้วกว่า 10 ปี

การประยุกต์ใช้รังสีแกมมาสำหรับการเกษตร 

การประยุกต์ใช้รังสีมักจะถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรม พลังงาน การแพทย์และการเกษตร ในบทความนี้จะข้อกล่าวถึงการประยุกต์ใช้รังสีแกมมาสำหรับการเกษตร ซึ่งหลักสูตรฟิสิกส์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ มีเครื่องฉายรังสีแกมมาสำหรับการเรียนการสอน วิจัย และบริการวิชาการ มาแล้วกว่า 10 ปี ดังรูปที่ 1

รูปที่ 1 เครื่องฉายรังสีแกมมา Gammacell 220 ณ ห้องฉายรังสี ชั้นใต้ดิน อาคาร 60 ปี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่

เมื่อตัวอย่างพืชได้รับรังสีจะเกิดอันตรกิริยาระหว่างรังสีและสารชีวโมเลกุลในเซลล์ ซึ่งจะส่งผลกระทบการกระบวนการต่าง ๆ ภายในเซลล์ส่งผลให้การเกิดเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ดังรูปที่ 1 ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มตามปริมาณของรังสี (dose) และอัตราการอยู่รอด

 

รูปที่ 2 กราฟความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณรังสี (Dose) และอัตราการรอดชีวิต (% Survival)

1.     การกระตุ้น (Stimulation)

การกระตุ้นทางรังสีเกิดขึ้นเมื่อพืชได้รับปริมาณรังสีเป็นปริมาณน้อย ๆ ช่วงไม่เกิน 100 Gy ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณความชื้นและชนิดของตัวอย่าง ส่งผลให้มีการกระตุ้นกระบวนการภายในเซลล์ เช่น กระตุ้นการงอก การออกดอกหรือการออกผล

2.     การส่งเสริม (Enhancement)

เมื่อพืชได้รับปริมาณรังสีมากขึ้นจะส่งผลให้มีการส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ ภายในเซลล์ ส่งผลให้มีอัตราการเจริญเติบโตที่มากขึ้น เช่น ความยาวรากและความยาวยอด

3.     การกลายพันธุ์ (Mutation)

การกลายพันธุ์เป็นกระบวนการที่เกิดจากตัวอย่างได้รับปริมาณรังสีที่เหมาะสม ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับดีเอ็นเอ ส่งผลให้เกิดการแสดงออกทางพันธุกรรม เช่น เกิดการเปลี่ยนสีของดอก ใบและลำต้น

4.     การยับยั้ง (Inhibition)

เมื่อพืชได้รับปริมาณรังสีมากกว่าปกติ รังสีจะทำให้เกิดการยับยั้งมากกว่าการกระตุ้นกระบวนการต่าง ๆ ภายในเซลล์ ส่งผลให้มีการยับยั้งการเจริญเติบโต เช่น การยับยั้งการงอกของรากของมันฝรั่ง การยับยั้งการบานของดอกเห็ด การยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์

5.     การฆ่าทำลาย (Sterilization)

การฆ่าทำลายหรือฆ่าเชื้อเป็นการให้ปริมาณรังสีสูงมากกับตัวอย่างที่ต้องการกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนมา เช่น การฉายรังสีในผัก ผลไม้ หรืออาหาร สำหรับการส่งออกไปยังต่างประเทศ

จะเห็นได้ว่าการเลือกใช้ช่วงปริมาณรังสีต่าง ๆ กันสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้หลากหลายประเภท ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้ ดังนั้นความเข้าใจภาพรวมของช่วงปริมาณรังสีที่เหมาะสมสำหรับงานประยุกต์ทางรังสีต่าง ๆ กับพืชจึงเป็นสิ่งที่สำคัญและควรทราบไว้เบื้องต้นก่อนเข้ารับการบริการฉายรังสี

นอกจากนี้การบริการรังสีแกมมาของหลักสูตรฟิสิกส์ประยุกต์ ยังมีการบริการฉายรังสีด้วยเครื่องเร่งอนุภาคพลังงานต่ำและการใช้เทคนิคทางพลาสมาสำหรับการประยุกต์ใช้ในด้านการเกษตรอีกด้วย

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
Data Science คืออะไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร » Data Science คืออะไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร
Data Science หรือ วิทยาการข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ โดยครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บข้อมูล (Collect) การจัดการข้อมูล (Manage) การวิเคราะห์ข้อมูล (Analyze) ไปจนถึงขั้นตอนการนำข้อมูลมาช...
Data Science  วิทยาการข้อมูล     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ธวัชชัย เพชรธาราทิพย์  วันที่เขียน 24/4/2567 13:27:01  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/4/2567 1:34:10   เปิดอ่าน 16  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 ในวันที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 08.00 - 17.00 น. ณ ห้องเอกภพวิทยา ชั้น G อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดย...
ChatGPT  การประชุมวิชาการ  เทคโนโลยี  วิทยาศาสตร์  สิ่งแวดล้อม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 11/4/2567 15:19:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/4/2567 5:02:38   เปิดอ่าน 31  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม สัมมนาหรือประชุมวิชาการ » รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิริพร สมุทรวชิรวงษ์  วันที่เขียน 2/4/2567 16:14:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/4/2567 1:49:18   เปิดอ่าน 52  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง