รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามคำสำคัญ  : กระตุ้น
บทความการเข้าร่วมประชุม » การประยุกต์ใช้รังสีแกมมาสำหรับการเกษตร
การประยุกต์ใช้รังสีมักจะถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรม พลังงาน การแพทย์และการเกษตร ในบทความนี้จะข้อกล่าวถึงการประยุกต์ใช้รังสีแกมมาสำหรับการเกษตร ซึ่งหลักสูตรฟิสิกส์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ มีเครื่องฉายรังสีแกมมาสำหรับการเรียนการสอน วิจัย และบริการวิชาการ มาแล้วกว่า 10 ปี
คำสำคัญ : กระตุ้น  กลายพันธุ์  แกมมา  ฆ่าเชื้อ  ยับยั้ง  รังสี  ส่งเสริม  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 4866  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน กิตติคุณ พระกระจ่าง  วันที่เขียน 30/9/2562 13:54:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/3/2567 7:00:37
Phayao Research Conference 7 » ผลของอุณหภูมิและความหนาต่อค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ยังผลของการอบแห้งหัวไชเท้าแผ่น
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะเฉพาะของการอบแห้งแผ่นหัวไชเท้าขาวที่ความหนา 2, 3 และ 4 มิลลิเมตร และอุณหภูมิอากาศในการอบแห้งที่ 60, 70 และ 80 องศาเซลเซียส พบว่าความชื้นลดลงจากผลของระดับความหนาและอุณหภูมิอากาศในการอบแห้งจาก 10.11±0.83 ถึง 0.031±0.0014 กรัมน้ำ กรัม-1น้ำหนักแห้ง โดยใช้เวลาในการอบแห้งประมาณ 95 ถึง 230 นาที ผลของความหนาและอุณหภูมิในการอบแห้งถูกนำมาวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ยังผล (Deff) ในการถ่ายเทมวลความชื้นของหัวไชเท้าแผ่น ซึ่งสามารถอธิบายได้จากสมการการแพร่ของฟิค และค่า Deff มีค่าระหว่าง 1.220.001 ×10-10 ถึง 9.730.043 ×10-10 ตารางเมตรต่อวินาที ค่า Deff มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิและระดับความหนาเพิ่มขึ้น ค่าพลังงานกระตุ้น (Ea) ซึ่งได้จากสมการอาร์เรเนียสมีค่าเท่ากับ 53.795.82, 61.91 7.20 และ 66.5111.27 กิโลจูลต่อโมล
คำสำคัญ : หัวไชเท้า การอบแห้ง ค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ยังผล พลังงานกระตุ้น สมการอาร์เรเนียส  
กลุ่มบทความ : บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป
หมวดหมู่ : วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2488  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ฤทธิชัย อัศวราชันย์  วันที่เขียน 12/3/2561 20:23:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 28/3/2567 8:32:32