วิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์แบบผสม (Mixed Method)
วันที่เขียน 23/7/2562 15:25:17     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/7/2568 3:54:27
เปิดอ่าน: 3503 ครั้ง

โดยทั่วไปวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์จะมีทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ เนื่องจากงานวิจัยบางชิ้นงานต้องการทำให้ผลการวิจัยดีขึ้น มีความน่าเชื่อถือ มีความสอดคล้อง และมีความทันสมัย ดังนั้น จึงมีการนำการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณมาใช้ร่วมกัน การนำการวิจัยทั้ง 2 แบบ มาใช้ร่วมกันมักใช้การวิจัยเชิงปริมาณเป็นตัวหลักหรือเป็นตัวเริ่มต้นในการศึกษาก่อน แล้วเสริมด้วยงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ 70% และการวิจัยเชิงคุณภาพ 30% นั่นคือการวิจัยเชิงคุณภาพทำขึ้นเพื่อสนับสนุนผลจากการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเฉพาะในประเด็นที่ต้องการเน้น

ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมอบรมหลักสูตร วิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์แบบผสม ซึ่งจัดโดยสมาคมส่งเสริมการวิจัย เมื่อวันที่ 27-28 มิถุนายน 2562 ณ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ โดย รองศาสตราจารย์ ดร. โยธิน แสวงดี เป็นวิทยากร เนื้อหาในการอบรมสรุปคร่าว ๆ ดังนี้

วิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์แบบผสม ส่วนใหญ่จะเริ่มจากการทำวิจัยเชิงปริมาณให้เสร็จสมบูรณ์จนพบปัจจัยที่ให้ผลต่อตัวแปรตามแล้วต้องการสืบค้นต่อด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ  อาจใช้วิธีการสนทนากลุ่มแบบเจาะจง หรือการสัมภาษณ์เชิงลึกกับบุคคลที่มีพฤติกรรมตามประเด็นที่สนใจนั้น ๆ ทั้งนี้ในการวิจัยแบบผสมจะให้ความสำคัญกับประชากรและการชักตัวอย่าง เพราะต้องการเน้นในด้านการเป็นตัวแทนอย่างถูกต้องที่สุด และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติที่ใช้ในการพยากรณ์ หรือการอ้างอิงที่ตัวอย่างจะต้องมาจากวิธีการชักตัวอย่างโดยอาศัยความน่าจะเป็น เช่นการชักตัวอย่างแบบมีระบบ การชักตัวอย่างเชิงเดี่ยว

สำหรับการเขียนระเบียบวิธีวิจัยจะเริ่มต้นด้วยการเขียนระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณก่อนแล้วตามด้วยเชิงคุณภาพ การรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณส่วนใหญ่จะใช้แบบสอบถาม ส่วนการรวบรวมข้อมูลในเชิงคุณภาพจะใช้แบบสัมภาษณ์โดยมีการทดสอบแนวคำถามที่ใช้เช่นเดียวกับแบบสอบถาม การวิเคราะหืข้อมูลจะต้องมีการตรวจสอบความสอดคล้องของข้อมูลกับข้อสมมติเบื้องต้นของวิธีการทางสถิติ เช่น การตรวจสอบความเป็นอิสระของตัวแปร

ส่วนการเขียนผลการวิเคราะห์และอภิปรายผลจะเป็นการเปรียบเทียบทั้งผลการวิจัยที่เหมือนกันและแตกต่างกัน  โดยจะเป็นการอภิปรายในเชิงปริมาณทั้งหมดก่อนให้ชัดเจนแล้วจึงแยกประเด้นที่จะเจาะต่อในเชิงคุณภาพ มาเขียนด้วยการเริ่มต้นประเด้นใหม่หรือหัวข้อใหม่ ปกติจะแยกเป็นตอนใหม่เลยเพื่อต้องการสื่อสารให้เด่น มีการเกริ่นนำว่าลำดับต่อไปจะกล่าวถึงผลการสืบค้นในเชิงคุณภาพที่ประเด็นไหน การเขียนบทสรุปให้เขียนผลในเชิงปริมาณก่อนแล้วย้ำด้วยเชิงคุณภาพ

ในกรณีออกแบบการวิจัยแบบผสมที่เริ่มจากการวิจัยเชิงคุณภาพ จะเริ่มต้นเขียนตั้งแต่คำถามวิจัยที่เป้นรูปแบบของคำถามวิจัยในเชิงคุณภาพ หลังจากนั้นทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง จะไม่มีกรอบแนวคิด ไม่มีนิยามศัพท์ ไม่มีประชากรและกลุุ่มตัวอย่าง แต่เน้นพื้นที่ ที่ใช้ในการศึกษา การสร้างแนวคำถาม การตรวจสอบสามเส้า แล้วจึงตามด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » เอกสารเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการอบรม “โครงการอบรมหลักการเขียนตำราและหนังสือสำหรับขอตำแหน่งวิชาการ”
การเข้าร่วมอบรมโครงการ "หลักการเขียนตำราและหนังสือสำหรับขอตำแหน่งทางวิชาการ" ได้มุ่งเน้นเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติในการจัดทำตำราและหนังสือวิชาการที่มีคุณภาพในระดับอุดมศึกษา...
ตำแหน่งทางวิชาการ  ประกาศ ก.พ.อ.     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 24/6/2568 11:16:29  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/7/2568 15:41:51   เปิดอ่าน 38  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
CISA » CISA สำหรับหลักสูตรปรับปรุง 2570
กิจกรรม : การประชุมชี้แจง ระบบสารสนเทศหลักสูตรเพื่อการรับรองมาตรฐานการอุดมศึกษาในหลักสูตรการศึกษา (ระยะที่ 1 การตรวจสอบหลักสูตรการศึกษา) (Curriculum Information System for Higher Education Accredit...
CISA  หลักสูตรปรัปปรุง 2570     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน อนรรฆอร ศรีไสยเพชร  วันที่เขียน 19/6/2568 10:43:48  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/7/2568 23:12:46   เปิดอ่าน 46  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมงานประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมการประชุมชี้แจง ระบบสารสนเทศหลักสูตรเพื่อการรับรองมาตรฐานการอุดมศึกษาในหลักสูตรการศึกษา (ระยะที่ 1 การตรวจสอบหลักสูตรการศึกษา) (Curriculum Information System for Higher Education Accreditation: CISA) และแผนผังการเสนอหลักสูตร
ได้เข้าร่วมกิจกรรม การประชุมชี้แจง ระบบสารสนเทศหลักสูตรเพื่อการรับรองมาตรฐานการอุดมศึกษาในหลักสูตรการศึกษา (ระยะที่ 1 การตรวจสอบหลักสูตรการศึกษา) (Curriculum Information System for Higher Education...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน เพชรลดา กันทาดี  วันที่เขียน 23/5/2568 17:27:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/7/2568 22:04:19   เปิดอ่าน 208  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง