สรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมการประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 17
วันที่เขียน 19/12/2561 17:59:13     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 22/11/2567 0:26:11
เปิดอ่าน: 2797 ครั้ง

รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ จากการที่ได้เข้าร่วมการประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 17 “สู่ก้าวใหม่ของพืชสวนไทย: To the New Frontiers of Horticulture” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-21 พฤศจิกายน 2561 ณ โรงแรมเชียงใหม่ แกรนด์วิว แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดเชียงใหม่

สรุปเนื้อหาโดยย่อ

1.การพัฒนาด้านการวิจัย

ได้เข้าฟังการบรรยายพิเศษและการอภิปรายต่าง ๆ โดยมีหัวข้อที่น่าสนใจ ได้แก่ “New Vision of Plasma Technology for Horticulture” และ “การขับเคลื่อนพืชสวนยุคใหม่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม” ความรู้ที่ได้รับในส่วนนี้ สามารถนำมาตั้งโจทย์วิจัยให้สอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ได้ โดยสร้างองค์ความรู้ที่สามารถต่อยอดสร้างนวัตกรรม ๆ และสร้างมูลค่าเพิ่มของผลผลิตทางพืชสวนต่าง ๆ

2.การพัฒนาด้านการเรียนการสอน

ได้มีชื่อเป็นผู้ร่วมวิจัยในการนำเสนอผลงานวิจัยในภาคโปสเตอร์ 2 เรื่อง ดังนี้

-  งานวิจัยเรื่อง “การขยายพันธุ์มันเทศญี่ปุ่นสีม่วงในสภาพปลอดเชื้อ” (In Vitro Propagation of Japanese-Purple Sweet Potato) ในการขยายพันธุ์มันเทศญี่ปุ่นสีม่วงในสภาพปลอดเชื้อ ได้ศึกษาวิธีการฟอกฆ่าเชื้อชิ้นส่วนข้อเดี่ยว โดยการแช่สารฆ่าเชื้อชนิดต่าง ๆ ได้แก่ clorox  10% นาน 10 และ 15 นาที หรือ mercuric chloride 0.1% นาน 5 และ 10 นาที หลังเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ผลปรากฏว่า การแช่ mercuric chloride 0.1% นาน 10 นาที พบการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ต่ำที่สุด 36.84% และมีการเกิดยอดสูง 85.71% ในการเพิ่มปริมาณยอดได้นำชิ้นส่วนข้อเดี่ยวมาเพาะเลี้ยงบนอาหารกึ่งแข็งสูตร MS ดัดแปลงที่ไม่เติมและเติมไซโตไคนิน BAP 1 และ 2 มิลลิกรัมต่อลิตร หรือ TDZ 0.25 และ 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร หลังเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่า อาหารที่เติม BAP ทั้งสองระดับความเข้มข้นสามารถเพิ่มปริมาณยอดได้มากที่สุดเท่ากัน 2.2 ยอดต่อชิ้นส่วน สำหรับการชักนำให้ยอดออกรากได้ใช้อาหารกึ่งแข็งสูตร MS ดัดแปลงที่ไม่เติมและเติมออกซิน NAA หรือ IBA 0.5 และ 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร หลังเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่า มีการเกิดราก 100% ทุกกรรมวิธี โดยอาหารที่เติม NAA 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้ออกรากเป็นจำนวนมากที่สุด 32.67 รากต่อต่อต้น และเมื่อนำต้นที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไปออกปลูกในเรือนโรง พบว่า สามารถรอดชีวิตทั้งหมด 100%

-  งานวิจัยเรื่อง “ผลของสารฟอกฆ่าเชื้อและการผ่าหัวต่อการชักนำให้เกิดยอดหอมแขกในสภาพปลอดเชื้อ” (Effects of Sterilizing Agents and Bulb Splitting on Shoot Induction of Alium cepa var. viviparum In Vitro) งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการชักนำให้เกิดยอดที่เหมาะสมของหอมแขก (Alium cepa var. viviparum) ในสภาพปลอดเชื้อ โดยการนำชิ้นส่วนหัวหอมแขกมาฟอกฆ่าเชื้อด้วยสารฆ่าเชื้อชนิดต่าง ๆ ได้แก่ clorox 25%, mercuric chloride 0.1%, silver nitrate 1% และ hydrogen peroxide  6% เป็นระยะเวลา 10, 15 และ 20 นาที ผลปรากฏว่า การแช่หัวใน mercuric chloride 0.1% หรือ silver nitrate 1% นาน 20 นาที พบการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ต่ำเพียง 20-25% และยังมีการเกิดยอดได้สูง 83.33-85% ต่อมาเมื่อเปรียบเทียบผลของการผ่าหัวหอมแขก 4, 6 และ 8 ส่วนต่อ พบว่า การผ่าหัวแบบต่าง ๆ สามารถชักนำการเกิดยอดใกล้เคียงกัน (61.67-67.50%) โดยการผ่าหัว 8 ส่วน สามารถชักนำให้เกิดยอดต่อชิ้นส่วนและมีจำนวนยอดต่อหัวมากที่สุด 1.31 และ 6.4 ตามลำดับ

 นอกจากนี้ได้เข้าฟังและชมการนำเสนอผลงานวิชาการภาคบรรยายและโปสเตอร์ตามความสนใจ เช่น

-      งานวิจัยเรื่อง “ผลของระยะเวลาเพาะเลี้ยงต่อปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระของยอดกะเพราแดง (Ocimum sanctum L.) ในสภาพปลอดเชื้อ” ได้รับความรู้เกี่ยวกับ ยอดกะเพราแดงที่เพาะเลี้ยงนาน 5 สัปดาห์ มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิค และสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมดสูงที่สุด

-      งานวิจัยเรื่อง “ผลของกรดซาลิไซลิกต่อปริมาณสารทุติยภูมิของยอดกล้วยหอมทองที่เพาะเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อ) ในสภาพปลอดเชื้อ” ได้รับความรู้เกี่ยวกับ ยอดที่เพาะเลี้ยงบนอาหารที่เติมกรดซาลิไซลิก 100ไมโครโมลาร์มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิค และสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมดสูงที่สุด

-      งานวิจัยเรื่อง “การเปรียบเทียบระบบไบโอรีแอคเตอร์ที่มีผลต่อเนื้อเยื่อบัวผันลูกผสม” ได้รับความรู้เกี่ยวกับ ชิ้นส่วนยอดที่เพาะเลี้ยงในระบบไบโอรีแอคเตอร์จมชั่วคราวมีการเจริญเติบโตดีกว่าแข็งแรงกว่ายอดที่เพาะเลี้ยงในอาหารเหลวแบบเขย่า

       จากความรู้ที่ได้รับข้างต้น สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนรายวิชาต่างที่เกี่ยวข้อง ๆ เช่น ชว 310 สรีรวิทยาของพืชประยุกต์ ชว 411 หลักการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช และ ชว 412 หลักการด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืช ทช 510 ฮอร์โมนและสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช เป็นต้น

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=908
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ » การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
การบริหารจัดการงบประมาณคณะวิทยาศาสตร์ ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ 2567 ได้มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดเพื่อเอื้อต่อการทำงาน และเพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบแนวปฏิ...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน นลิน วงศ์ขัตติยะ  วันที่เขียน 28/9/2567 16:33:52  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 13:36:43   เปิดอ่าน 106  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง