เทคนิคการเข้าถึงสารสนเทศเพื่อการศึกษาวิจัยอย่างมืออาชีพ3
วันที่เขียน 20/4/2560 16:40:48     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/7/2568 4:07:24
เปิดอ่าน: 4026 ครั้ง

การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง เทคนิคการเข้าถึงสารสนเทศเพื่อการศึกษาวิจัยอย่างมืออาชีพ ได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่อง EBSCO Discovery Service (EDS) หรือ EDS search ซึ่งเป็นการสืบค้นข้อมูลแบบหน้าจอเดียว โดยจะรวบรวมข้อมูลจากทุกฐานข้อมูลที่ สกอ. บอกรับ เช่น Science Direct, ISI Web of Science, Proquest Dissertation และฐานอื่น ๆ รวมถึงฐานข้อมูล EBSCO eBooks ผ่านช่องทางเดียวคือ Single Search หรือ EDS ซึ่งระบบดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่ออาจารย์ นักศึกษาและนักวิจันยในหน่วยงานต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อมูลจากฐานข้อมูล Science direct เป็นฐานข้อมูลบรรณานุกรมและเอกสารฉบับเต็ม (Full-text) จากวารสารของสำนักพิารย์ นักศึกษา และนักวิจัย ในหน่วยงานต่าง ๆ เป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ ยังเรียนรู้การใช้งานฐานข้อมูล Science direct ซึ่งอยู่ในเครือ Elsevier ประกอบด้วย หนังสือและวารสารด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์การแพทย์ นอกจากนี้ ยังได้รับความรู้เกี่ยวกับ Mendeley Desktop เป็นโปรแกรมจัดการไฟล์เอกสาร ซึ่งสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน และงานวิจัยและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

 นางสาว สมคิด ดีจริง ตำแหน่งอาจารย์  สังกัดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ ขอนำเสนอรางานสรุปเนื้อหา และการนำไปใช้ประโยชร์ จากการเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง เทคนิคการเข้าถึงสารสนเทศเพื่อการศึกษาวิจัยอย่างมืออาชีพ  ในวันศุกร์ที่ 31 มีนาคม 2560 ณ ห้องช้องนาง สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้  

การใช้งาน EBSCO Discovery Service (EDS) หรือ EDS search

การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง เทคนิคการเข้าถึงสารสนเทศเพื่อการศึกษาวิจัยอย่างมืออาชีพ วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม 2560 ณ ห้องช้องนาง สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้    ได้รับฟังบรรยาย และฝึกทำปฏิบัติการการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลโดยวิทยาการ 2 ท่าน คือ คุณนันทรัตน์ นนทิวัฒน์วนิช  จากบริษัท  EBSCO  และคุณณัฐพล สีลุรักษ์ จากบริษัท  ELSEVIER  โดยทราบว่า EBSCO Discovery Service (EDS) หรือ EDS search คือการสืบค้นข้อมูลแบบหน้าจอเดียว โดยใช้การสืบค้นแบบ Google search โดยผลการสืบค้น (ในการ search เพียงครั้งเดียว) จะรวบรวมข้อมูลจากทุกฐานข้อมูลที่ สกอ. บอกรับ  เช่น Science Direct, ISI Web of Science, Proquest Dissertation และฐานอื่น ๆ รวม 13 ฐาน รวมถึงฐานข้อมูล EBSCO eBooks ผ่านช่องทางเดียวคือ Single Search หรือ EDS ซึ่งระบบดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่ออาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัย ในหน่วยงานต่าง ๆ เป็นอย่างยิ่ง

การสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล EBSCO สามารถสืบค้นฐานข้อมูลผ่านหน้า website สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้  โดยผ่าน  website http://www.library.mju.ac.th/index.php   โดยไปที่ EBSCO  กด search  ผู้ใช้งานสามารถเลือก Search options เพื่อกรองผลการสืบค้นเพิ่มเติม  และเข้าไปสืบค้นได้ตามต้องการ หรือสามารถเข้าสู่ EBSCO Discovery Service (EDS)  โดยผ่าน website ของสำนักหอสมุดไปที่เมนูสืบค้นทรัพยากรเข้าฐานข้อมูลและไปที่ฐานข้อมูลออนไลน์และเข้าไปสืบค้น EBSCO Discovery Service (EDS)  

ซึ่งเครื่องมือเด่นใน EDS ประกอบด้วย Research starter, Full text finder, Plum print  ในการสืบค้นข้อมูล full text ใน  EBSCO Discovery Service (EDS) จะมีตัวเลือกก่อนการสืบค้น (Search option)  ตัวกรองผลการค้นหา (refine result) เครื่องมือจัดการผลการสืบค้น (Tools) แจ้งเตือนหากมีเนื้อหาใหม่ (Keyword alert)  แจ้งเตือนเมื่อมีวารสารใหม่ รวมทั้งระบุสาขาที่ต้องการสืบค้น

ข้อมูลใน EDS ได้แก่ local content ข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือจากห้องสมุดและข้อมูลจาก Dspace  , subscribed database ฐานข้อมูลที่ห้องสมุดบอกรับที่มีอยู่บน EBSCO host platform ทั้ง subject index และ Full text data base, Data partner เช่น Newbank, Elsevier, JSTOR, web of Science, OAI ster, nBER, ECONIS, Foudation เป็นข้อมูลพื้นฐานที่มีอยู่ในกล่อง EDS โดยสามารถปรับเพิ่มหรือลดได้ตามความต้องการของแต่ละสถาบัน  นอกจากนี้ ยังสามารถสืบค้นหา E-books และดาวน์โหลดจัดเก็บไว้ศึกษาได้

การใช้งานฐานข้อมูล Science direct

ในการอบรมนี้ยังได้รับความรู้เกี่ยวกับการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล Science direct เป็นฐานข้อมูลบรรณานุกรมและเอกสารฉบับเต็ม (Full-text) จากวารสารของสำนักพิมพ์ในเครือ Elsevier ประกอบด้วย หนังสือและวารสารด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์การแพทย์ สามารถเข้าถึงฐานข้อมูลนี้โดยผ่าน website ของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 

  การสืบค้นฐานข้อมูล Science direct  สามารถสืบค้นโดยใส่ keyword ที่ต้องการสืบค้น หรือชื่อผู้แต่ง ชื่อวารสาร  หนังสือ

การค้น Basic search หน้าจอจะแสดงในภาพสามารถสืบค้นโดยใส่ keyword ตามต้องการ  

ส่วน advanced search หน้าจอจะแสดงดังภาพ ใส่ keyword ที่ต้องการสืบค้นตามต้องการ ความแตกต่างของ basic search และ advanced search คือ ผลลัพธ์ของการสืบค้นแบบ basic search จะมากแต่การสืบค้นแบบ advanced search สามารถเลือกจำกัดสาขาวิชาได้และเลือกช่วงปีได้

การใช้งาน Mendeley

Mendeley Desktop เป็นโปรแกรมจัดการไฟล์เอกสาร PDF ทำงานคล้ายกับคลังบรรณานุกรมเก็บเอกสารไฟล์ PDF ไว้สำหรับอ้างอิง หรือ เก็บข้อมูลงานวิจัยได้    การสืบค้นข้อมูลจาก Mendeley สามารถเข้าใช้งานได้ที่  http://www.mendeley.com ซึ่งในฐานข้อมูลนี้จะมี full text จำนวนมากมาย ทั้งที่ผ่านและไม่ได้ผ่านการกรอง สามารถโพส status, time lines หรือติดตามผลงานของผู้ที่ทำงานวิจัยคล้ายๆ กับผู้สืบค้น  ซึ่งการใช้งานเริ่มต้นจากการติดตั้งโปรแกรม Mendeley desktop บนเครื่องคอมพิวเตอร์  จากนั้นเปิดเข้าสู่โปรแกรมากหน้าต่างโปรแกรม Mendeley สามารถทำงานกับเอกสาร PDF ได้โดยเลือกคำสั่ง File, Add File หรือ Add Folder จากภาพ Mendeley กำลังนำเข้าไฟล์ PDF จากโฟลเดอร์ที่ระบุพร้อมๆ กับวิเคราะห์ Metadata ที่มาพร้อมกับเอกสาร เป็นข้อมูลบรรณานุกรมของเอกสารที่เลือก หากข้อมูลที่ปรากฏไม่ถูกต้อง สามารถดำเนินการได้สองวิธีคือ การป้อนข้อมูลเพิ่ม หรือการคลิกปุ่มเครื่องมือ Search by Title เพื่อให้ Mendeley นำชื่อเรื่องไปสืบค้นข้อมูลบรรณานุกรมและให้ระบบเติมอัตโนมัติ นอกจากนี้ยังสามารถนำข้อมูลบรรณานุกรมของเอกสาร PDF แต่ละรายการไปทำรายการอ้างอิงได้ง่าย ๆ เพียงแค่คลิกขวาที่รายการที่ต้องการ จากนั้นเลือกคำสั่ง Copy Citation แล้วไปวางในเอกสารรายงานที่กำลังจัดพิมพ์ด้วย Word ซึ่ง Mendeley homepage แสดงในภาพ  นอกจากนี้ Mendeley ยังสามารถหากลุ่มงานวิจัย แหล่งทุนสนับสนุน รวมทั้งการค้นหางานในสาขาที่เกี่ยวข้อง  และยังทำให้ผู้ใช้งานเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันได้

 

สมคิด ดีจริง

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=682
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » เอกสารเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการอบรม “โครงการอบรมหลักการเขียนตำราและหนังสือสำหรับขอตำแหน่งวิชาการ”
การเข้าร่วมอบรมโครงการ "หลักการเขียนตำราและหนังสือสำหรับขอตำแหน่งทางวิชาการ" ได้มุ่งเน้นเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติในการจัดทำตำราและหนังสือวิชาการที่มีคุณภาพในระดับอุดมศึกษา...
ตำแหน่งทางวิชาการ  ประกาศ ก.พ.อ.     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 24/6/2568 11:16:29  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/7/2568 15:41:51   เปิดอ่าน 38  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
CISA » CISA สำหรับหลักสูตรปรับปรุง 2570
กิจกรรม : การประชุมชี้แจง ระบบสารสนเทศหลักสูตรเพื่อการรับรองมาตรฐานการอุดมศึกษาในหลักสูตรการศึกษา (ระยะที่ 1 การตรวจสอบหลักสูตรการศึกษา) (Curriculum Information System for Higher Education Accredit...
CISA  หลักสูตรปรัปปรุง 2570     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน อนรรฆอร ศรีไสยเพชร  วันที่เขียน 19/6/2568 10:43:48  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/7/2568 23:12:46   เปิดอ่าน 46  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมงานประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมการประชุมชี้แจง ระบบสารสนเทศหลักสูตรเพื่อการรับรองมาตรฐานการอุดมศึกษาในหลักสูตรการศึกษา (ระยะที่ 1 การตรวจสอบหลักสูตรการศึกษา) (Curriculum Information System for Higher Education Accreditation: CISA) และแผนผังการเสนอหลักสูตร
ได้เข้าร่วมกิจกรรม การประชุมชี้แจง ระบบสารสนเทศหลักสูตรเพื่อการรับรองมาตรฐานการอุดมศึกษาในหลักสูตรการศึกษา (ระยะที่ 1 การตรวจสอบหลักสูตรการศึกษา) (Curriculum Information System for Higher Education...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน เพชรลดา กันทาดี  วันที่เขียน 23/5/2568 17:27:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/7/2568 22:04:19   เปิดอ่าน 208  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง