การเขียน SAR ระดับหลักสูตรเชิงลึก: องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
วันที่เขียน 21/3/2560 9:57:52     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/8/2567 4:02:47
เปิดอ่าน: 4036 ครั้ง

เพื่อให้การประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร มีความถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร มีความครบถ้วนสมบูรณ์และสะท้อนการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ บรรลุตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร จึงได้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ "การเขียน SAR ระดับหลักสูตรเชิงลึก" วิทยากรได้ให้บรรยาย ให้ความรู้พร้อมยกตัวอย่างประกอบเกี่ยวกับเกณฑ์การกำกับมาตรฐานของการประกันคุณภาพการศึกษาทั้ง 6 องค์ประกอบหลัก ข้าพเจ้าในฐานะอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน เล่งเห็นว่าองค์ประกอบที่ 3 (นักศึกษา) มีความสำคัญและเป็นจุดเริ่มต้นของการกำกับหลักสูตร นั้นคือการได้มาซึ่งนักศึกษา การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา และผลที่เกิดกับนักศึกษา เช่น ทำอย่างไรถึงจะได้นักศึกษาตามจำนวนรับและได้นักศึกษาที่มีคุณภาพ ควรจะเตรียมความพร้อมนักศึกษาอย่างไรเพื่อให้สามารถเรียนรายวิชาในหลักสูตรและใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยได้อย่างมีความสุข รวมถึงจะเพิ่มเติมและส่งเสริมนักศึกษาอย่างไรให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข เป็นต้น

ด้านเนื้อหา

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา  

3.1 การรับนักศึกษา ประกอบด้วย การรับนักศึกษาและการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา วิทยากรได้มุ่งเน้นที่กระบวนการรับนักศึกษาของหลักสูตรที่มีเพิ่มเติมจากกระบวนการรับนักศึกษาปรกติของมหาวิทยาลัย นอกจากเน้นที่จำนวนรับแล้ว ยังต้องเน้นที่คุณภาพของการรับนักศึกษา โดยอาจวิเคราะห์นักศึกษาที่รับเข้าผ่านเกรดเฉลี่ยสะสมในระดับมัธยมปลาย หรือสร้างแบบทดสอบเพื่อประเมินศักยภาพของนักศึกษาเบื้องต้น ซึ่งจะสามารถเชื่อมโยงไปยังการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษาของนักศึกษาได้ ทั้งนี้การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษาควรจัดก่อนการเปิดภาคการศึกษาหรือในช่วงภาคการศึกษาแรก โดยเน้นที่การเตรียมความพร้อมสำหรับการศึกษาในรายวิชาของหลักสูตร เป็นต้น

3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา ประกอบด้วย การควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษา การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 วิทยากรได้มุ่งเน้นที่การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาตามบริบทของหลักสูตรเป็นอันดับแรกก่อน เช่น ควรเสริมด้านใดให้กับนักศึกษาเพื่อที่จะทำให้นักศึกษาสามารถประกอบอาชีพและอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข โดยต้องผ่านการวิเคราะห์บริบทของนักศึกษา หรือผ่านการสำรวจความต้องการของนักศึกษาก่อน

3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา ประกอบด้วย อัตราการคงอยู่ของนักศึกษา อัตราการสำเร็จการศึกษา และความพึงพอใจและผลการจัดการข้อร้องเรียนของนักศึกษา วิทยากรได้อธิบายว่า การคิดอัตราการคงอยู่ของนักศึกษาต้องคิดจากหลักดังนี้

                (จำนวนนักศึกษาสำเร็จการศึกษา หารด้วย จำนวนจำนวนนักศึกษาที่เข้าศึกษา) x 100

การประเมินความพึงพอใจของนักศึกษา ให้ประเมินในประเด็นหัวข้อ 3.1 กระบวนการรับนักศึกษา และ 3.2 กระบวนการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา หรืออาจเพิ่มเติมประเด็นอื่น ๆ แต่ต้องมีทั้ง 2 ประเด็นที่กล่าวข้างต้น

ด้านการนำไปใช้ประโยชน์

จากการอบรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเขียน SAR ระดับหลักสูตรเชิงลึก”  สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ได้ดังนี้

1) ด้านการเรียนการสอน ทำให้ทราบถึงแนวทางของหลักสูตร อันจะทำให้การจัดการเรียนการสอนในรายวิชาต่าง ๆ ที่รับผิดชอบ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร อันจะทำให้นักศึกษาได้รับมาตรฐานการศึกษาที่ตรงตามหลักสูตรและเป็นไปตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย

2) ด้านความใฝ่รู้ ทำให้ทราบถึงแนวทางการบริหารหลักสูตรที่ถูกต้อง เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร และการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตร

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=663
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การใช้งาน ChatGPT » เทคนิคการใช้ AI: Chat GPT ช่วยทำงานวิจัยให้สำเร็จ
การใช้งาน ChatGPT ในงานวิจัยเพื่อให้ผู้วิจัยสามารถรวบรวมข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะการโต้ตอบกับ ChatGPT เป็นภาษาอังกฤษ ที่สามารถรวบรวมข้อมูลมาจากหลายแหล่งทั่วโลก ขณะที่การโต้ตอบด้วยภาษาไทยยังม...
AI  ChatGPT  งานวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ก่องกาญจน์ ดุลยไชย  วันที่เขียน 18/7/2567 10:41:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/8/2567 0:28:37   เปิดอ่าน 188  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดสอบระบบ Dugga » เรียนรู้การใช้งานระบบ Dugga - Digital Assessment Platform
Dugga - Digital Assessment Platform (https://www.dugga.com) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสอบ บนโลกออนไลน์ ให้สะดวก ปลอดภัยมากขึ้น แนวทางการออกแบบประเภทคำถามมีหลากหลายกว่า 15 ประเภท แนะการจัดการระบบความปล...
AI  Dugga  Exam     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 9/7/2567 12:31:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 14/8/2567 16:26:01   เปิดอ่าน 69  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน วิทยากรโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ  การตีพิมพ์ผลงาน  จริยธรรมการวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 7/7/2567 15:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/8/2567 3:05:38   เปิดอ่าน 78  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ กรรมการ กพว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้เกียรติบรรยายเกี่ยวกับ หลักเก...
ตำแหน่งทางวิชาการ  ประกาศ ก.พ.อ.     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:15:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 14/8/2567 20:38:29   เปิดอ่าน 87  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » ความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE
เป็นประเด็นที่ผู้ประเมินอาจเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE โดยที่ประเด็นต่าง ๆ ที่นำมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อใช้ในการเป็นผู้ประเมินเพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ให้เป็นไปในทิศทางเดี...
AUNQA  OBE  ประกันคุณภาพการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:04:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 13/8/2567 18:14:57   เปิดอ่าน 103  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง