Blog : ความรู้จากการเข้าประชุมวิชาการ
รหัสอ้างอิง : 1294
ชื่อสมาชิก : ทวีศักดิ์ จันทร์งาม
เพศ : ชาย
อีเมล์ : taweesak_c@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 28/2/2556 21:21:57
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 28/2/2556 21:21:57

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : ความรู้จากการเข้าประชุมวิชาการ
สรุปความรู้ที่ได้จากการเข้าประชุมวิชาการ The International Conference on Applied Statistics 2015 "Statistics for Global Evolution Vision in the 21st Century"
ความรู้จากการเข้าประชุมวิชาการ » การเขียนหนังสือและตำราทางคณิตศาสตร์และสถิติเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ
ในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการในระดับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ มีหลักเกณฑ์ที่สำคัญคล้ายคลึงกันอย่างหนึ่งคือ ผู้กำหนดตำแหน่งทางวิชาการต้องผ่านการประเมิน เอกสารประกอบการสอน เอกสารประกอบคำสอน ตำรา หรือหนังสือ ซึ่งจำเป็นที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตเอกสารทางวิชาการเหล่านั้น ให้มีความถูกต้องตามหลักวิชาการ ทันสมัย และอยู่ในรูปแบบที่น่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสายคณิตศาสตร์และสถิติ ซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ค่อนข้างมาก ดังนั้นการมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง การเข้าร่วมอบรมในโครงการเทคนิคการเขียนหนังสือและตำรางทางคณิตศาสตร์และสถิติเพื่อขอตำแหน่างทางวิชาการ ณ ภาควิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการดำเนินงานดังกล่าวให้ลุล่วง ซึ่งกระผมจะได้นำความรู้ความเข้าใจดังกล่าวมาถ่ายทอดต่อให้กับคณาจารย์ทุกท่าน
คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 2360  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ทวีศักดิ์ จันทร์งาม  วันที่เขียน 28/8/2561 13:19:38  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 20:23:50
ความรู้จากการเข้าประชุมวิชาการ » รายงานองค์ความรู้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการสถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศระดับชาติ ประจำปี 2560
ในปัจจุบันถือเป็นยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวันของมนุษย์ ทำให้กิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ถูกบันทึกไว้ในฐานข้อมูล เพื่อนำไปศึกษาวิเคราะห์หาข้อสงสัย ศึกษาพฤติกรรมอันจะส่งผลต่อกระทบต่อมนุษย์ เช่น ข้อมูลสุขภาพ ข้อมูลทางการเงิน เป็นต้น ทำให้ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมีจำนวนมาก จนกลายเป็นข้อมูลขนาดใหญ่ หรือที่เรียนกว่า Big Data เมื่อข้อมูลมีขนาดใหญ่ขึ้น นักสถิติหรือนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลจำเป็นต้องมีวิธีการที่ดีและเหมาะสมเข้ามาจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้คำตอบถูกต้องและเหมาะสมที่สุด การแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ ของนักสถิติจึงเป็นสิ่งจำเป็น อันจะได้นำความรู้เหล่านั้นมาพัฒนาตนเองและส่งต่อไปยังผู้อื่น อาทิ นักศึกษา การเข้าร่วมประชุมวิชาการสถิติประยุกต์และเทคโนสารสนเทศระดับชาติ ประจำปี 2560 เป็นส่วนหนึ่งของการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับวิชาการทางสถิติและเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ที่เกี่ยวกับ Big Data
คำสำคัญ : สถิติ, สถิติประยุกต์, ข้อมูล, การวิเคราะห์ข้อมูล  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3513  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ทวีศักดิ์ จันทร์งาม  วันที่เขียน 5/9/2560 13:37:48  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 10:05:13
ความรู้จากการเข้าประชุมวิชาการ » การเขียน SAR ระดับหลักสูตรเชิงลึก: องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
เพื่อให้การประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร มีความถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร มีความครบถ้วนสมบูรณ์และสะท้อนการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ บรรลุตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร จึงได้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ "การเขียน SAR ระดับหลักสูตรเชิงลึก" วิทยากรได้ให้บรรยาย ให้ความรู้พร้อมยกตัวอย่างประกอบเกี่ยวกับเกณฑ์การกำกับมาตรฐานของการประกันคุณภาพการศึกษาทั้ง 6 องค์ประกอบหลัก ข้าพเจ้าในฐานะอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน เล่งเห็นว่าองค์ประกอบที่ 3 (นักศึกษา) มีความสำคัญและเป็นจุดเริ่มต้นของการกำกับหลักสูตร นั้นคือการได้มาซึ่งนักศึกษา การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา และผลที่เกิดกับนักศึกษา เช่น ทำอย่างไรถึงจะได้นักศึกษาตามจำนวนรับและได้นักศึกษาที่มีคุณภาพ ควรจะเตรียมความพร้อมนักศึกษาอย่างไรเพื่อให้สามารถเรียนรายวิชาในหลักสูตรและใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยได้อย่างมีความสุข รวมถึงจะเพิ่มเติมและส่งเสริมนักศึกษาอย่างไรให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข เป็นต้น
คำสำคัญ : SAR  นักศึกษา  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 4066  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ทวีศักดิ์ จันทร์งาม  วันที่เขียน 21/3/2560 9:57:52  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 19:35:48
ความรู้จากการเข้าประชุมวิชาการ » Workshop on Using R for Analysis of Big Data
ข้อมูล ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญของการค้นหาคำตอบทางวิทยาศาสตร์ อาทิ การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้า การศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของประชาชน การเกิดโรคของผู้ป่วย เป็นต้น โดยเฉพาะในปัจจุบันการบันทึกข้อมูลกิจกรรมของมนุษย์มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยการนำเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดเก็บ ปัจจุบันถือว่าเป็นยุคของข้อมูลขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า Big Data เมื่อข้อมูลมีปริมาณมากขึ้น จำเป็นต้องมีเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการข้อมูลเหล่านี้ให้มีความถูกต้อง เหมาะสม และสะดวกต่อการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาคำตอบในประเด็นทางต่าง ๆ โปรแกรม R (R for Statistical Computing) ถือเป็นโปรแกรมคำนวณทางสถิติที่มีผู้นิยมใช้ในการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ เพราะเป็นโปรแกรมแบบไม่มีลิขสิทธิ์ทางการค้า (open source) ซึ่งผู้ใช้จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (computer programming) วิธีการทางสถิติ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการจัดการร่วมกัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจและเรียนรู้การใช้งานเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้เขียนจึงสนใจที่จะเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการที่ชื่อว่า Workshop on Using R for Analysis of Big Data ที่จัดระหว่างวันที่ 8-11 สิงหาคม 2559 โดยภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
คำสำคัญ : Bigdata, R  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 4269  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ทวีศักดิ์ จันทร์งาม  วันที่เขียน 5/9/2559 17:08:20  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 19:58:38
ความรู้จากการเข้าประชุมวิชาการ » สรุปเนื้อหาเกี่ยวกับการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ "เทคนิคการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ (ACS Training: Publishing Research)"
ในกระบวนการทำงานวิจัยนั้น เมื่อผู้ทำวิจัยได้ดำเนินการวิจัยเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่สำคัญคือ การนำเสนอผลการวิจัยให้ผู้อื่นได้รับรู้ เพื่อที่จะได้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะต่อไป ซึ่งการนำเสนองานวิจัยก็มีหลากหลายรูปแบบ อาทิ การนำเสนอแบบโปสเตอร์ การนำเสนอด้วยปากเปล่าในการประชุมวิชาการต่าง ๆ และการตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารวิชาการต่าง ๆ เป็นต้น การตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารวิชาการนั้นถึอเป็นรูปแบบการนำเสนองานวิจัยที่เป็นนิยมในหมู่นักวิจัยเป็นอย่างมาก เนื่องจากบทความวิจัยนั้น ๆ จะคงแสดงอยู่ในวารสารนั้น ๆ ตลอดไป รวมถึงผู้อื่นสามารถสืบค้นได้ง่าย ดังนั้นแล้วผู้วิจัยจึงจำเป็นต้องมีทักษะในการเขียนบทความวิจัยที่สามารถทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน ไม่คลุมเครือ การเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ จึงถือว่าเป็นการฝึกทักษะการเขียนบทความวิจัยของเขียน อันจะทำให้การเขียนบทความวิจัยมีความถูกต้อง ชัดเจน เข้าใจง่าย และเป็นสากล เป็นต้น
คำสำคัญ : บทความวิจัย  อบรมเชิงปฏิบัติการ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3179  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ทวีศักดิ์ จันทร์งาม  วันที่เขียน 15/3/2559 13:28:06  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 21:55:49
ความรู้จากการเข้าประชุมวิชาการ » สถิติศาสตร์เพื่อวิวัฒนาการของโลกในศตวรรษที่ 21
สถิติศาสตร์ถือเป็นศาสตร์ที่มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการวิวัฒนาการของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันที่มีการผนวกรวมวิทยาการทางสถิติกับเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน แล้วนำมาสร้างเป็นเครื่องมือหรือวิธีการที่ช่วยในการตัดสินใจในกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ อาทิ การวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการโฆษณาสินค้า การประมาณจำนวนคนไร้บ้าน (Homeless population) ด้วยวิธีการทางสถิติและเทคโนโลยีสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ การวิเคราะห์ความเสี่ยงของการอุบัติเหตุใหม่ เป็นต้น จากเครื่องมือหรือวิธีการที่ได้กล่าวข้างต้น ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยวิธีการทางสถิติเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ หรือแม้แต่หาผลลัพธ์ (กระบวนการ) ที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งจำเป็นต้องมีความเข้าใจในวิธีการทางสถิตินั้น ๆ อย่างถ่องแท้และทันสมัยอยู่เสมอ การได้เข้าร่วมประชุมวิชาการด้านสถิติศาสตร์จึงถือว่ามีความสำคัญ ซึ่งนอกจากจะได้รับความรู้แล้ว ยังได้เครือข่ายการวิจัยจากการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักวิจัยที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันด้วย
คำสำคัญ : สถิติ, สถิติประยุกต์, ชีวสถิติ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3615  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ทวีศักดิ์ จันทร์งาม  วันที่เขียน 4/9/2558 23:56:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 18:45:03

URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้