การบริโภคแบคทีเรียโปรไบโอติกเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันและป้องกันไข้หวัดใหญ่ในมนุษย์
วันที่เขียน 28/2/2560 14:17:12     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 22:36:02
เปิดอ่าน: 1714 ครั้ง

แบคทีเรียโปรไบโอติก คือ แบคทีเรียที่ยังมีชีวิตและมีประโยชน์ต่อผู้บริโภค โดยปกติแล้วไม่ใช่ว่าแบคทีเรียที่พบโดยทั่ว ๆ ไปนั้น สามารถที่จะนำมาใช้เป็นแบคทีเรียโปรไบโอติกสำหรับมนุษย์เราได้ ทั้งนี้จะต้องมีการทดสอบหรือศึกษาคุณสมบัติของแบคทีเรียเหล่านั้นก่อน ว่ามีคุณสมบัติเป็นแบคทีเรีย โปรไบโอติกหรือไม่ จากนั้นจึงจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในมนุษย์เราได้ จากการเข้าร่วมงานประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติ เรื่อง ทรัพยากรชีวภาพสู่ผลิตภัณฑ์ระดับโลก ครั้งที่ ๓ The 3rd International Conference on Bioresources toward World Class Products (BWCP2016) โดยในงานประชุมวิชาการนานาชาติในครั้งนี้ ได้มีนักวิจัย ชื่อ Jun NISHIHIRA จาก Department of medical management and informatics, Hokkaido Information University, Hokkaido, Japan ได้นำเสนอผลงานวิจัยในเรื่อง The role of probiotics in boosting immune function for health (บทบาทของแบคทีเรียโปรไบโอติกต่อการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในมนุษย์) ซึ่งการนำเสนอครั้งนี้นักวิจัยได้นำเสนอผลการทดลองระดับคลินิกของมนุษย์ที่ได้บริโภคโปรไบโอติกโยเกิร์ต (โยเกิร์ตที่ประกอบด้วยแลคโตบาซิลลัสที่ใช้เป็นแบคทีเรียโปรไบโอติก) ต่อการตอบสนองของแอนติบอดีในมนุษย์ ผลการทดสอบพบว่าปริมาณ IgG และ IgA ในพลาสม่ามีระดับเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มที่บริโภคโปรไบโอติกโยเกิร์ตเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ทั้งยังพบว่าการผลิต sIgA ในน้ำลายก็เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน นอกจากนั้นในผู้ที่บริโภคโปรไบโอติกโยเกิร์ตดังกล่าวยังสามารถกระตุ้นกิจกรรมหรือการทำงานของ natural killer cells อีกด้วย โดยผู้วิจัยได้สรุปโดยรวมว่าการบริโภคโปรไบโอติกโยเกิร์ต L. gasseri SBT2055 นั้น สามารถกระตุ้นระบบภูมคุ้มกันทั้งแบบ innate immunity (ระบบภูมคุ้มกันโดยกำเนิด) และ adaptive immunity (ระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ) ในมนุษย์ได้ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้เสนอแนะว่าการบริโภคโปรไบโอติกโยเกิร์ตดังกล่าวนี้สามารถป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดไหญ่ได้

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=623
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศ
การเขียนบทความทางวิชาการเพื่อให้ได้ตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญ และจำเป็นสำหรับบุคลากรสายวิชาาร เนื่องจากหลังจากที่ทำการศึกษา วิจัย ค้นคว้า ทดลองสิ่งใหม่ ๆ ๆได้แล...
Chat GPT  บทความวิชาการ  วารสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 4/3/2567 10:52:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 1:29:15   เปิดอ่าน 61  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการติดตามบุคคลากรคณะวิทยาศาสตร์ที่ครบกำหนดในการดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น กิจกรรมที่ 1 การสร้างความรู้เกี่ยวกับการขอตำแหน่งทางวิชาการ
โครงการติดตามบุคคลากรคณะวิทยาศาสตร์ที่ครบกำหนดในการดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น กิจกรรมที่ 1 การสร้างความรู้เกี่ยวกับการขอตำแหน่งทางวิชาการ ในวันที่ 24 มกราคม 2567 เวลา 08.30 - 15.00 น. ณ ห้องประชุม 2 อาค...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 23/2/2567 23:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/3/2567 22:32:54   เปิดอ่าน 61  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง