การเข้าร่วมงานประชุมวิชาการ สวทช. ภาคเหนือ ประจำปี 2559
วันที่เขียน 30/8/2559 13:11:04     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/5/2567 0:17:26
เปิดอ่าน: 2177 ครั้ง

ข้าพเจ้า นางปารวี กาญจนประโชติ อาจารย์ประจำ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดทำรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ จากการที่ได้เข้าร่วมงานประชุมวิชาการ สวทช. ภาคเหนือ ประจำปี 2559 หัวข้อเรื่อง “งานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาท้องถิ่น” เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2559 ณ ห้องอิมพีเรียลแกรนด์ฮอล์ โรงแรมอิมพิเรียลแม่ปิง จังหวัดเชียงใหม่ จัดโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.ภาคเหนือ) ตามหนังสือที่ ศธ 0523.4.4/350 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2559 การเข้าร่วมการประชุมวิชาการ ประจำปี 2559 ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.ภาคเหนือ) ในครั้งนี้ได้ฟังการนำเสนอโครงการวิจัย เรื่อง อาหารผสมครบส่วนจากเปลือกข้าวโพดเพื่อการเลี้ยงโคเนื้อ และ การเสริมซังข้าวโพดปรับสภาพเพื่อลดต้นทุนอาหารไก่พื้นเมือง โดย ดร.มนตรี ปัญญาทอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยได้มีการใช้เปลือกข้าวโพดที่เป็นวัสดุเหลือทิ้งเป็นองค์ประกอบสำหรับการเลี้ยงโคขุน และเป็นอาหารไก่พื้นเมือง ในจังหวัดพะเยา เป็นการช่วยลดต้นทุนค่าอาหารและเป็นทางเลือกในช่วงที่อาหารขาดแคลน เรื่อง ผลิตภัณฑ์กัมมี่เยลลี่ผักเชียงดาเพื่อสุขภาพ โดย ดร.ภัทราภรณ์ ศรีสมรรถการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ในผักเชียงดาเป็นพืชสมุนไพรที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ที่สามารถยับยั้งการดูดซึม ลดน้ำตาล ลดการแตกตัวของเม็ดเลือดแดง นอกจากทานใบสดแล้วยังสามารถนำมาแปรรูปผลิตภัณฑ์ได้หลายอย่าง เช่น เครื่องดื่มผักเชียงดาสกัด ผักเชียงดาสกัดแคปซูล เป็นต้น จึงคิดค้นพัฒนาผลิตภัณฑ์กัมมี่เยลลี่ที่สามารถรับประทานได้ง่ายทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เรื่อง วัสดุปลูกจากซังข้าวโพดทดแทนกาบมะพร้าวเพื่อการปลูกพืชไร้ดิน โดย รองศาสตราจารย์ ดร.โชค โสรัจกุล มหาวิทยาลัยพะเยา โดยทั่วไปการปลูกพืชไร้ดินจะใช้กาบมะพร้าวสับเป็นวัสดุปลูก ในอำเภอปง จังหวัดพะเยา มีพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อยู่เป็นจำนวนมาก จึงได้มีแนวคิดในการประยุกต์ใช้เศษเหลือจากการปลูกข้าวโพดมาเป็นวัสดุปลูกสำหรับการผลิตผักเศรษฐกิจแก่เกษตรกร โดยได้มีการทดลองใช้ส่วนต่างๆ ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เช่น เปลือกฝัก ซังข้าวโพด และต้นแห้ง มาพัฒนาเป็นวัสดุปลูกพริกหวานเปรียบเทียบกับการใช้กาบมะพร้าว ใช้ระบบการให้ปุ๋ยเป็นแบบสารละลายธาตุอาหารพืช จากการทดลองพบว่าสามารถใช้ซังข้าวโพดและต้นแห้งของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มาเป็นวัสดุปลูกทดแทนการใช้กาบมะพร้าวได้ เรื่อง ปุ๋ยอินทรีย์น้ำเข้มข้นจากมูลหนอนไหมอีรี่ ผู้วิจัย ดร.ชัยอาทิตย์ อิ่นคำ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำเสนอโดย คุณเจิมขวัญ ศรีสวัสดิ์ ในกระบวนการเลี้ยงไหมอีรี่จะพบมูลปริมาณมาก โดยเกษตรกรบางท่านได้นำมูลของหนอนไหมอีรี่มาตากแห้ง และนำไปใช้เป็นปุ๋ยให้กับต้นลำไยพบว่า ลำไยมีการเจริญเติบโตที่ดี ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำจากมูลหนอนไหม เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงไหมอีรี่อีกทางหนึ่ง และเนื่องด้วยไหมอีรี่เป็นสัตว์กินพืชที่กินอาหารเพียง 2 ชนิด คือ ใบละหุ่ง และใบมันสำปะหลัง ทำให้มูลไหมอีรี่มีธาตุอาหารที่คงที่ แตกต่างจากมูลสัตว์ชนิดอื่นๆ ที่กินอาหารหลายชนิด และพบว่าในมูลไหมอีรี่มีปริมาณธาตุไนโตรเจนที่สูงถึง 5.81 กรัม/100 กรัม จึงเหมาะแก่การนำมาพัฒนาเป็นปุ๋ยน้ำอินทรีย์ ซื่งเมื่อพัฒนาได้เป็นผลิตภัณฑ์ปุ๋ยน้ำแล้วมูลไหมอีรี่มีปริมาณธาตุไนโตรเจน 0.16% ซึ่งสูงกว่ามูลค้างคาว และมูลไส้เดือนดิน ด้วยปริมาณธาตุไนโตรเจนที่สูง จึงเหมาะในการใช้ปุ๋ยน้ำอินทรีย์นี้สำหรับการปลูกผักใบ เช่น ผักกาดหอม ผักกาดแก้ว การนำไปใช้ประโยชน์ สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ไปเป็นแนวทางในการบูรณาการในการสร้างสรรค์งานวิจัยและการเรียนการสอนวิชาทางกลุ่มพืชต่อไป

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=569
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
Data Science คืออะไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร » Data Science คืออะไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร
Data Science หรือ วิทยาการข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ โดยครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บข้อมูล (Collect) การจัดการข้อมูล (Manage) การวิเคราะห์ข้อมูล (Analyze) ไปจนถึงขั้นตอนการนำข้อมูลมาช...
Data Science  วิทยาการข้อมูล     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ธวัชชัย เพชรธาราทิพย์  วันที่เขียน 24/4/2567 13:27:01  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/5/2567 8:59:07   เปิดอ่าน 25  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 ในวันที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 08.00 - 17.00 น. ณ ห้องเอกภพวิทยา ชั้น G อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดย...
ChatGPT  การประชุมวิชาการ  เทคโนโลยี  วิทยาศาสตร์  สิ่งแวดล้อม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 11/4/2567 15:19:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/5/2567 21:29:20   เปิดอ่าน 42  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม สัมมนาหรือประชุมวิชาการ » รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิริพร สมุทรวชิรวงษ์  วันที่เขียน 2/4/2567 16:14:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/5/2567 8:58:35   เปิดอ่าน 67  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง