สรุปรายงานการอบรม: การประยุกต์ใช้เทคนิคทางชีวโมเลกุลในการประเมินด้านการเกษตร สิ่งแวดล้อม และ การวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
วันที่เขียน 6/6/2559 14:49:56     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/4/2568 2:57:54
เปิดอ่าน: 3871 ครั้ง

ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเกิดภัยพิบัติที่รุนแรง การเสื่อมโทรม และการทำลายทัพยากรธรรมชาติ ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอย่างมาก โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของแหล่งน้ำมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในน้ำอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต แหล่งที่อยู่อาศัย ปริมาณอาหาร การขยายเผ่าพันธุ์ จำนวนและชนิดของสิ่งมีชีวิต การเจริญเติบโต เป็นต้น กระบวนการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตในน้ำมีปัจจัยควบคุมทั้งภายใน (พันธุกรรม) และภายนอก(ถิ่นที่อยู่อาศัย คุณภาพและปริมาณอาหาร อุณหภูมิ แสงสว่าง) ซึ่งในการศึกษากระบวนการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตในน้ำจะใช้วิธีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการย่อยโปรตีนและประสิทธิภาพการใช้อาหารของสิ่งมีชีวิต

             โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ  เรื่อง “การประยุกต์ใช้เทคนิคทางชีวโมเลกุลในการประเมินด้านการเกษตร สิ่งแวดล้อม และ การวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” (Biomolecular techniques Development and Implementation for Agriculture, Environmental and Climate Change Research) ในระหว่างวันที่ 2 – 4 พฤษภาคม 2559 ณ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยได้รับฟังบรรยาย และฝึกทำปฏิบัติการ จาก Dr. Krisna Rungruangsak-Torrissen จากสมาคมนักวิจัยวิชาชีพไทยในภูมิภาคยุโรปราชอาณาจักรนอร์เวย์ และผู้ช่วยวิทยากร จาก คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

            ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเกิดภัยพิบัติที่รุนแรง การเสื่อมโทรม และการทำลายทัพยากรธรรมชาติ ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอย่างมาก โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของแหล่งน้ำมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในน้ำอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต แหล่งที่อยู่อาศัย ปริมาณอาหาร การขยายเผ่าพันธุ์  จำนวนและชนิดของสิ่งมีชีวิต  การเจริญเติบโต เป็นต้น กระบวนการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตในน้ำมีปัจจัยควบคุมทั้งภายใน (พันธุกรรม) และภายนอก (คุณภาพและปริมาณอาหาร  อุณหภูมิ  แสงสว่าง ถิ่นที่อยู่อาศัย) ซึ่งในการศึกษากระบวนการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตในน้ำจะใช้วิธีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการย่อยโปรตีนและประสิทธิภาพการใช้อาหารของสิ่งมีชีวิต

             ในการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ได้รับฟังหัวข้อบรรยายจาก Dr. Krisna Rungruangsak-Torrissen  เรื่องความสำคัญของการศึกษา Genetic variation in expression of trypsin isozymes ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการย่อยอาหารและการเจริญเติบโตของสัตว์และสัตว์น้ำ  ความสำคัญของประสิทธิภาพของเอนไซม์ย่อยอาหารต่อการประเมินคุณภาพของอาหารและการเจริญเติบโต  ความสำคัญของการศึกษา In vitro digestibility ของโปรตีน และคาร์โบไฮเดรทในอาหาร และ ความสำคัญของการศึกษาคุณภาพของกล้ามเนื้อ (Muscle) และไข่ (Oocytes) ต่อการประเมินคุณภาพของการเจริญเติบโตและการเจริญพันธุ์ของสัตว์ และสัตว์น้ำ โดยได้ชี้ให้เห็นว่าอาหารประเภทโปรตีนมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศได้ โดยใช้อัตราส่วนระหว่าง Trypsin specific activity และ Chymotrypsin specific activity (T/C ratio) เป็นตัวบ่งชี้ และทำนาย การเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ต่างกัน การได้รับชนิดและคุณภาพอาหารต่างกัน หรือ มาจากกลุ่มประชากรที่แตกต่างกันได้ นอกจากนี้เทคนิคและเครื่องมือทางด้านชีวโมเลกุล ยังสามารถพัฒนา และนำมาประยุกต์ใช้ในการประเมินคุณภาพการเจริญเติบโตโดยการศึกษาปริมาณ RNA และ โปรตีน และ RNA/Protein ratio เพื่อศึกษาคุณภาพของกล้ามเนื้อ และคุณภาพของไข่ ในช่วงการการเจริญพันธุ์

           นอกจากนี้ได้ฝึกปฏิบัติการเกี่ยวกับ วิธีการหาค่า Protease specific activity, วิธีการหาค่า Amylase specific activity, วิธีการหาค่า In vitro digestibility โดย วิธี TNBS และ DNS, วิธีการหาค่า Trypsin specific activity และ Chymotrypsin specific activity, วิธีการหาปริมาณ RNA และโปรตีน และ การวิเคราะห์ Trypsin Isozymes ด้วยเทคนิค SDS-PAGE  ทำให้ทราบ และความเข้าใจในวิธีการทำปฏิบัติการ การคำนวณหาค่า Trypsin specific activity และ Chymotrypsin specific activity (T/C ratio) มากยิ่งขึ้น และสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน และงานวิจัย ในการประเมินเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของสัตว์ และสัตว์น้ำ และสามารถทำนายความสัมพันธ์ระหว่างการเจริญเติบโตของสัตว์ และสัตว์น้ำ กับสภาพแวดล้อม หรือสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปได้ เป็นศาสตร์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบันนี้ จากการใช้สภาพจริงในการทำนายผลการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อจะได้มีการวางแผนในการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนต่อไป

 

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 6
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 6 ในวันที่ 27 มีนาคม 2568 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดยคณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการประมงแ...
การประชุมวิชาการ  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 2/4/2568 23:04:27  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/4/2568 2:53:23   เปิดอ่าน 13  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์ » การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์
การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์เป็นกระบวนการที่ใช้ตรวจสอบว่าคำตอบของสมการเชิงอนุพันธ์มีแนวโน้มที่จะคงที่หรือเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเวลาผ่านไป โดยทั่วไป การพิจารณาเสถียรภาพขึ้นอยู่กับพฤต...
การหาเสถียรภาพ  สมการเชิงอนุพันธ์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ธวัชชัย เพชรธาราทิพย์  วันที่เขียน 7/3/2568 14:18:42  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 21:03:27   เปิดอ่าน 86  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ รุ่นที่ ๕ : จากหลักการสู่การปฏิบัติ
จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ ในทางปฏิบัติมีความจำเป็นจะต้องพิจารณาก่อนที่จะดำเนินการวิจัย โดยยึดหลักตามหลักการของ Belmont Report and Basic Ethical (1978) ประกอบด้วย 3 หลักกา...
จริยธรรมวิจัย  พฤติกรรมศาสตร์  วิจัยในมนุษย์  สังคมศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 26/2/2568 16:09:31  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/4/2568 1:48:33   เปิดอ่าน 129  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง