การนำเสนอผลงานใน Asian Conference on Engineering and Natural Science
วันที่เขียน 14/3/2559 12:09:42     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 14:43:09
เปิดอ่าน: 1298 ครั้ง

การประชุมวิชาการ “Asian Conference on Engineering and Natural Sciences" จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 - 3 กุมภาพันธ์ 2559 เป็นงานประชุมวิชาการในระดับนานาชาติที่รวบรวมงานวิจัยจากนักวิจัยหลากหลายสาขา เช่น วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ การศึกษา เป็นต้น โดยมีการนำเสนอผลงานทั้งรูปแบบบรรยายและโปสเตอร์ และได้รับความสนใจจากนักวิจัยจากสาขาที่เกี่ยวข้องอีกด้วย ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงานในครั้งนี้คือ เพื่อเป็นแรงผลักดันในการทำงานวิจัย อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาผลงานวิจัยไปสู่ระดับนานาชาติ แลกเปลี่ยนความรู้และฝึกทักษะสมรรถนะหลักความสามารถในการทำงานวิจัยและใช้ภาษาต่างประเทศ

จากการเข้าร่วมงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “Asian Conference on Engineering and Natural Sciences" ระหว่างวันที่ 30 มีนาคม 2559 ถึงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559  ตามใบขออนุมัติเดินทางไปนำเสนอผลงานภาคบรรยายที่ ศธ 0523.4.7 /3  ลงวันที่ 4 มกราคม  2559  ซึ่งการเข้าร่วมงานประชุมวิชาการในระดับนานาชาติดังกล่าว ข้าพเจ้าได้นำเสนอผลงานทางวิชาการเรื่อง " Comparison of Individual  and Composite  Methods for Monthly Gold Price Estimation" โดยในงานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเกี่ยวกับเทคนิคการพยากรณ์ โดยเป็นการเปรียบเทียบเทคนิคการพยากรณ์ระหว่าง วิธีการพยากรณ์เดียว และ วิธีการพยากรณ์รวม ข้าพเจ้าได้เลือกใช้วิธีพยากรณ์เดียวที่เป็นที่รู้จักและมีการนำไปประยุกต์ใช้กันอย่างแพร่หลาย 2 วิธีคือ วิธีอารีมาและวิธีการปรับให้เรียบ แล้วจึงนำวิธีการพยากรณ์เดียวทั้งสองวิธีรวมกัน กลายเป็นวิธีพยากรณ์รวม อีก 4 วิธีคือ วิธีค่าเฉลี่ยเชิงเดียว วิธีมัชฌิมฮาร์มอนิค วิธีมัชฌิมเรขาคณิต และวิธีพยากรณ์รวมโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอย จากผลการศึกษาพบว่าวิธีการพยากรณ์รวมให้ค่าคลาดเคลื่อนจากการพยากรณ์น้อยกว่าเมื่อเทียบกับวิธีพยากรณ์เดียว ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยหลายงานวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ลงในวารสารในระดับนานาชาติที่ว่า การพยากรณ์รวมให้ค่าคลาดเคลื่อนที่ต่ำกว่า โดยในปัจจุบันนี้ยังมีนักสถิติพยายามที่จะพัฒนาวิธีการพยากรณ์รวม ซึ่งจะพบว่าในขณะนี้วิธีไฮบริดจ์เป็นวิธีการพยากรณ์รวมที่มีชื่อเสียงและถูกนำไปประยุกต์ใช้ในศาสตร์แขนงต่างๆไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ เป็นต้น จากการเข้าร่วมการนำเสนอผลงานในครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการกับนักวิจัยที่เข้าร่วมงานประชุมในครั้งนี้ อีกทั้งยังเป็นแนวทางให้ข้าพเจ้าได้ต่อยอดงานวิจัยต่อไปในอนาคต

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=481
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดสอบระบบ Dugga » เรียนรู้การใช้งานระบบ Dugga - Digital Assessment Platform
Dugga - Digital Assessment Platform (https://www.dugga.com) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสอบ บนโลกออนไลน์ ให้สะดวก ปลอดภัยมากขึ้น แนวทางการออกแบบประเภทคำถามมีหลากหลายกว่า 15 ประเภท แนะการจัดการระบบความปล...
AI  Dugga  Exam     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 9/7/2567 12:31:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 11:47:10   เปิดอ่าน 26  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน วิทยากรโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ  การตีพิมพ์ผลงาน  จริยธรรมการวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 7/7/2567 15:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 7:01:51   เปิดอ่าน 23  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ กรรมการ กพว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้เกียรติบรรยายเกี่ยวกับ หลักเก...
ตำแหน่งทางวิชาการ  ประกาศ ก.พ.อ.     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:15:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 2:37:51   เปิดอ่าน 46  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » ความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE
เป็นประเด็นที่ผู้ประเมินอาจเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE โดยที่ประเด็นต่าง ๆ ที่นำมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อใช้ในการเป็นผู้ประเมินเพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ให้เป็นไปในทิศทางเดี...
AUNQA  OBE  ประกันคุณภาพการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:04:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 4:48:37   เปิดอ่าน 42  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง