จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการในการพิจารณากำหนดตำแหน่งวิชาการ
วันที่เขียน 28/3/2566 16:22:33     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/4/2567 4:26:22
เปิดอ่าน: 267 ครั้ง

ในการยื่นขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการตามเกณฑ์ กพอ. พ.ศ. 2564 ผลงานทางวิชาการที่มีการใช้ข้อมูลจากการทำวิจัยในคนหรือสัตว์ ผู้ขอกำหนดตำแหน่งวิชาการจะต้องยื่นหลักฐานแสดงการอนุญาตจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยของสถาบันที่มีการดำเนินการ ผลงาน วิชาการที่ยื่นขอกำหนดตำแหน่งวิชาการจะต้องเป็นต้นฉบับที่ถูกต้อง ทำโดยผู้วิจัย/คณะผู้วิจัยเอง มีความคิดริเริ่มในการทำงาน การออกแบบ งานวิจัย ออกแบบงานทดลอง ผลงานวิจัยที่ใหม่ ได้ข้อค้นพบแปลกใหม่

ตามที่ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาศัยภาพบุคลากรสายวิชาการเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการเรื่อง จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการในการพิจารณากำหนดตำแหน่งวิชาการเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 ณ สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.โยธิน แสวงดี เป็นวิทยากร ในการยื่นขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการตามเกณฑ์ กพอ. พ.ศ. 2564 ผลงานทางวิชาการที่มีการใช้ข้อมูลจากการทำวิจัยในคนหรือสัตว์ผู้ขอกำหนดตำแหน่งวิชาการจะต้องยื่นหลักฐานแสดงการอนุญาตจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยของสถาบันที่มีการดำเนินการ  เนื่องจากวิทยากรผู้บรรยาย เป็นนักวิชาการด้านสังคมศาสตร์ ดังนั้นจะเน้นหลักจริยธรรมการวิจัยในคน ซึ่งประกอบด้วย หลักการด้านพิทักษ์สิทธิและเคารพต่อบุคคล หลักการเน้นคุณประโยชน์ เน้นความปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดอันตรายและเสียหายต่อบุคคล และหลักการที่เน้นความยุติธรรม 

นอกจากนี้วิทยากรยังได้ให้เกร็ดความรู้เกี่ยวกับการทำวิจัยที่จะเป็นผลงานในการยื่นขอตำแหน่งวิชาการ ดังนี้ 1. งานวิจัย/บทความวิจัย ต้องเป็นต้นฉบับที่ถูกต้อง 2. งานวิจัย/บทความวิจัย ทำโดยผู้วิจัย/คณะผู้วิจัยเอง 3. งานวิจัย/บทความวิจัย ต้องแสดงถึงความคิดริเริ่มในการทำงาน การออกแบบงานวิจัย การออกแบบการทดลอง 4. งานวิจัย/บทความวิจัยต้องได้ข้อค้นพบแปลกใหม่ ตัวอย่างเช่น ในการอภิปรายผล หากมีแต่คำว่าสอดคล้อง สอดคล้อง และ สอดคล้องกับงานวิจัยอื่น ๆ ที่ทบทวนมา แสดงว่างานวิจัย/บทความวิจัยไม่เกิดความแปลกใหม่ 5. ผู้วิจัยต้องไม่สร้างข้อมูลโดยไม่เกิดขึ้นจริง ไม่ดัดแปลง ไม่ตัดต่อ หรือปกปิดบิดเบือนเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจผิด 6. ผู้วิจัยต้องไม่คัดลอกหรือลอกเลียนงานของผู้อื่นโดยมิชอบ รวมทั้งการคัดลอกงานของตนเอง ซึ่งไม่เป็นประโยชน์  ไม่เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการ 7. การเป็นผู้นิพนธ์โดยไม่เหมาะสม อีกทั้งยังมีประเด็นปลีกย่อย เช่น ความซ้ำซ้อนของเนื้อหา ควรอยู่ที่ 9-22% หากเป็น 0 % ถือว่าไม่มีความเป็นวิชาการ สำหรับการแสดงเอกสารรับรองจริยธรรมการวิจัยในคนหรือสัตว์ สามารถระบุในหัวข้อวิธีดำเนินการวิจัยของงานวิจัย/บทความวิจัย  วิทยากรแนะนำว่าในการยื่นผลงานวิชาการเพื่อขอกำหนดตำแหน่งควรใช้ผลงานเท่าที่กำหนดขั้นต่ำ 

จากการบรรยายของวิทยากร ข้าพเจ้าสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนรายวิชา สต 491 การศึกษาหัวข้อสนใจ โดยวิชานี้นักศึกษาต้องจัดทำรายงานในหัวข้อที่ตนเองสนใจโดยใช้ความรู้ทางสถิติ ประยุกต์กับข้อมูลจริง และมีการตรวจสอบความซ้ำซ้อนของเนื้อหาโดยใช้อักขราวิสุทธิ์ ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง และใช้ในการเรียนการสอนรายวิชา 10304111 การจัดการและการเก็บรวบรวมข้อมูลทางสถิติ ซึ่งในการเก็บรวบรวมข้อมูลอาจมีทั้งข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ อธิบายให้นักศึกษาทราบถึงจริยะรรมการวิจัย ทำงานวิจัยโดยไม่ขัดต่อจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ

และข้าพเจ้ายังได้ใช้ความรู้จากการเข้าร่วมโครงการฯ ดำเนินกิจกรรมการจัดการความรู้ระดับหลักสูตร เรื่องสิทธิผลประโยชน์ บทบาทหน้าที่ และเสรีภาพทางวิชาการ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2566 เพื่อตอบโจทย์การประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร เน้นให้บุคลากรในหลักสูตรเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตน การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการโดยไม่ขัดต่อจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ อีกทั้งแนะนำให้บุคลากรในหลักสูตรศึกษาเนื้อหาใน พรบ.การอุดมศึกษา 2562 ด้วย

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1338
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
Data Science คืออะไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร » Data Science คืออะไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร
Data Science หรือ วิทยาการข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ โดยครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บข้อมูล (Collect) การจัดการข้อมูล (Manage) การวิเคราะห์ข้อมูล (Analyze) ไปจนถึงขั้นตอนการนำข้อมูลมาช...
Data Science  วิทยาการข้อมูล     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ธวัชชัย เพชรธาราทิพย์  วันที่เขียน 24/4/2567 13:27:01  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/4/2567 1:34:10   เปิดอ่าน 16  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 ในวันที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 08.00 - 17.00 น. ณ ห้องเอกภพวิทยา ชั้น G อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดย...
ChatGPT  การประชุมวิชาการ  เทคโนโลยี  วิทยาศาสตร์  สิ่งแวดล้อม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 11/4/2567 15:19:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/4/2567 1:34:11   เปิดอ่าน 30  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม สัมมนาหรือประชุมวิชาการ » รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิริพร สมุทรวชิรวงษ์  วันที่เขียน 2/4/2567 16:14:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/4/2567 1:49:18   เปิดอ่าน 52  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง