ในปัจจุบันมีการพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ เช่น โครงการรักษ์ลำน้ำ พัฒน์สิ่งแวดล้อม จากภูผาสู่มหานที ตามศาสตร์พระราชา ซึ่งเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อให้ประเทศพัฒนาไปอย่างยั่งยืน โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา ซึ่งโครงการทั้งหมดนี้ ได้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประชากรและพัฒนาประเทศ มีทั้งการพัฒนางานวิจัยในกลุ่มเรื่องอาหาร อาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทานต่าง ๆ (ข้าวพองอบกรอบ น้ำนมข้าว ปลาร้าผง) ข้าวที่ปลูกจากดินภูเขาไฟ หรืออาหารรับประทานเล่น (แครกเกอร์ทุเรียน) การพัฒนาอาหารสำหรับสัตว์ (อาหารสำหรับช้าง) การผลิตน้ำส้มสายชูหมักจากไวน์ข้าว และกลุ่มผลิตภัณฑ์จากผลิตผลทางการเกษตร เช่น เครื่องสำอางชะลอความชราที่ใช้สารสกัดจากข้าวมันปู หรือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (น้ำมันตับปลา) เป็นต้น
สำหรับงานวิจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาหาร เช่น การพัฒนาสีย้อมเพื่อผลิตผ้าไทยในรูปแบบต่าง ๆ การออกแบบเสื้อผ้าจากผ้าไทย (ขุดกระโปรง เสื้อ หรือกางเกง) การเขียนลายลงบนร่ม การออกแบบเครื่องประดับ การพัฒนามงกุฎเจ้าสาวจีน (วัฒนธรรมบาบ๋าย่าหยา จังหวัดภูเก็ต) นาฏศิลป์ โครงการพัฒนาปรับปรุงที่พักอาศัยร่วมกับชุมชน (เยาวราช) ตลอดจนงานวิจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อชาวไทยในเขตพื้นที่ต่าง ๆ
ซึ่งมหกรรมงานวิจัยนี้ ช่วยกระตุ้นให้เกิดแนวคิดในการพัฒนางานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และมีความสนใจจะนำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมชุมชนมาร่วมด้วย เช่น การใช้ผลิตภัณฑ์ชุมชน (ถุงผ้า ตะกร้าสาน) มาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้เกิดเอกลักษณ์และมีการผสานงานวิจัยในเชิงวิทยาศาสตร์และสังคมเข้าด้วยกัน