การใช้ Flow Cytometry ในการศึกษาโครโมโซมในเซลล์พืช
วันที่เขียน 15/3/2558 22:03:55     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 1:36:30
เปิดอ่าน: 14812 ครั้ง

Flow cytometry เป็นวิธีการที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์เซลล์ ด้วยการฉายแสงเลเซอร์ลงสู่เซลล์ที่ผ่านการย้อมสารเรืองแสง แล้ววัดการเรืองแสงที่เกิดขึ้นบนผิวเซลล์หรือภายในเซลล์ โดยแต่ละเซลล์จะถูกบีบให้เคลื่อนที่ผ่านเครื่องทีละ 1 เซลล์ หรือเป็นเซลล์เดี่ยวๆ เทคนิคนี้มีความไวสูง และสามารถตรวจวัดเซลล์ได้เป็นจำนวนมากด้วยความรวดเร็ว เครื่องจะทำการแปลสัญญาณแสงที่หักเห และสะท้อนกลับ ออกมาเป็นกราฟ การอ่านผลจะต้องเปรียบเทียบกับกราฟมาตรฐาน จึงจะสามารถบอกความแตกต่างของตัวอย่างได้ มีการประยุกต์ใช้เทคนิค Flow cytometry ในงานต่างๆ เช่น การตรวจหาความผิดปกติในโครโมโซม การตรวจหาเซลล์มะเร็งเพื่อติดตามผลการรักษา การตรวจหา Autoantibodies บนผิวเซลล์ในโรค Autoimmune ต่างๆ การทดสอบประสิทธิภาพของยาที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย เป็นต้น สำหรับงานวิจัยทางพืชได้มีการนำ Flow cytometry มาใช้ในการศึกษาปริมาณ DNA และจำนวนชุดโครโมโซมในกล้วยไม้

การใช้ Flow Cytometry ในการศึกษาโครโมโซมในเซลล์พืช

การศึกษาโครโมโซมในเซลล์พืชแต่ละชนิด จะใช้เทคนิคในการตรวจนับจำนวนโครโมโซมที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน อาจมีการดัดแปลงวิธีการในบางขั้นตอนเพื่อให้เหมาะสมกับชนิดของพืชชนิดนั้นๆ โดยมากจะนำเนื้อเยื่อเจริญบริเวณปลายราก ปลายยอด หรือดอกอ่อน มาใช้ในการศึกษา ซึ่งจะนำมาแช่ในสารละลายโคลชิซีน หรือ 8-hydroxyquinoline และตรึงในน้ำยา fixative (ethanol 3 ส่วน : acetic acid 1 ส่วน) จากนั้นนำไปย้อมสี aceto-orcein กดทับบนสไลด์ และตรวจนับจำนวนโครโมโซมภายใต้กล้องจุลทรรศน์  วิธีนี้มีข้อดีคือประหยัด ราคาถูก แต่ก็มีข้อเสียคือ ไม่สามารถนับจำนวนโครโมโซมได้ในทุกเซลล์ เนื่องจากในการนับจำนวนต้องอาศัยเซลล์ที่อยู่ในระยะเมทาเฟส ซึ่งทำได้ยาก และต้องใช้ฝีมือในการเตรียมสไลด์เป็นอย่างดี จึงจะสามารถเห็นโครโมโซมได้ และในพืชที่มีโครโมโซมขนาดเล็กมาก จะมีความลำบากในการนับ วิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าว งานวิจัยทางพืชในปัจจุบันจึงได้มีการนำเอาเทคนิคการตรวจนับจำนวนโครโมโซมโดยใช้เครื่อง Flow cytometry เข้ามาช่วย  

Flow cytometry เป็นวิธีการที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์เซลล์ ด้วยการฉายแสงเลเซอร์ลงสู่เซลล์ที่ผ่านการย้อมสารเรืองแสง แล้ววัดการเรืองแสงที่เกิดขึ้นบนผิวเซลล์หรือภายในเซลล์ โดยแต่ละเซลล์จะถูกบีบให้เคลื่อนที่ผ่านเครื่องทีละ 1 เซลล์ หรือเป็นเซลล์เดี่ยวๆ เทคนิคนี้มีความไวสูง และสามารถตรวจวัดเซลล์ได้เป็นจำนวนมากด้วยความรวดเร็ว เครื่องจะทำการแปลสัญญาณแสงที่หักเห และสะท้อนกลับ ออกมาเป็นกราฟ การอ่านผลจะต้องเปรียบเทียบกับกราฟมาตรฐาน จึงจะสามารถบอกความแตกต่างของตัวอย่างได้ มีการประยุกต์ใช้เทคนิค Flow cytometry ในงานต่างๆ เช่น การตรวจหาความผิดปกติในโครโมโซม การตรวจหาเซลล์มะเร็งเพื่อติดตามผลการรักษา การตรวจหา Autoantibodies บนผิวเซลล์ในโรค Autoimmune ต่างๆ การทดสอบประสิทธิภาพของยาที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย เป็นต้น   สำหรับงานวิจัยทางพืชได้มีการนำ Flow cytometry มาใช้ในการศึกษาปริมาณ DNA และจำนวนชุดโครโมโซมในกล้วยไม้ โดยนำเนื้อเยื่อจากใบอ่อน ดอก และราก มาตัดเป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อทำให้นิวเคลียสหลุดออกมาจากเซลล์ นำนิวเคลียสไปย้อมสารสีเรืองแสง และตรวจวัดปริมาณ DNA โดยใช้เครื่อง Flow cytometry จะพบว่าพืชที่มี 4n จะมีปริมาณ DNA เป็น 2 เท่า ของพืชที่มี 2n ซึ่งการวัดด้วยวิธีนี้จะมีความรวดเร็วและแม่นยำสูง

 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=356
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สรุปรายงานจากการอบรม » การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการอ่านลำดับสายยาวด้วย oxford nanopore sequencing
ทคโนโลยี nanopore เป็นเทคโนโลยีการหาลำดับ DNA และ RNA แบบสายยาวต่อเนื่อง โดยไม่ต้องใช้กระบวนการสังเคราะห์ DNA ต้นแบบ ไม่ทำต้องปฏิกิริยา PCR จึงทำให้การวิเคราะห์ลำเบสต่างๆมีความแม่นยำ รวดเร็ว และประ...
DNA sequencing, nanopore technology     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน วริศรา สุวรรณ  วันที่เขียน 17/4/2567 14:00:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/4/2567 13:52:49   เปิดอ่าน 18  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
พัฒนาตนเอง-นงคราญ » “การผลิตคราฟต์เบียร์ ขนาด 20 ลิตร"
จากการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร “อุดมคติ On Tour" เรื่องหัวข้อ “การผลิตคราฟต์เบียร์ ขนาด 20 ลิตร วันที่ 25 พฤศจิกายน 2566 ได้รับความรู้เกี่ยวกับการผลิตคราฟต์เบียร์ ...
กลุ่มงานช่วยวิชาการ  การผลิตคราฟต์เบียร์  เบียร์ (ฺBeer)  พัฒนาตนเอง  อบรม  อบรมเชิงปฏิบัติการ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน นงคราญ พงศ์ตระกุล  วันที่เขียน 9/1/2567 14:47:56  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/4/2567 0:58:59   เปิดอ่าน 708  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การประชุมวิชาการระดับชาติ » งานประชุมวิชาการระดับชาติประจำปี 2566 เรื่อง นวัตกรรมเกษตรอาหาร และสุขภาพ
จากการได้เข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติซึ่งการจัดการประชุมเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรทางการศึกษา วิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการเกษตร อาหาร สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน ภานรินทร์ ปรีชาวัฒนากร  วันที่เขียน 4/1/2567 14:54:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/4/2567 11:50:20   เปิดอ่าน 132  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง