สรุปเนื้อหาการเข้าประชุมวิชาการแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2561-2
วันที่เขียน 27/3/2562 16:12:06     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 23:01:25
เปิดอ่าน: 2114 ครั้ง

ได้เข้าร่วมประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2561 ระหว่างวันที่ 11-12 ธันวาคม 2561 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับความรู้เกี่ยวกับการทำการเกษตรยุคดิจิทอล ซึ่งเป็นการทำการเกษตรสมัยใหม่ หรือเรียกว่า เกษตรอัจฉริยะ โดยการนำเทคโนโลยี เครื่องจักร หุ่นยนต์ และอื่น ๆ ที่มีความแม่นยำสูงเข้ามาปรับปรุงและประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำการเกษตร ซึ่งเป็นการพัฒนาให้ไทยก้าวไปสู่ประเทศดิจิทอลตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และกล่าวถึงเทคโนโลยีแห่งอนาคตเป็นเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และยังได้รับฟังการนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย เรื่อง สมาร์ทฟาร์มเห็ดแม่โจ้ เรื่อง การจัดการองค์ความรู้ในสวนสมุนไพรโดยการประยุกต์ใช้คิวอาร์โค้ด เรื่อง องค์ประกอบฟีนอลิกและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของใบดาหลาเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในเครื่องสำอาง เรื่อง ผลกระทบของการใช้ถ่านชีวภาพร่วมกับการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งในดินปลูกข้าวต่อการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก เรื่อง ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกในงาขี้ม้อนที่เพาะเลี้ยงร่วมกับ Pseudomonas aeruginosa เรื่อง การคัดเลือกแบคทีเรียที่มีความสามารถในการย่อยสลายเซลลูโลสจากดินป่า

ข้าพเจ้า นางสาวสมคิด  ดีจริง ตำแหน่ง อาจารย์  สังกัดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ  ได้เข้าร่วมประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยแม่โจ้  ประจำปี 2561  ระหว่างวันที่   11-12 ธันวาคม 2561  ณ  อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา  มหาวิทยาลัยแม่โจ้  จังหวัดเชียงใหม่  ได้รับความรู้จากการร่วมรับฟังการเสวนา เรื่อง ดิจิทอลพลิกโลกเกษตร  โดยพันเอก  รองศาสตราจารย์ ดร. เศรษฐพงศ์  มะลิสุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญ และที่ปรึกษาด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ซึ่งวิทยากรกล่าวถึง  การทำการเกษตรยุคดิจิทอล ซึ่งเป็นการทำการเกษตรสมัยใหม่ หรือเรียกว่า เกษตรอัจฉริยะ (smart farm หรือ intelligent farm) โดยการนำเทคโนโลยี  เครื่องจักร หุ่นยนต์ และอื่น ๆ ที่มีความแม่นยำสูงเข้ามาปรับปรุงและประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำการเกษตร  ซึ่งเป็นการพัฒนาให้ไทยก้าวไปสู่ประเทศดิจิทอลตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และวิทยากรยังกล่าวถึงยุคเทคโนโลยีแห่งอนาคตเป็นเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence, AI) ซึ่งจะเข้ามาช่วยการให้เกิดการเรียนรู้และสนับสนุนกิจกรรมที่มนุษย์ต้องการให้มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น  และจะเป็นยุคที่มีการนำเทคโนโลยีทางด้านจีโนมิกส์มาเกี่ยวข้องกับการเกษตรและอาหาร  นอกจากนี้ วิทยากรยังกล่าวว่า หลักสูตรทางด้านการศึกษาที่เปิดสอนนักศึกษาควรเป็นหลักสูตรที่ตอบสนองต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วย  และยังได้รับฟังการนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย เรื่อง สมาร์ทฟาร์มเห็ดแม่โจ้  โดยอาจารย์สุภักตร์  ปัญญา ทำให้ทราบว่า มีงานวิจัยที่มีการนำเทคโนโลยีระบบควบคุมและแจ้งเตือนอัจฉริยะ  ผ่านระบบอินเทอเนตโดยอัตโนมัติส่งไปยังสมาร์ทโฟนในฟาร์มเห็ดแม่โจ้ เพื่อให้ทราบถึงสถานะปัจจัยสิ่งแวด-ล้อมภายในโรงผลิตเห็ดโดยติดตั้งเซนเซอร์วัดความชื้น  และควบคุมระบบการเปิดปิดน้ำ นอกจากนี้ ยังมีระบบจัดเก็บบันทึกข้อมูลความชื้นและอุณหภูมิตลอดระยะเวลาการผลิตเห็ด  ซึ่งจะมีการนำระบบสมาร์ทฟาร์มเห็ดแม่โจ้ที่สร้างขึ้น  ไปใช้สำหรับใช้ในการผลิตเห็ดหลินจือสามารถนำมาใช้ได้ผลดี  ซึ่งจากการนำไปทดลองใช้จริงในการผลิตเห็ดหลินจือแล้ว พบว่า ได้ผลความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  และยังได้รับความรู้จากการรับฟังงานวิจัย เรื่อง การจัดการองค์ความรู้ในสวนสมุนไพรโดยการประยุกต์ใช้คิวอาร์โค้ดโดย สมชาย อารยพิทยา      ซึ่งมีการประยุกต์ใช้คิวอาร์โค้ดในการจัดการองค์ความรู้ในสวนสมุนไพรโดย

ใช้คิวอาร์โค้ดช่วยสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ ของพันธุ์ไม้  สมุนไพรในสวนสมุนไพรเฉลิมพระเกียรติจากอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้  และณัฐวุฒิ  หวังสมนึกและคณะ รายงงานผลการวิจัย เรื่อง องค์ประกอบฟีนอลิกและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของใบดาหลาเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในเครื่องสำอาง ซึ่งปริมาณสารกลุ่มฟีนอลิกที่พบในใบดาหลา ได้แก่ isoquercetin, catechin และ gallic acid ส่วนในงานวิจัย ในรูปแบบโปสเตอร์ในสาขาเกษตรศาสตร์ : ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม โดยชฎาภา ใจหมั้น รายงานเรื่อง ผลกระทบของการใช้ถ่านชีวภาพร่วมกับการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งในดินปลูกข้าวต่อการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และสมบัติบางประการของดินเมื่อเปรียบเทียบกับการจัดการน้ำแบบน้ำขัง ซึ่งสรุปว่า การใช้ถ่านชีวภาพร่วมกับการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้ง  ช่วยลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากดินภายใต้การปลูกข้าว  และยังส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง  ทั้งค่า pH  และ NH4+ เพิ่มขึ้น และ %organic matter, available P, Exchangeable K, Ca และ Mg ลดลง  ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางในการลดการใช้น้ำในการปลูกข้าว  และลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้  และศรีกาญจนา  คล้ายเรือง ได้รายงานผลการวิจัยเรื่อง ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกในงาขี้ม้อนที่เพาะเลี้ยงร่วมกับ Pseudomonas aeruginosa พบว่า แบคทีเรีย Pseudomonas aeruginosa ที่แยกได้จากส่วนใบของงาขี้ม้อนมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคได้ดี  และพบว่าใบงาขี้ม้อนที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีปริมาณสารฟีนอลิกสูงกว่าใบงาขี้ม้อนจากแปลงปลูก โดยใบงาขี้ม้อนที่เพาะเลี้ยงในอาหาร MS ผสมตะกอนเซลล์แบคทีเรียเอนโดไฟท์  มีปริมาณ Rosmarinic acid สูง  แสดงว่าให้เห็นว่า  ระบบการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสามารถส่งเสริมการผลิตสารประกอบฟินอลิกในใบงาขี้ม้อนได้ นอกจากนี้  ขวัญจรัส เชิงปัญญา ยังได้รายงานการวิจัยเรื่อง การคัดเลือกแบคทีเรียที่มีความสามารถในการย่อยสลายเซลลูโลสจากดินป่า ซึ่งพบว่า แบคทีเรียที่แยกได้จากดินป่าสามารถผลิตเอนไซม์เอนโดกลูคาเนส  เซลโล-ไบโอไฮโดรเลส และเบต้า-กลูโคซิเดส ได้ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการย่อยวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรได้

  สมคิด ดีจริง

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=938
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 ในวันที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 08.00 - 17.00 น. ณ ห้องเอกภพวิทยา ชั้น G อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดย...
ChatGPT  การประชุมวิชาการ  เทคโนโลยี  วิทยาศาสตร์  สิ่งแวดล้อม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 11/4/2567 15:19:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 10:48:02   เปิดอ่าน 19  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม สัมมนาหรือประชุมวิชาการ » รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิริพร สมุทรวชิรวงษ์  วันที่เขียน 2/4/2567 16:14:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 10:47:48   เปิดอ่าน 39  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศ
การเขียนบทความทางวิชาการเพื่อให้ได้ตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญ และจำเป็นสำหรับบุคลากรสายวิชาาร เนื่องจากหลังจากที่ทำการศึกษา วิจัย ค้นคว้า ทดลองสิ่งใหม่ ๆ ๆได้แล...
Chat GPT  บทความวิชาการ  วารสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 4/3/2567 10:52:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 10:47:07   เปิดอ่าน 75  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง