การใช้ประโยชน์จากของเหลือทิ้งและการคัดเลือกยีสต์ทนแรงดันออสโมติก
วันที่เขียน 11/1/2562 15:33:42     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 22/11/2567 8:38:44
เปิดอ่าน: 2302 ครั้ง

รายงานสรุปการเข้าร่วมประชุมวิชาการของ นางสาวจุฑามาศ มณีวงศ์ ตำแหน่ง อาจารย์ สังกัดสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2561 วันที่ 11-13 ธันวาคม 2561 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ ในงานประชุมวิชาการครั้งนี้ ได้รับความรู้จากงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำส้มสายชูหมักจากน้ำจากการแช่อิ่มแห้ว และงานวิจัยเรื่องการแยกและคัดเลือกยีสต์ชอบแรงดันออสโมติกสูงจากน้ำผึ้งท้องถิ่นเพื่อผลิตเอทานอล โดยสรุปเนื้อหาของงานวิจัยได้ดังนี้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำส้มสายชูหมักจากน้ำจากการแช่อิ่มแห้ว โดย จันทร์เพ็ญ บุตรใส และ เสน่ห์ บัวสนิท ในกระบวนการการผลิตแห้วแช่อิ่ม มีของเหลือทิ้งจากกระบวนการดังกล่าวที่สำคัญได้แก่ น้ำแช่อิ่มแห้ว ทางผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการนำน้ำแช่อิ่มแห้วซึ่งมีน้ำตาลเป็นองค์ประกอบหลัก มาใช้ให้เกิดประโยชน์โดยการนำมาผลิตน้ำส้มสายชู โดยกระบวนการผลิตน้ำส้มสายชูนี้เริ่มจาก นำน้ำแช่อิ่มแห้วมาปรับค่าความหวานด้วยน้ำตาลให้มีค่าเท่ากับ 20 องศาบริกซ์ เพื่อนำไปหมักให้ได้แอลกอฮอล์ด้วยเชื้อยีสต์ Saccharomyces cerevisiae var. Bugundy โดยทำการหมักที่พีเอช 4.5 หมักนาน 4 สัปดาห์ ได้ปริมาณแอลกอฮอล์ร้อยละ 9.33 หลังจากนั้นนำแอลกอฮอล์ที่ได้มาหมักให้เป็นน้ำส้มสายชู โดยนำแอลกอฮอล์ที่ได้มาปรับความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ให้มีความเข้มข้นเริ่มต้นคือ ร้อยละ 5 แล้วหมักน้ำส้มสายชูด้วยเชื้อ Acetobacter aceti TISTR 102 นาน 7 วัน พบว่าได้น้ำส้มสายชูจากน้ำแช่อิ่มแห้วที่มีปริมาณกรดอะซิติกเท่ากับ 2.75 กรัม/100 มิลลิลิตร จากการวิจัยครั้งนี้สามารถนำของเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมทางอาหารมาแปรรูป เป็นการลดปริมาณของเหลือทิ้งและเพิ่มมูลค่าให้กับของเหลือทิ้งดังกล่าว การแยกและคัดเลือกยีสต์ชอบแรงดันออสโมติกสูงจากน้ำผึ้งท้องถิ่นเพื่อผลิตเอทานอล โดยโซเดีย มาหะมะ และคณะ ที่มาของงานวิจัยนี้คือ ในการผลิตเอทานอลในระดับอุตสาหกรรม ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการผลิตคือความเข้มข้นของสารตั้งต้น คือ น้ำตาล เมื่อใช้ความเข้มข้นของสารตั้งต้นสูงก็จะส่งผลให้ได้ผลิตภัณฑ์ก็คือเอทานอลในปริมาณที่สูงด้วย แต่การใช้สารตั้งต้นที่ความเข้มข้นสูงจะส่งผลต่อยีสต์ที่ใช้ในกระบวนการหมัก เนื่องจากไม่สามารถทนต่อแรงดันออสโมติกสูงๆ ได้ งานวิจัยนี้จึงคัดเลือกยีสต์ที่สามารถทนแรงดันออสโมติกสูงจากน้ำผึ้ง 3 แหล่ง ได้แก่ อำเภอบาเจาะ, อำเภอศรีสาคร และ อำเภอรือเสาะ พบว่ายีสต์ 2 ไอโซเลท ได้แก่ BD1-1 และ SC3-3 สามารถหมักอาหาร Yeast Malt Broth ที่มีน้ำตาลกลูโคสเข้มข้นร้อยละ 10 ได้ปริมาณเอทานอลร้อยละ 3.95 เมื่อเปรียบเทียบกับยีสต์ Saccharomyces cerevisiae ซึ่งสามารถผลิตเอทานอลได้ร้อยละ 4.6 จากการเข้าร่วมสัมมนาครั้งนี้ ได้รับความรู้และแนวทางในการใช้ประโยชน์จากของเหลือทิ้ง และการคัดเลือกยีสต์จากน้ำผึ้ง เพื่อใช้ในการเพิ่มมูลค่าจากของเหลือทิ้งและปรับปรุงกระบวนการผลิตเอทานอล ตามลำดับ

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=917
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ » การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
การบริหารจัดการงบประมาณคณะวิทยาศาสตร์ ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ 2567 ได้มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดเพื่อเอื้อต่อการทำงาน และเพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบแนวปฏิ...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน นลิน วงศ์ขัตติยะ  วันที่เขียน 28/9/2567 16:33:52  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 13:36:43   เปิดอ่าน 106  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง