การประชุมวิชาการ เรื่อง “งานวิจัยกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0”
วันที่เขียน 7/9/2561 12:04:46     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 13:20:37
เปิดอ่าน: 3487 ครั้ง

“งานวิจัยกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0” นักวิจัยจะต้องไม่ยึดติดกับงานวิจัยของสาขาตนเองมากไป ต้องประยุกต์ใช้เข้าร่วมกับสาขาวิชาอื่น ๆ ด้วย เพื่อให้งานวิจัยนั้นมีความหลากหลาย และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน และนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เราเน้นการนำวิจัยมาประยุกต์ใช้ให้ได้ในความเป็นจริงพร้อมกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย

การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6 เรื่อง “การประชุมวิชาการ ประจำปี 2560 มหาวิทยาลัยแม่โจ้” ได้กล่าวถึงเรื่อง “งานวิจัยกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พีระพงศ์ ทีฆสกุล โดยวิทยากรกล่าวถึง นักวิจัยจะต้องไม่ยึดติดกับงานวิจัยของสาขาตนเองมากไป ต้องประยุกต์ใช้เข้าร่วมกับสาขาวิชาอื่น ๆ ด้วย เพื่อให้งานวิจัยนั้นมีความหลากหลาย และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน และนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เราเน้นการนำวิจัยมาประยุกต์ใช้ให้ได้ในความเป็นจริงพร้อมกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย 

และมีผลงานวิจัยที่น่าสนใจ ได้แก่

เรื่อง ตัวแบบทางสถิติสำหรับจำนวนผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงของจังหวัดสงขลาในปี พ.ศ. 2554-2558 โดยธีระพงค์ คงเกื้อ ปิยธิดา บุญสนอง สายใจ เพชรคงทอง มูนี หะสา และอิสมะแอ มามะ ได้นำเสนองานวิจัยตัวแบบการถดถอยปัวซงและตัวแบบการถดถอยทวินามเชิงลบเป็นตัวแบบพื้นฐานสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลแจงนับ ดังนั้นจุดมุ่งหมายในการศึกษาคือเพื่อหาตัวแบบที่เหมาะสมสาหรับจำนวนผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงของจังหวัดสงขลาในปี พ.ศ. 2554-2558 ซึ่งจำนวนผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงจำแนกตามตัวแปรอิสระ คือ เพศ กลุ่มอายุ อำเภอ และปีโดยการอธิบายแต่ละตัวแบบ วิเคราะห์และพิจารณากราฟเพื่อใช้ในการเลือกตัวแบบที่เหมาะสม ผลการศึกษาพบว่าตัวแบบการถดถอยทวินามเชิงลบให้ค่า AIC และ BIC น้อยกว่าตัวแบบการถดถอยปัวซงจึงเป็นตัวแบบที่เหมาะสม

เรื่อง การประเมินระบบแถวคอยการให้บริการสถานีปั๊มก๊าซ NGV อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยธนะรัตน์ รัตนกูล กันต์ธมน สุขกระจ่าง และพุฒธิธร ตุกเตียน  ได้นำเสนอผลงานวิจัยเกี่ยวกับศึกษาระดับความพึงพอใจและการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของระบบแถวคอยของสถานีบริการปั๊มก๊าซ NGV โดยการนำแนวคิดของทฤษฎีแถวคอยและการสร้างแบบจำลองสถานการณ์มาใช้ในการวิจัย ซึ่งผลการศึกษาระดับความพึงพอใจของลูกค้ากลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ด้านความพึงพอใจของผู้รับบริการโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยขั้นตอนในการให้บริการมีความคล่องตัวไม่ซับซ้อนในระดับปานกลาง และการให้บริการด้วยความสะดวกรวดเร็วทันตามกำหนดเวลาอยู่ในระดับน้อย ส่วนผลการวิเคราะห์การกระจายของเวลาจากการมาถึงของลูกค้า เป็นแบบ Beta เวลาเฉลี่ย 1.31 นาทีต่อคัน และการกระจายตัวของเวลาให้บริการที่หัวจ่ายก๊าซ NGV เป็นแบบ Lognormal เวลาเฉลี่ย 7.04 นาทีต่อคัน ส่วนผลการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของแถวคอยที่ได้จากการคำนวณในแบบจำลอง ทั้งสิ้น 30 วัน โดยมีเวลาทำงาน ตั้งแต่ 6.00-22.00 น. จำนวนแถวคอย 1 แถว จำนวนหัวจ่าย 4 หัวจ่าย M/M/4 : FCFS / ∞ /∞ พบว่า มีจำนวนลูกค้าเฉลี่ยที่ระบบ (Ls) 4.36 คัน จำนวนลูกค้าเฉลี่ยที่อยู่ในแถวคอย (Lq) 4.10 คัน เวลาเฉลี่ยที่ลูกค้าแต่ละรายอยู่ในระบบ (Ws) 112.51 นาที เวลาเฉลี่ยที่ลูกค้าแต่ละรายอยู่ในแถวคอย (Wq) 105.5 นาที จากข้อมูลดังกล่าวสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการใช้บริการของสถานีบริการปั๊มก๊าซ NGV ต่อไป

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=862
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดสอบระบบ Dugga » เรียนรู้การใช้งานระบบ Dugga - Digital Assessment Platform
Dugga - Digital Assessment Platform (https://www.dugga.com) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสอบ บนโลกออนไลน์ ให้สะดวก ปลอดภัยมากขึ้น แนวทางการออกแบบประเภทคำถามมีหลากหลายกว่า 15 ประเภท แนะการจัดการระบบความปล...
AI  Dugga  Exam     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 9/7/2567 12:31:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 11:47:10   เปิดอ่าน 26  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน วิทยากรโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ  การตีพิมพ์ผลงาน  จริยธรรมการวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 7/7/2567 15:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 7:01:51   เปิดอ่าน 23  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ กรรมการ กพว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้เกียรติบรรยายเกี่ยวกับ หลักเก...
ตำแหน่งทางวิชาการ  ประกาศ ก.พ.อ.     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:15:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 2:37:51   เปิดอ่าน 46  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » ความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE
เป็นประเด็นที่ผู้ประเมินอาจเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE โดยที่ประเด็นต่าง ๆ ที่นำมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อใช้ในการเป็นผู้ประเมินเพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ให้เป็นไปในทิศทางเดี...
AUNQA  OBE  ประกันคุณภาพการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:04:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 4:48:37   เปิดอ่าน 42  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง