ข้าพเจ้านางสาวเจนจิรา ทิพย์ชะ ตำแหน่ง อาจารย์ สังกัด สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ได้เข้าร่วมประชุมวิชาการ ในงานประชุมวิชาการประจำปี 2560 ระหว่างวันที่ 7 – 8 ธันวาคม 2560 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ข้าพเจ้าได้รับฟังการบรรยายพิเศษเรื่อง งานวิจัยกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 โดย รศ. ดร. พีระพงศ์ ทีฆสกุล รองอธิการบดีฝ่ายระบบวิจัยและบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งทำให้ได้รับความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องงานวิจัยกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนางานวิจัยต่อไป นอกจากนี้ ข้าพเจ้าได้เข้ารับฟังการบรรยายเรื่อง การพัฒนาโปรแกรมจำลองพฤติกรรมมอเตอร์ไฟฟ้าสำหรับการเรียนการสอนเชิงปฏิบัติการ โดย อ. ภัควี หะยะมิน ในหัวข้อ ได้ทราบถึงการพัฒนาแอพพลิเคชันคือ Thunkable และ ฐานข้อมูล Firebase ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดตามตำแหน่งที่แม่นยำของรถรับส่งนักเรียนได้ด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ โดยผู้วิจัยได้พัฒนาแอพพลิเคชัน Followsna เพื่อทำหน้าที่แสดงตำแหน่งรถบนแผนที่กูเกิ้ลแมพ และ ได้รับฟังการบรรยายเรื่อง การวิเคราะห์กลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสมด้วยแบบจำลองโลจิตหลายทางเลือกของสินค้าเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดเชียงใหม่ โดย ผศ. พัชรินทร์ สุภาพันธ์ ในหัวข้อ ได้ทราบถึงกลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสมของสินค้าเกษตรอินทรีย์แปรรูป และพืชไร่ ตามทฤษฎีส่วนประสมทางการตลาด ด้วยแบบจำลองโลจิตหลายทางเลือก ต้องให้ความสำคัญกำหนดการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสมซึ่งจะนำไปสู่ความได้เปรียบทางการแข่งขันเพื่อสร้างโอกาสทางการตลาด รวมทั้งได้เดินไปดูการนำเสนอผลงานทางวิชาการภาคโปสเตอร์ เรื่องแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของการแพร่ระบาดโรคอีสุกอีใสเมื่อมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรค ของนายอดิศักดิ์ เด็นเพ็ชรหน๋อง และ นางสาวศรัณญา เฮงสวัสดิ์ ซึ่งเขาได้ศึกษาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อพยากรณ์การระบาดโรคอีสุกอีใสเมื่อมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรค และพบว่าการเพิ่มอัตราการฉีดวัคซีนทำให้ค่าระดับการติดเชื้อและจำนวนผู้ที่ติดเชื้อลดลง จากการที่ข้าพเจ้าได้เข้ารับการฟังในส่วนภาคการบรรยายและภาคโปสเตอร์ในครั้งนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผลงานทางวิชาทางด้านการวิจัยในเชิงประยุกต์ โดยการนำความรู้จากข้อมูลใหม่ๆ ที่ได้จากการประชุม มาประยุกต์ใช้ในการผลิตผลงานทางวิชาการ และการเผยแพร่งานวิจัย อีกทั้งยังเป็นการเปิดโลกทัศน์ ของตนเองในด้านการผลิตผลงานทางวิชาการ นอกจากนี้ยังได้พัฒนาทางวิชาการด้านการเรียนการสอนและการวิจัย โดยการนำความรู้จากการวิจัยและข้อมูลใหม่ๆที่ได้จากการประชุม พบปะผู้เชี่ยวชาญและการแลกเปลี่ยนทางวิชาการและเทคโนโลยีใหม่ในทางคณิตศาสตร์มาใช้ในการทำวิจัยและการถ่ายทอดให้นักศึกษา เพื่อให้มองเห็นการนำคณิตศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง