การเขียนหนังสือและตำราทางคณิตศาสตร์และสถิติเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ
วันที่เขียน 28/8/2561 13:19:38     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 12/5/2567 18:23:07
เปิดอ่าน: 2290 ครั้ง

ในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการในระดับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ มีหลักเกณฑ์ที่สำคัญคล้ายคลึงกันอย่างหนึ่งคือ ผู้กำหนดตำแหน่งทางวิชาการต้องผ่านการประเมิน เอกสารประกอบการสอน เอกสารประกอบคำสอน ตำรา หรือหนังสือ ซึ่งจำเป็นที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตเอกสารทางวิชาการเหล่านั้น ให้มีความถูกต้องตามหลักวิชาการ ทันสมัย และอยู่ในรูปแบบที่น่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสายคณิตศาสตร์และสถิติ ซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ค่อนข้างมาก ดังนั้นการมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง การเข้าร่วมอบรมในโครงการเทคนิคการเขียนหนังสือและตำรางทางคณิตศาสตร์และสถิติเพื่อขอตำแหน่างทางวิชาการ ณ ภาควิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการดำเนินงานดังกล่าวให้ลุล่วง ซึ่งกระผมจะได้นำความรู้ความเข้าใจดังกล่าวมาถ่ายทอดต่อให้กับคณาจารย์ทุกท่าน

วิทยากร: รองศาสตราจารย์ ดร.กมล บุษบา ภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การพัฒนาผลงานวิชาการและการเขียนบทความวิชาการเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ  

วิทยากรได้ให้คำแนะนำว่า การผลิตผลงานวิชาการควรคำนึงถึงการนำผลงานวิชาการนั้นไปใช้เพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการด้วย โดยให้ศึกษาระเบียบและประกาศหลักเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการเป็นต้นแบบ อาทิ ถ้าต้องการขอตำแหน่งทางวิชาในระดับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ควรใช้บทความวิจัยในการยืนขอตำแหน่ง ดังนั้นจึงควรเน้นสร้างผลงานวิจัยมากกว่าผลงานวิชาการอื่น ๆ ผลงานวิจัยที่ดีควรครอบคลุมองค์ประกอบที่สำคัญ ๆ ดังนี้

๑) เป็นงานศึกษาหรืองานค้นคว้าที่มีระเบียบแบบแผนถูกต้องตามหลักวิทยาการวิจัย

๒) เป็นงานวิจัยที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้น ๆ

๓) เป็นงานวิจัยที่วัตถุประสงค์ที่ชัดเจน

๔) เป็นงานวิจัยที่มีคำตอบหรือข้อสรุปครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

๕) เป็นงานวิจัยที่แสดงถึงความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือเอื้อต่อการนำวิชาการนั้นไปประยุกต์ใช้

อนึ่งเมื่อนำไปเผยแพร่แล้ว ควรมีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้

๑) รายงานวิจัย ต้องมีความครบถ้วนสมบูรณ์และชัดเจนตลอดทั้งกระบวนการวิจัย อาทิ การกำหนดประเด็นปัญหา วัตถุประสงค์ การทบทวนวรรณกรรมปริทัศน์ สมมติฐาน การเก็บรวบรวมข้อมูล การพิสูจน์สมมติฐาน การวิเคราะห์ข้อมูล การประมวลสรุปผลและให้ข้อเสนอแนะ การอ้างอิง และอื่น ๆ

๒) บทความวิจัยที่ประมวลสรุปกระบวนการวิจัยในผลงานวิจัยนั้น ให้มีความกระชับและสั้นสำหรับการนำเสนอในการประชุมวิชาการหรือในวารสารทางวิชาการ

ข้อแนะนำสำคัญ: รายงานวิจัยควรระบุถึงประโยชน์ในการนำไปใช้ได้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม

 

การเขียนตำราทางสถิติ

วิทยากรได้ให้คำแนะนำ ดังนี้

นิยามของตำราว่า “ผลงานวิชาการที่เรียบเรียงขึ้นอย่างเป็นระบบ ครอบคลุมเนื้อหาสาระของวิชาหรือเป็นส่วนหนึ่งของวิชา หรือของหลักสูตรก็ได้ สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการถ่ายทอดวิชาในระดับอุดมศึกษาในการเรียนการสอนในหลักสูตรระดับอุดมศึกษา เนื้อหาสาระของตำราต้องมีความทันสมัย เมื่อพิจารณาถึงวันที่ผู้ขอยื่นเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการ”

รูปแบบของตำรา ควรมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้

๑) เป็นรูปเล่มที่ประกอบด้วย คำนำ สารบัญ เนื้อเรื่อง การอธิบายหรือการวิเคราะห์ การสรุป การอ้างอิงและบรรณานุกรม รวมถึงดัชนีคำ

๒) อาจมีการอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่ทันสมัยและครบถ้วนสมบูรณ์

๓) การอธิบายสาระสำคัญมีความชัดเจน โดยอาจใช้ข้อมูล แผนภาพ ตัวอย่าง หรือกรณีศึกษาประกอบจนผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจในสาระสำคัญนั้นได้โดยเบ็ดเสร็จ

ข้อแนะนำสำคัญ: ผู้เขียนสามารถนำตัวอย่างจากหนังสือต่างประเทศ หนังสือภาษาไทย มาประกอบการอธิบายหรือเป็นตัวอย่างได้ แต่ต้องมีการอ้างอิงที่ถูกต้อง เช่น

๑) ถ้ามีการปรับตัวอย่างนั้นให้ดีขึ้น ควรอ้างอิงในรูปแบบ เช่น (ปรับปรุงจาก Hogg and Crag, 1978)  

๒) ถ้าไม่มีการปรับปรุงใด ๆ ควรอ้างอิงในรูปแบบ เช่น (Hogg and Crag, 1978)  

๓) ควรแยกการอ้างอิงเป็นบท ๆ เนื่องจากจะได้สอดคล้องกับการอ้างอิงในเนื้อหานั้น ไ

๔) คำศัพท์ที่ใช้ ควรอ้างอิงการใช้จากพจนานุกรมของราชบัณฑิตยสถาน

๕) การลำดับเนื้อหาต้องสอดคล้องกัน และต่อเนื่องกัน

การเผยแพร่ตำรา มีหลักเกณฑ์ที่สำคัญ ดังนี้

๑) เผยแพร่ด้วยวิธีการพิมพ์ โดยโรงพิมพ์ หรือ สำนักพิมพ์ หรือ โดยการถ่ายสำเนาเย็บเป็นรูปเล่ม หรือทำในรูปแบบอื่น ๆ

๒) เผยแพร่โดยสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ตัวอย่างเช่น การเผยแพร่ในรูปของซีดีรอม ฯลฯ

๓) ต้องได้รับการตรวจสอบและรับรองการเผยแพร่จากคณะกรรมการของมหาวิทยาลัย คณะ และ/หรือ สถาบันทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชานั้น

๔) ต้องใช้ในการเรียนการสอนมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งภาคการศึกษา

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=836
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
Data Science คืออะไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร » Data Science คืออะไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร
Data Science หรือ วิทยาการข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ โดยครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บข้อมูล (Collect) การจัดการข้อมูล (Manage) การวิเคราะห์ข้อมูล (Analyze) ไปจนถึงขั้นตอนการนำข้อมูลมาช...
Data Science  วิทยาการข้อมูล     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ธวัชชัย เพชรธาราทิพย์  วันที่เขียน 24/4/2567 13:27:01  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 10/5/2567 23:17:20   เปิดอ่าน 37  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 ในวันที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 08.00 - 17.00 น. ณ ห้องเอกภพวิทยา ชั้น G อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดย...
ChatGPT  การประชุมวิชาการ  เทคโนโลยี  วิทยาศาสตร์  สิ่งแวดล้อม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 11/4/2567 15:19:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 12/5/2567 9:03:15   เปิดอ่าน 64  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม สัมมนาหรือประชุมวิชาการ » รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิริพร สมุทรวชิรวงษ์  วันที่เขียน 2/4/2567 16:14:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 12/5/2567 8:10:49   เปิดอ่าน 85  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง