ข้าพเจ้านางสาว สมคิด ดีจริง ตำแหน่งอาจารย์ สังกัดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขา-วิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ได้เข้าร่วมประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยในงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 10 ประจำปี 2561 “ราชมงคลขับเคลื่อนนวัตกรรมสู่ประเทศไทย 4.0” ระหว่าง วันที่ 1-3 สิงหาคม 2561 ณ โรงแรมเรือรัษฎา จังหวัดตรัง ซึ่งข้าพเจ้าได้รับฟังปาฐกถาพิเศษในหัวข้อเรื่อง ทิศทางและนโยบายพัฒนาประเทศไทยโดยใช้องค์ความรู้จากงานวิจัย โดยพลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งผู้บรรยายกล่าวว่า การวิจัยเป็นภารกิจที่มีความสำคัญ เนื่องจากจะทำให้ได้องค์ความรู้และทำให้เกิดนวัตกรรมขึ้นได้จากกระบวนการวิจัย และงานวิจัยจะเป็นพลังขับเคลื่อนประเทศไทยอีกด้วย และยังได้รับฟังการปาฐกถาพิเศษในหัวข้อเรื่อง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกับบทบาทในการพัฒนาประเทศสู่ Thailand 4.0 โดย ดร. กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัยและนายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งกล่าวว่า นักวิจัยผลิตผลงานวิจัย องค์ความรู้นวัตกรรม และเทคโนโลยีจากงานวิจัยทั้งการวิจัยพื้นฐาน การวิจัย และพัฒนางานที่มีทั้งคุณภาพ ปริมาณ และสนองตอบต่อเป้าหมาย และประเด็นเร่งด่วนตามยุทธศาสตร์ชาติและภารกิจของหน่วยงาน มหาวิทยาลัยจะต้องปรับตัวเพื่อไปสู่อนาคตและเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศสู่ Thailand 4.0 และยังได้รับฟังเรื่อง จริยธรรมกับการเผยแพร่งานวิจัย โดย ศ. นพ. ยง ภู่วรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิทยากรกล่าวว่า การเขียนบทความและทำวิจัย การนำงานเขียน ภาพประกอบและเพลงต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของผลงานก่อน โดยการทำหนังสือขออนุญาต .ซึ่งอาจได้รับความยินยอมจากเจ้าของผลงาน ซึ่งหานำไปใช้โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของผลงานถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์ :ซึ่งภาพที่สามารถเข้าถึงทางอินเทอร์เนตต้องขออนุญาตจากเจ้าของผลงานก่อนทั้งสิ้น รวมทั้งภาพจากการวิจัยวิทยาศาสตร์ ห้ามตกแต่งเด็ดขาด นอกจากนี้ การคัดลอกข้อความจากผู้อื่นทั้งหมดก็ไม่สามารถทำได้ ซึ่งนักวิจัยที่ดีต้องมีจริยธรรม ซึ่งจริยธรรมกับการเผยแพร่ผลงานวิจัย มีประเด็นหลัก 4 ประการ ได้แก่ ถูกต้อง โปร่งใส ตรวจสอบได้ เท่าเทียม เสมอภาค ใช้ได้เท่ากัน ข้าพเจ้ายังได้รับฟังการนำเสนอในภาคบรรยายและโปสเตอร์ ในด้านเกษตรศาสตร์ ได้แก่ กระตุ้นการสร้างพฤกษเคมีในต้นอ่อนทานตะวันด้วยวิตามินซี และไคโตซานจากกากเห็ดหลินจือเพื่อเป็นการเร่งการเจริญในฤดูหนาว พบว่า สารละลายวิตามินซีและไคโตซาน สามารถกระตุ้นให้ต้นอ่อนทานตะวันสร้างสารฟินอลิกรวม น้ำหนักสด ความสามารถในการต้านออกซิเดชัน และปริมาณคลอโรฟิลล์ของต้นอ่อนทานตะวันได้ และข้าพเจ้ายังได้รับฟังผลงานวิจัยเรื่องการคัดแยกแบคทีเรียแลคติกที่มีศักยภาพเป็นโปรไบโอติกจากไก่เบตง พบแบคทีเรียที่มีคุณสมบัติการทนกรด มีอัตราการรอดชีวิตสูง ทนต่อเกลือน้ำดีได้ และแบคทีเรียรอดชีวิตได้ในระบบกระเพาะอาหารและลำไส้จำลอง และผิวเซลล์ ความไม่ชอบน้ำสูง และต้านทานสารปฏิชีวนะได้ ซึ่งแบคทีเรีย Lactobacillus reuteri ที่คัดแยกได้จากทางเดินอาหารของไก่เบตงสามารถนำไปพัฒนาใช้เป็นโปรไบโอติกได้ และยังได้ความรู้จากผลงานวิจัยในหัวข้อเรื่อง เปรียบเทียบผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของผักเชียงดาในพื้นที่จังหวัดลำปาง พบว่า ผักเซียง-ดา 9 สายพันธุ์ มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิก คลอโรฟิลล์ และฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของผักเชียงดา ความชื้น และปริมาณของแข็งทั้งหมด ไม่แตกต่างกันทางสถิติ และยังได้รับความรู้จากงานวิจัยเรื่อง การผลิตน้ำมังคุดเข้มข้นพร้อมดื่มโดยเทคนิคการระเหิดภายใต้สุญญากาศ พบว่า น้ำมังคุดเข้มข้นที่ไม่ผ่านการลวกทำให้เข้มข้นภายใต้สุญญากาศที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส ได้รับการยอมรับ และความชอบรวมมากที่สุด และยังมีงานวิจัยเรื่อง คุณค่าทางโภชนาการและคุณภาพการหุงต้มข้าวจากน้ำแร่แจ้ซ้อนลำปาง ซึ่งพื้นที่ปลูกข้าวเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อคุณค่าทางโภชนาการและคุณภาพการหุงต้มข้าวที่ผู้บริโภคสนใจ พบว่า คุณภาพหุงต้ม และคุณค่าทางโภชนาการในข้าวกล้องที่ปลูกในเขตธารน้ำแร่แจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน 4 พันธุ์ คือ ข้าวไรซ์เบอรี่ ทับทิมชุมแพ ข้าวเหนียวลืมผัว กข แม่โจ้ 2 และ กข 6 เปรียบเทียบกับข้าวที่ปลูกในเขตอำเภอแม่ทะ และอำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง พบว่า ข้าวกล้องทุกตัวอย่างไม่พบซัลเฟอร์ แต่พบปริมาณโลหะหนัก และข้าวเหนียวลืมผัวและไรซ์เบอรี่ในเขตน้ำแร่แจ้ซ้อนมีปริมาณสารประกอบฟินอลิก แอนโธไซยานิน และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าข้าวกล้องที่ปลูกนอกเขตธารน้ำแร่แจ้ซ้อนจังหวัดลำปาง และยังได้รับความรู้จากงานวิจัยเรื่อง การใช้ประโยชน์ของเหลือทิ้งจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และดินปลูก พบว่า สูตรปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้กากทะลายปาล์ม เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่มีปริมาณ เมื่อหมักภายใต้การหมักแบบไร้อากาศ และการใช้กลีบเลี้ยงปาล์ม เป็นส่วนผสมดินสำหรับการหมักดินปลูก มีปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียมด้วย ซึ่งอัตราส่วนของดินปลูกกับปุ๋ยอินทรีย์ 60 : 40 สามารถส่งเสริมการเจริญในส่วนของต้น ใบ และดอกดาวเรือง ซึ่งกากทะลายปาล์ม และกลีบเลี้ยงเป็นวัสดุเหลือทิ้งจากการสกัดน้ำมันปาล์ม เป็นวัสดุทางเลือกสำหรับการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และดินปลูก เพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างรายได้ให้กับอุตสาหกรรมการสกัดน้ำมันปาล์มต่อไป และยังมีงานวิจัยเรื่อง ผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ต่อองค์ประกอบผลผลิตและผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ของข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 ที่ปลูกในดินชุดสรรพยา พบว่า ข้าวที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี ส่งผลทำให้มีเปอร์เซ็นต์เมล็ดข้าวดี และผลผลิตข้าวเปลือกดีอีกด้วย ส่วนงานวิจัยเรื่อง ประสิทธิภาพของฮอร์โมนชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวพันธุ์ กข 43 พบว่า คุณภาพทางเคมีของฮอร์โมนสูตรนมสด และสูตรไข่ มีปริมาณไนโตรเจนรวมและปริมาณโพแทสเซียมรวมสูงกว่าฮอร์โมนสูตรหน่อกล้วย และพบว่า ฮอร์โมนสูตรไข่ มีปริมาณโพแทสเซียมรวมสูงสุด แต่เมล็ดข้าวที่ได้จากการปลูกด้วยฮอร์โมนหน่อกล้วยมีคุณภาพปริมาณไนโตรเจนรวม โพแทสเซียมรวม และฟอสเฟตรวมสูงสุด ซึ่งฮอร์โมนสูตรหน่อกล้วยและสูตรไข่มีศักยภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวพันธุ์นี้ได้ และยังมีงานวิจัยเรื่อง ศักยภาพของวัสดุพลอยได้จากโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาลทรายสำหรับผลิตปุ๋ยอินทรีย์และผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีต่อการเจริญเติบโตของข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 พบว่า การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี ทำให้ข้าวมีการเจริญเติบโตดีและสามารถช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้ถึงร้อยละ 50 และวัสดุพลอยได้จากโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาลมีศักยภาพสำหรับใช้ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงได้อีกด้วย ส่วนงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ได้แก่ เรื่องปริมาณสารประกอบฟินอลิกทั้งหมดและฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของย่านางผสมสมุนไพร รายงานว่า สูตรย่านางผสมตะไคร้สัดส่วน 90 : 10 เป็นสูตรที่เหมาะสมสำหรับการนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่อไป เนื่องจากได้รับความชอบโดยรวมสูงสุด มีปริมาณสารประกอบฟินอลิกทั้งหมดสูงส่วนงานวิจัยเรื่อง จุลินทรีย์ที่มีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคดื้อยา MRSA (Methicillin resistance Staphylococcus aureus) จากฟองน้ำทะเลดีโมสปองเจีย ซึ่งฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียทดสอบด้วยวิธี Agar well diffusion method พบว่า แบคทีเรีย SK3 ซึ่งแยกได้จากฟองน้ำดีโมสปองเจียสีดำ ให้บริเวณยับยั้งกว้างที่สุด และน่าจะเป็นแหล่งสารปฏิชีวนะสำหรับต้านแบคทีเรียดื้อยา MRSA ได้ ส่วนในงานวิจัยเรื่อง คุณค่าทางโภชนาการและสารต้านอนุมูลอิสระของกระเจี๊ยบเขียว (Abelmoschus esculentus) อบแห้งจากชุมชนบ้านม่าหนิกในจังหวัดภูเก็ต พบว่า กระเจี๊ยบเขียวมีปริมาณคุณค่าทางโภชนาการประกอบด้วยความชื้น เถ้า เยื่อใย โปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตอยู่ และกระเจี๊ยบเขียวยังมีสารประกอบฟีนอลิก และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย ซึ่งสามารถนำไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตชาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้ นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่ศึกษาอิทธิพลของระดับปุ๋ยฟอสฟอรัสที่แตกต่างกันต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักเซียงดา .ซึ่งการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสอัตรา 0.5 กรัมต่อต้น ทำให้ผักเซียงดามีการเจริญเติบโตด้านความกว้างของทรงพุ่ม น้ำหนักยอดรวมต่อต้นต่อเดือน จำนวนยอดรวมต่อต้นสูงที่สุดและเพิ่มปริมาณสารฟินอลิก ส่วนการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสอัตรา 20.0 กรัมต่อต้น ส่งผลให้ผักเซียงดามีความเขียวของใบสูงที่สุด .ซึ่งในงานประชุมวิชาการครั้งนี้ยังได้รับความรู้จากงานวิจัยในด้านมนุษยศาสตร์ สังคมวิทยาและการศึกษา ในเรื่องที่เกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาพฤติกรรมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ Active learning :โดยใช้เกมจำลองเหตุการณ์ ในหัวข้อ “เอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์” ซึ่งนิสิตมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้บอร์ดเกมเป็นสื่อช่วยให้เกิดการเรียนรู้ในระดับมากที่สุด และนิสิตมีความเห็นว่า บอร์ดเกมมีรูปแบบที่น่าสนใจ อุปกรณ์สีสันสวยงาม ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างสนุกสนาน ไม่รู้สึกเบื่อในการเรียนรู้ กิจกรรมบอร์ดเกมช่วยส่งเสริมให้นิสิตมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนในห้องเรียน ช่วยฝึกนิสิตในเรื่องการทำงานเป็นทีม ผู้นำและผู้ตาม บอร์ดเกมสอดคล้องกับหัวข้ออัตลักษณ์นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และกิจกรรมนี้ช่วยลดวิธีการสอนแบบบรรยายได้
ในการประชุมวิชาการในครั้งนี้ ยังได้ชมการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมในเรื่องต่าง ๆ อีก ได้แก่ น้ำตาลผลไม้เมืองร้อน: น้ำตาลเงาะและการใช้ประโยชน์น้ำตาลเงาะ ซึ่งน้ำตาลเงาะมีรสหวาน กลิ่นหอม มีน้ำตาลกลูโคส ฟรุคโตส ซูโครส และมีแคลเซียมสูง นอกจากนี้ ยังมีกรดซิตริก กรดมาลิกซึ่งไม่พบในน้ำตาลทรายขาว ซึ่งมีการใช้ประโยชน์จากน้ำตาลเงาะ เช่น ใช้ประกอบอาหารคาว หวาน และเครื่องดื่ม และน้ำตาลเงาะเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง สะดวกในการจัดเก็บและขนส่ง และยังมีสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมในเรื่อง ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากสานสกัดถั่วหรั่ง และยังมีการแสดงผลิตภัณฑ์จากน้ำตาลโตนดผง ผลิตภัณฑ์น้ำมันเขียวจากสานสกัดธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากสารสกัดข้าวไรซ์เบอรี่อินทรีย์ และเรื่อง แวกซ์นวดอโรมา สำหรับบรรเทาอาการปวดเมื่อย ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมจากสารสกัดสมุนไพร และยังมีหัวข้อเรื่องวัสดุปลูกอัจฉริยะ นวัตกรรมทางการเกษตร และผลงาน เรื่อง เครื่องทำความสะอาดรังนกนางแอ่นด้วยลำโพง และเรื่องผนังปลูกพืชจากใบสักเพื่อเป็นฉนวนกันความร้อน เป็นต้น
จากการที่ได้เข้าร่วมประชุมวิชาการในครั้งนี้ทำให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการเรียนการสอน งานวิจัย รวมทั้งงานบริการวิชาการได้ต่อไป
สมคิด ดีจริง