ถอดรหัสผู้นำสารจากอวกาศ
วันที่เขียน 25/3/2561 12:56:57     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/4/2568 2:50:49
เปิดอ่าน: 4704 ครั้ง

จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในโรงเรียน (วทร.23) ข้าพเจ้าขอนำบทความที่ประทับใจเรื่องถอดรหัสผู้นำสารจากอวกาศเพื่อเผยแพร่ เพื่อประโยชน์ต่อวงการวิทยาศาสตร์

รังสีคอสมิก (cosmic rays) คืออนุภาคพลังงานสูงที่มาจากอวกาศ ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากกระบวนการพลังงานสูงหลายชนิดในเอกภพ เช่น ซูเปอร์โนวา (supernova) การลุกจ้าบนดวงอาทิตย์ (solar flare) หรือ การดูดกลืนสสารของหลุมดำ (black hole) เมื่อรังสีคอสมิกเดินทางมายังชั้นบรรยากาศโลก จะพุ่งชนอะตอมของแก๊สในชั้นบรรยากาศ ส่งผลให้เกิดอนุภาคชนิดต่าง ๆ จำนวนมากที่เดินทางมาถึงพื้นโลก ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของอนุภาคเหล่านี้ เราจะสามารถเข้าใจรังสีคอสมิกและกระบวนการบางชนิดที่เกิดขึ้นในเอกภพได้ ดังนั้น อนุภาคที่เกิดจากรังสีคอสมิกจึงเปรียบเสมือน “ผู้นำสารจากอวกาศ” มายังพื้นโลก  การศึกษารังสีคอสมิกทำได้หลายวิธี หนึ่งในนั้นคือการใช้ “ห้องหมอก” (cloud chamber) ในการตรวจจับอนุภาคที่เดินทางมาถึงพื้นโลก การสร้างห้องหมอกขนาดเล็กสามารถทำได้ไม่ยากจากการใช้วัสดุที่หาได้รอบตัว ซึ่งในกิจกรรมนี้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้ลงมือปฏิบัติในการสร้างห้องหมอกขนาดเล็ก และจะได้ทดสอบการตรวจจับอนุภาคที่มาจากรังสีคอสมิก จากนั้น จะเป็นการนำผลที่ได้มาสังเกต วิเคราะห์ และอภิปรายเพื่อแปลความหมาย โดยสิ่งที่ได้เรียนรู้สามารถใช้เป็นแนวทางในการสอนเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับ ม.ปลาย เรื่อง องค์ประกอบของสสาร แรงแม่เหล็ก ประจุไฟฟ้า รังสี วิวัฒนาการของดาวฤกษ์ ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับดวงอาทิตย์ และเทคโนโลยีอวกาศ

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=788
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 6
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 6 ในวันที่ 27 มีนาคม 2568 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดยคณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการประมงแ...
การประชุมวิชาการ  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 2/4/2568 23:04:27  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 18:44:10   เปิดอ่าน 12  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์ » การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์
การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์เป็นกระบวนการที่ใช้ตรวจสอบว่าคำตอบของสมการเชิงอนุพันธ์มีแนวโน้มที่จะคงที่หรือเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเวลาผ่านไป โดยทั่วไป การพิจารณาเสถียรภาพขึ้นอยู่กับพฤต...
การหาเสถียรภาพ  สมการเชิงอนุพันธ์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ธวัชชัย เพชรธาราทิพย์  วันที่เขียน 7/3/2568 14:18:42  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 21:03:27   เปิดอ่าน 86  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ รุ่นที่ ๕ : จากหลักการสู่การปฏิบัติ
จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ ในทางปฏิบัติมีความจำเป็นจะต้องพิจารณาก่อนที่จะดำเนินการวิจัย โดยยึดหลักตามหลักการของ Belmont Report and Basic Ethical (1978) ประกอบด้วย 3 หลักกา...
จริยธรรมวิจัย  พฤติกรรมศาสตร์  วิจัยในมนุษย์  สังคมศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 26/2/2568 16:09:31  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/4/2568 1:48:33   เปิดอ่าน 129  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง