สรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมการประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 16
วันที่เขียน 18/12/2560 10:42:07     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 7:54:26
เปิดอ่าน: 3625 ครั้ง

จากการที่ได้เข้าร่วมการประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 16 “พืชสวนไทยก้าวหน้าด้วยพระบารมี” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม 2560 ณ อาคารเอกาทศรถ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก จากการเข้าร่วมโครงการดังกล่าวข้าพเจ้าได้สรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ ดังนี้

  1. การพัฒนาด้านการวิจัย : ได้เข้าฟังการบรรยายพิเศษและการอภิปรายต่าง ๆ โดยมีหัวข้อที่น่าสนใจ ได้แก่ “อุตสาหกรรมเกษตรไทย 4.0” และ “ไทยแลนด์ 4.0 กับอนาคตพืชสวนไทย” ความรู้ที่ได้รับในส่วนนี้ สามารถนำมาตั้งโจทย์วิจัยให้สอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ได้ โดยสร้างองค์ความรู้ที่สามารถต่อยอดสร้างนวัตกรรม ๆ และสร้างมูลค่าเพิ่มของผลผลิตทางพืชสวนต่าง ๆ

    2. การพัฒนาด้านการเรียนการสอน : ได้นำเสนอผลงานวิจัยในภาคโปสเตอร์ 1 เรื่อง ดังนี้

-  งานวิจัยเรื่อง “การศึกษาการฟอกฆ่าเชื้อและการชักนำให้เกิดแคลลัสในกนกนารี (Selaginella)” พืชสกุลกนกนารีเป็นไม้คลุมดินรักษาความชุ่มชื้นให้หน้าดิน  เป็นไม้ประดับให้ความร่มรื่นสวยงาม ในปัจจุบันมีความสนใจนำพืชสกุลกนกนารีมาใช้ประโยชน์ด้านเภสัชกรรมเพิ่มมากขึ้น เทคนิคเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสามารถนำมาใช้ขยายพันธุ์หรือเพิ่มปริมาณเนื้อเยื่อพืชเพื่อสกัดสารสำคัญได้ แต่ยังมีการศึกษาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชในสกุลนี้ค่อนข้างน้อย จึงได้ศึกษาการฟอกฆ่าเชื้อในกนกนารีชนิด S. siamensis พบว่า สภาวะที่เหมาะสมที่สุดในการฟอกฆ่าเชื้อ คือ การแช่ mercuric chloride 0.1% นาน 5 นาที ซึ่งมีอัตราการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ต่ำที่สุด 40% และมีอัตราการรอดชีวิตสูงที่สุด 60% สำหรับการศึกษาการชักนำให้เกิดแคลลัสได้ทดลองในกนกนารีชนิด S. uncinata พบว่า ชิ้นส่วนปลายยอดสามารถเกิดแคลลัสได้ทุกกรรมวิธียกเว้น 2,4-D 0 µM โดยสภาวะที่เหมาะสมที่สุดในการชักนำให้เกิดแคลลัส คือ การใช้อาหารเพาะเลี้ยงที่เติม 2,4-D 5 µM และเพาะเลี้ยงภายใต้สภาพมีแสง ซึ่งสามารถชักนำให้เกิดแคลลัสได้สูงที่สุด 100% และแคลลัสมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางกว้างที่สุด 6.6 มิลลิเมตร

 นอกจากนี้ได้เข้าฟังและชมการนำเสนอผลงานวิชาการภาคบรรยายและโปสเตอร์ตามความสนใจ เช่น

-      งานวิจัยเรื่อง “ผลของชนิดของแสงและน้ำตาลซูโครสต่อการสร้างเหง้าขิงในสภาพปลอดเชื้อ” ได้รับความรู้เกี่ยวกับ สภาวะที่เหมาะสมของคุณภาพแสงและความเข้มข้นของน้ำตาลซูโครสต่อสร้างเหง้าขิงที่นำมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ คือ การใช้น้ำตาลซูโครส 8-10% ร่วมกับการให้แสงจากหลอด LED สีแดงและสีขาว

-      งานวิจัยเรื่อง “ผลของ NAA และ BA ที่มีต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้เอื้องคำปอน (Dendrobium dixanthun Lchb.f.) เอื้องคำกิ่ว (Dendrobium signatum Rchb. F.) และเอื้องเก๊ากิ่วแม่สะเรียง   (Dendrobium tortile Lindl.) ในสภาพปลอดเชื้อ” ได้รับความรู้เกี่ยวกับ สภาวะที่เหมาะสมในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของโปรโตคอร์มที่งอกจากเมล็ดกล้วยไม้เอื้องทั้งสามชนิด โดยแต่ละชนิดใช้ส่วนผสมของ NAA และ BA ที่แตกต่างกัน

-      งานวิจัยเรื่อง “การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออินผลัมด้วยเทคนิคการใช้ช่อดอก” ได้รับความรู้เกี่ยวกับ การใช้ชิ้นส่วนช่อดอกอ่อนนำมาเป็นชิ้นส่วนตั้งต้นในการกระตุ้นให้เกิดต้นอินทผลัม ซึ่งมีขั้นตอนการกระตุ้นให้เกิดแคลลัสและการพัฒนาเกิดต้นใหม่ได้สำเร็จ จนกระทั่งการชักนำให้ต้นยืดยาวและออกรากโดยใช้สารควบคุมการเจริญเติบโต

-      งานวิจัยเรื่อง “ผลของ BAP และ NAA ต่อการเจริญเติบโตของชิ้นส่วนข้อส้มโอพันธุ์มณีอีสาน” ได้รับความรู้เกี่ยวกับ การนำชิ้นส่วนข้อมาเพาะเลี้ยงให้เกิดยอดได้ดีที่สุดบนอาหารสูตร MT ที่เติม BAP 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ NAA 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร

-      งานวิจัยเรื่อง “ผลของ BA และ NAA ต่อการชักนำให้เกิดยอดของไผ่ซางหม่นในสภาพปลอดเชื้อ” ได้รับความรู้เกี่ยวกับ สภาวะฟอกฆ่าเชื้อชิ้นส่วนข้อที่เหมาะสม คือ คลอรอกซ์ 10% 10 นาที และสภาวะที่เหมาะสมในการชักนำให้เกิดยอด คือ อาหารสูตร MS ที่เติม BA 2 มิลลิกรัมต่อลิตร

      จากความรู้ที่ได้รับข้างต้น สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนรายวิชาต่างที่เกี่ยวข้อง ๆ เช่น ชว 310 สรีรวิทยาของพืชประยุกต์ ชว 411 หลักการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช และ ชว 412 หลักการด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืช เป็นต้น 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=754
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 6
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 6 ในวันที่ 27 มีนาคม 2568 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดยคณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการประมงแ...
การประชุมวิชาการ  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 2/4/2568 23:04:27  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 5:09:04   เปิดอ่าน 9  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์ » การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์
การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์เป็นกระบวนการที่ใช้ตรวจสอบว่าคำตอบของสมการเชิงอนุพันธ์มีแนวโน้มที่จะคงที่หรือเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเวลาผ่านไป โดยทั่วไป การพิจารณาเสถียรภาพขึ้นอยู่กับพฤต...
การหาเสถียรภาพ  สมการเชิงอนุพันธ์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ธวัชชัย เพชรธาราทิพย์  วันที่เขียน 7/3/2568 14:18:42  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2/4/2568 20:09:37   เปิดอ่าน 84  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ รุ่นที่ ๕ : จากหลักการสู่การปฏิบัติ
จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ ในทางปฏิบัติมีความจำเป็นจะต้องพิจารณาก่อนที่จะดำเนินการวิจัย โดยยึดหลักตามหลักการของ Belmont Report and Basic Ethical (1978) ประกอบด้วย 3 หลักกา...
จริยธรรมวิจัย  พฤติกรรมศาสตร์  วิจัยในมนุษย์  สังคมศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 26/2/2568 16:09:31  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 4:35:56   เปิดอ่าน 125  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง