การนำเสนอผลงาน
วันที่เขียน 26/7/2560 10:41:32     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 16:15:19
เปิดอ่าน: 2849 ครั้ง

ข้าพเจ้า นางสาว มยุรา ศรีกัลยานุกูล ตำแหน่ง อาจารย์ สังกัด หลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพ ได้เข้าร่วมประชุมวิชาการและเสนอผลงานทางวิชาการระดับชาติ ในงานประชุมวิชาการ ระดับชาติ มอบ.วิจัย ครั้งที่ ๑๑ “ความหลากหลายทางจุลชีวัน: รู้เท่าทันและการประยุกต์วันที่ ๑๓-๑๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ณ.อาคารเทพรัตนสิริปภา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี และได้เข้าร่วมเสนอผลงานทางวิชาการแบบโปสเตอร์ เรื่อง การผลิตเอทานอลจากแป้งมันฝรั่งที่เป็นของเหลือทิ้งด้วยกระบวนการหมักแบบ Simultaneous Saccharification and Fermentation (SSF)

ข้าพเจ้า นางสาว มยุรา ศรีกัลยานุกูล ตำแหน่ง อาจารย์ สังกัด หลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพ ได้เข้าร่วมประชุมวิชาการและเสนอผลงานทางวิชาการระดับชาติ ในงานประชุมวิชาการ ระดับชาติ มอบ.วิจัย ครั้งที่ ๑๑ “ความหลากหลายทางจุลชีวัน: รู้เท่าทันและการประยุกต์วันที่ ๑๓-๑๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐  ณ.อาคารเทพรัตนสิริปภา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี โดยภายหลังการเข้าร่วมประชุมวิชาการครั้งนี้ ข้าพเจ้าขอนำส่งสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ดังต่อไปนี้

๑.      พัฒนาเกี่ยวกับงานวิจัย

ได้เข้าร่วมฟังบรรยายเรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพ ความสำคัญ การรู้เท่าทัน และการใช้ประโยชน์ในบริบทประเทศและบริบทโลกจาก รศ.ดร. นภาวรรณ นพรัตนราภรณ์ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยเนื้อหากล่าวถึงความหลากหลายทางชีวภาพที่มีตวามสำตัญเชิงเศณษฐกิจ สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ การลดลงทั้งชนิดและปริมาณ การสูญเสียและการสูญพันธุ์ของทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย

ได้เข้าร่วมฟังบรรยายพิเศษเรื่อง Mushroom and its capability for sustainable benefit จาก Prof. Dr. Tadanori AIMI Tottori University, ประเทศญี่ปุ่น โดยเนื้อหากล่าวถึง การศึกษาการกลไกที่ทำให้เห็ดไมตาเกะเกิดสีดำ ซึ่งพบว่าเมลามีนมีผลทำให้ไมตาเกะเกิดสีดำ

ได้เข้าร่วมฟังบรรยาย เรื่อง การตรวจสอบความถูกต้องเพื่อเปิดโอกาสให้การพัฒนาชุด ทดสอบเป็นอุตสาหกรรมใหม่ของประเทศไทย จาก รศ.ดร.ประเวทย์ ตุ้ยเต็มวงศ นายกสมาคม AOAC Thailand และ ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัยอาหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยเนื้อหากล่าวถึง การผลิตชุดทดสอบจุลินทรีย์ก่อโรคในอาหาร ซึ่งชุดทดสอบนี้ผลิตในประเทศไทย มีความแม่นยำเท่ากับมาตราฐาน AOACของต่างประเทศ และมีราคาถูก

นอกจากนี้ยังได้เข้าร่วมฟังบรรยายจากผู้ทรงคุณวุฒฺในหลาย ๆ หัวข้อที่เกี่ยวกับจุลินทรีย์

ได้เข้าร่วมเสนอผลงานทางวิชาการแบบโปสเตอร์ เรื่อง การผลิตเอทานอลจากแป้งมันฝรั่งที่เป็นของเหลือทิ้งด้วยกระบวนการหมักแบบ Simultaneous Saccharification and Fermentation (SSF)

บทคัดย่อ

การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำแป้งมันฝรั่งที่เป็นของเหลือทิ้ง (Potato Starch Waste) มาผลิตเอทานอลโดยใช้กระบวนเปลี่ยนแป้งให้เป็นน้ำตาลควบคู่กับกระบวนการหมัก (Simultaneous Saccharification and Fermentation (SSF)) การศึกษาการย่อยแป้งมันฝรั่งที่เป็นของเหลือทิ้งโดยใช้เอนไซม์จากลูกแป้งเหล้า ทำโดยเตรียมหัวเชื้อผสมจากผงลูกแป้ง 0.5 กรัม ใส่ลงในน้ำแป้งมันฝรั่งที่เป็นของเหลือทิ้ง (Potato Starch Waste) จากกระบวนการแปรรูปมันฝรั่งความเข้มข้น 20 % (w/v) ปริมาตร 100 มิลลิลิตร ทำการหมักเอทานอลแบบ SSF ด้วยเชื้อยีสต์ Saccharomyces cerevisiae TISTR 5020 ที่สภาวะต่าง ๆ พบว่าการใช้ผงลูกแป้ง 0.5 กรัม ใส่ลงแป้งมันฝรั่งที่เป็นของเหลือทิ้ง บ่มที่ความเร็วรอบ 150 รอบต่อนาที อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง แล้วจึงเติมเชื้อยีสต์ S. cerevisiae TISTR 5020 2% (w/v) ทำการหมักที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส 48 ชั่วโมง สามารถผลิตเอทานอลได้สูงที่สุดคือ 14.30 มิลลิลิตรต่อลิตร จากการศึกษาครั้งนี้ สามารถใช้เป็นแนวทางการตัดสินใจ เลือกใช้แป้งมันฝรั่งที่เป็นของเหลือทิ้ง (Potato Starch Waste) จากกระบวนการแปรรูปมันฝรั่งมาผลิตเอทานอลต่อไป

         จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการและเสนอผลงานทางวิชาการระดับชาติ ในงานประชุมวิชาการ ระดับชาติ มอบ.วิจัย ครั้งที่ ๑๑ “ความหลากหลายทางจุลชีวัน ครั้งนี้ ได้รับความรู้เรื่องความหลากหลายเกี่ยวกับจุลินทรีย์ การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ และความปลอดภัยทางชีวภาพ สามารถนำไปใช้พัฒนางานวิจัยและได้จริง และ สามารถต่อยอดเพื่อผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในอนาคต

 

๒.      พัฒนาเกี่ยวกับการเรียนการสอน

สามารถนำความรู้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการและเสนอผลงานทางวิชาการระดับชาติ ในงานประชุมวิชาการ ระดับชาติ มอบ.วิจัย ครั้งที่ ๑๑ “ความหลากหลายทางจุลชีวัน ครั้งนี้ มาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนในวิชา ชว ๔๕o เทคโนโลยีการหมัก วท ๔๙๗ สหกิจศึกษา และ วท ๔๙๘ การเรียนรู้อิสระ

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 ในวันที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 08.00 - 17.00 น. ณ ห้องเอกภพวิทยา ชั้น G อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดย...
ChatGPT  การประชุมวิชาการ  เทคโนโลยี  วิทยาศาสตร์  สิ่งแวดล้อม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 11/4/2567 15:19:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 14:31:04   เปิดอ่าน 17  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม สัมมนาหรือประชุมวิชาการ » รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิริพร สมุทรวชิรวงษ์  วันที่เขียน 2/4/2567 16:14:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 9:12:43   เปิดอ่าน 37  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศ
การเขียนบทความทางวิชาการเพื่อให้ได้ตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญ และจำเป็นสำหรับบุคลากรสายวิชาาร เนื่องจากหลังจากที่ทำการศึกษา วิจัย ค้นคว้า ทดลองสิ่งใหม่ ๆ ๆได้แล...
Chat GPT  บทความวิชาการ  วารสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 4/3/2567 10:52:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 15:17:47   เปิดอ่าน 73  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง