ในเดินทางไปร่วมประชุมวิชาการนานาชาติและนำเสนอผลงานวิจัย The 2nd Environment and Natural Resources International Conference (ENRIC 2016): Interdisciplinary Approaches to Save Future Earth Environment ณ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในระหว่างวันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2559 นั้น โดยได้เข้าร่วมการนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ เรื่อง Biogas Production from Fermenting Pangola Grass (Digitaria eriantha) with Vinasse from Distillery Plant ในการสัมมนา มีการจัดการสัมมนาออกเป็น 3 ส่วน คือ การวิจัยทางสิ่งแวดล้อม (Environmental research) การจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental management) และ การพัฒนาและปรับปรุงสิ่งแวดล้อม (Environmental development) การวิจัยทางสิ่งแวดล้อม ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การหาสาเหตุและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม เช่น การศึกษาการดูดซับตะกั่วในดิน โดยใช้ใบสับปะรดและยางพารา การจัดการสิ่งแวดล้อม เกี่ยวข้องกับ การวางแผนเพื่อจัดการพื้นที่เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น การศึกษาการคัดแยกขยะในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม เป็นการหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาหาวิธีการในการลดปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เช่น การผลิตแก๊สชีวภาพจากของเหลือทิ้งหรือน้ำทิ้งจากแหล่งต่างๆ จากการไปสัมมนาครั้งนี้ ได้สนใจเข้าร่วมฟังการบรรยายในหัวข้อ การผลิตแก๊สชีวภาพจากการหมักร่วมกันระหว่างกากไขมัน กับมูลสุกร และน้ำทิ้ง (Biogas Production from Anaerobic Co-Digestion of Grease Waste with Swine Manure and Wastewater) ในงานวิจัยได้ทำการศึกษาการใช้ร่วมกันระหว่าง กากไขมัน: มูลสุกร :น้ำทิ้ง โดยใช้ในสัดส่วน ต่างๆ ดังนี้ 0.3 : 2.1 : 0.6, 0.5 : 2 : 2.5, 0.5 : 2.5 : 2, 0.5 : 3.5 : 1, 0.5 :3.5 :10, 1 : 2 : 2, 1 : 2.5 : 1.5, 1 : 5 : 10, 1 : 6 : 10, 1.5 : 1.5 : 2, และ 2 : 1 : 2 (w/w/v) ในการศึกษาทำการเลี้ยงในถังหมักขนาด 200 ลิตร ในสภาวะไร้อากาศ พบว่าสัดส่วนที่เหมาะสมคือ 0.5 : 3.5 :10 ให้ปริมาณแก๊สมีเทนสูง 2,184 ลิตร หรือร้อยละ 56.5 ในวันที่ 31 ของการเลี้ยง ซึ่งแก๊สดังกล่าวสามารถผลิตได้ 28.06 ลิตร ต่อวัน และให้พลังงาน 68 กิโลแคลอรี ในงานสัมมนาครั้งนี้ได้มีการส่งเสริมให้ตระหนักถึงการลดการใช้พลังงานจากแหล่งธรรมชาติ การหาแหล่งพลังงานอื่นใช้ทดแทน เช่น พลังงานจากแก๊สชีวภาพ ไบโอดีเซล พลังงานแสงอาทิตย์ และ พลังงานลม จากการฟังบรรยายเรื่องการผลิตแก๊สชีวภาพในครั้งนี้ สามารถนำไปประยุกต์และปรับปรุงงานวิจัยของตนเองที่เกี่ยวกับการผลิตแก๊สชีวภาพ ต่อไป