อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การบริหารหลักสูตรที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ในแนวทาง Outcome Based Education (OBE)
วันที่เขียน 3/3/2560 16:34:25     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/12/2567 0:22:51
เปิดอ่าน: 9706 ครั้ง

อบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อเรื่อง การบริหารหลักสูตรที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ในแนวทาง Outcome Based Education (OBE) ณ สวนทวีชล อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

เมื่อวันที่ 5-6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ได้มีโอกาสเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อเรื่อง การบริหารหลักสูตรที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ในแนวทาง Outcome Based Education (OBE) ณ สวนทวีชล อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีสาระสำคัญที่จะมาแบ่งปันดังนี้

เนื่องจากมีปัจจัยชี้นำที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่ออนาคตการทำงานและส่งผลต่อทักษะที่จำเป็นในการทำงานในอนาคต โดยมีปัจจัยที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอยู่ 6 ประการ คือ

1) คนจะมีอายุยืนมากขึ้น ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้นทั่วโลก และจะส่งผลต่อการทำงานและการเรียนรู้ของคน

2) เครื่องมือและระบบในการทำงานที่เป็นอัจฉริยะมากขึ้น โดยเราจะมีเครื่องมือในการทำงานในรูปแบบใหม่ๆ ในรูปแบบที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน (หลักฐานที่ชัดเจนคือการถือกำเนิดของ Tablet)

3) Computational World ที่เราจะมีข้อมูลในเรื่องต่างๆ มากขึ้น ทำให้การตัดสินใจในเรื่องต่างๆ เปลี่ยนไปในอีกรูปแบบหนึ่ง

4) สื่อในรูปแบบใหม่ๆ ที่จะทำให้การสื่อสารของเราเปลี่ยนไป การรับรู้ในสื่อต่างๆ อาจจะมากกว่าเพียงแค่ตัวอักษรและรูปภาพแบบในปัจจุบัน

5) โครงสร้างองค์กรและรูปแบบการทำงานใหม่ๆ อันเกิดจาก Social Technology ทำให้เกิดรูปแบบการผลิตและการดำเนินงานใหม่ๆ

6) โลกที่เชื่อมต่อกันมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อรูปแบบการทำงานขององค์กร

ในการอบรมเชิงปฏิบัตการครั้งนี้จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ จึงได้จัดอบรมขึ้น โดยมีหัวข้อบรรยายดังต่อไปนี้

1. หลักการ OBE เพื่อการพัฒนาหลักสูตร

หลักการ OBE เพื่อการพัฒนาหลักสูตรนั้นควรตระหนักถึงการผลิตบัณฑิตให้ทันสมัย สอดคล้องกับอาชีพที่ผู้ประกอบการต้องการในอนาคต โดยจะต้องมีการพัฒนาหลักสูตรให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะในการทำงานที่จำเป็นเพื่อพร้อมที่จะทำงานในอนาคต ซึ่งมีทักษะที่สำคัญอยู่ 10 ทักษะ ได้แก่

1. Sense-making หรือความสามารถในการทำความเข้าใจถึงนัย หรือความหมายที่อยู่เบื้องลึก (Meaning & Insight) ซึ่งจะเป็นสิ่งซึ่งเครื่องจักร อุปกรณ์ หรือ เทคโนโลยีไม่สามารถทำได้

2. Social Intelligence โดยสามารถประเมินและรับรู้ต่ออารมณ์ การเปลี่ยนแปลงของสังคมหรือบุคคลรอบข้างได้

3. Novel & Adaptive Thinking หรือความสามารถในการคิดสิ่งใหม่ๆ ที่แตกต่างจากสิ่งที่เป็นอยู่ประจำ

4. Cross-Cultural Competency หรือความสามารถในการทำงานในวัฒนธรรมที่หลากหลายและแตกต่าง

5. Computational Thinking หรือความสามารถในการแปลความหมายของข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่อย่างมากมายมหาศาลไปสู่สิ่งที่เป็นประโยชน์

6. New Media Literacy เป็นความสามารถในการพัฒนาและสร้างข้อมูลบนสื่อรูปแบบใหม่ๆ อีกทั้งความสามารถในการใช้ประโยชน์จากสื่อใหม่ๆ สำหรับการสื่อสาร

7. Transdisciplinarity หรือความสามารถในการเข้าใจในเนื้อหาและสิ่งต่างๆ ข้ามศาสตร์ ที่ไม่ได้ยึดติดอยู่กับศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่งเท่านั้น

9. Cognitive Load Management ที่เป็นความสามารถในการจัดลำดับและแยกแยะงาน ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ที่มีความสำคัญออกมาได้ (ซึ่งเป็นปัญหาของคนทำงานในปัจจุบันจำนวนมาก)

10. Virtual Collaboration เป็นความสามารถในการทำงานให้เพื่อนร่วมทีมสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความผูกพัน ในสภาวะการทำงานที่เป็น Virtual

ประกอบกับการออกแบบหลักสูตรจะต้องใช้หลักการของการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ (Outcome-based Education :OBE) ที่ เป็นการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-based Learning) ดังต่อไปนี้

          1. การศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ (Outcome-based Education) จะเริ่มจากผู้สอนจะต้องตั้งผลลัพธ์ที่ผู้เรียนควรจะได้หรือควรจะเป็นหลังจากเสร็จสิ้นการเรียน ซึ่งจะต้องแจ้งให้ผู้เรียนทราบว่าเมื่อเรียนวิชานี้จบไปแล้ว จะสามารถทำอะไรได้บ้าง จากนั้นจึงออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อมุ่งไปสู่ผลลัพธ์นั้น ซึ่งการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์จึงคู่กันกับการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรม (Activity-based Learning)

          2. ผู้ที่จะพัฒนาผู้เรียน ไม่ใช่ผู้สอน แต่คือตัวผู้เรียนเอง โดยผู้สอนทำหน้าที่เป็นวิทยากร กระบวนการ (facilitator) ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนคิดได้ และเรียนรู้ด้วยตนเอง ดังนั้น ผู้เรียนจึงเป็นศูนย์กลางของการเรียน (student-centered)

          3. การศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์จึงเป็นแนวระนาบ ที่ครูหรืออาจารย์จะเรียนรู้ร่วมกับนักเรียนนักศึกษา และเรียนรู้จากนักเรียนนักศึกษาได้ด้วย

4. การศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ใช้วิธีการเรียนรู้โดยการใช้กิจกรรม และการลงมือปฏิบัติ (Activity-based Learning) ซึ่งได้แก่ การเรียนรู้จากปัญหาที่เกิดขึ้นจริง (Problem-based Learning) การเรียนรู้โดยการทำโครงงาน (Project-based Learning) และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) ซึ่งก็คือการให้โครงงานที่ทำเป็นโครงงานที่ไปบริการสังคมหรือชุมชน ซึ่งจะทำให้ได้เรียนรู้เรื่องการใช้ความรู้โดยรับผิดชอบต่อสังคมด้วย

         5. ต้องมีการให้ผู้เรียนได้สรุปบทเรียนการเรียนรู้ (reflection) อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้เรียนได้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และต้องมีการประเมินผลหรือประเมินผลลัพธ์ เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการพัฒนาตนเอง และเพื่อให้อาจารย์ผู้สอนได้ทราบว่าวิธีการที่ใช้นั้นได้ผลหรือไม่ ถ้าไม่ได้ผล หรือได้ผลน้อย ก็ต้องปรับวิธีการให้ได้ผลมากขึ้นในครั้งต่อไป 

2. การบริหารจัดการหลักสูตรตามแนวทาง OBE

    การบริหารจัดการหลักสูตรตามแนวทาง OBE ให้คำนึงถึงข้อมูลป้อนกลับจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อหลักสูตรว่ามาจากใคร ที่ไหน อะไรบ้าง แล้วจึงนำมาเป็นข้อมูลย้อนกลับเพื่อบริหารจัดการหลักสูตรให้สอดคล้องกับข้อมูลนั้นๆ 

3. การทำ Program Profile

     ในการจัดทำ Program Profile ของหลักสูตรจะต้องทำให้ผู้อ่าน โดยเฉพาะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อหลักสูตร อ่านแล้วมีความสนใจต่อหลักสูตร ดึงดูดใจอยากที่จะเข้ามาศึกษาในหลักสูตร ซึ่งควรมีหัวข้อดังต่อไปนี้

1. ชื่อหลักสูตร

2. ชื่อปริญญา

3. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาต่อ

4. การกำกับมาตรฐานหลักสูตร

5. อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา

6. โครงสร้างของหลักสูตร จำนวนหน่วยกิตรวม

7. จุดเด่นของหลักสูตร

8. อื่นๆ ที่ต้องการเผยแพร่ เช่น อาจารย์ งานวิจัย

ซึ่งในการอบรมครั้งนี้นอกจากได้รับความรู้แล้ว ยังเป็นการเปิดโอกาสในการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคณาจารย์ต่างสาขาและต่างคณะในการพัฒนาหลักสูตรต่อไป

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=625
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
รายงานผลการเข้าร่วมกิจกรรมแล้วนำไปใช้ประโยชน์ ประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 50 (STT50) » เข้าร่วมประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 50 (STT50)
ตามที่คณะวิทยาศาสตร์ได้อนุญาตให้ข้าพเจ้าเข้าร่วมงาน "ประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 50 (STT50)" ในระหว่างวันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงแรมดิ...
Poster  STT50     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน อนรรฆอร ศรีไสยเพชร  วันที่เขียน 28/11/2567 14:17:26  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/12/2567 11:57:58   เปิดอ่าน 27  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง