เทคนิคการเข้าถึงสารสนเทศเพื่อการศึกษาวิจัย 2
วันที่เขียน 1/12/2559 19:51:11     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 14:38:45
เปิดอ่าน: 6748 ครั้ง

การรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตประจำวัน การเข้าถึงสารสนเทศ (Information access) เป็นการที่ผู้ใช้สามารถค้นและได้รับสารสนเทศที่ต้องการโดยเครื่องมือช่วยค้นต่างๆ เช่น การเข้าถึงสารสนเทศจากทรัพยากรสารสนเทศของสถาบัน และทรัพยากรสารสนเทศจากอินเตอร์เน็ต ตัวอย่างฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการสืบค้นข้อมูลออนไลน์ต่างประเทศ ได้แก่ Science Direct, Springer Link, ISI Web of Science :ซึ่งในปัจจุบันข้อมูลในทางอินเทอร์เน็ตมีมากมาย ผู้ที่ต้องการสารนิเทศควรมีทักษะในการใช้โปรแกรมสืบค้น เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงตามความต้องการมากที่สุด โดยใช้เวลาน้อยที่สุด จึงได้นำเสนอเทคนิคการเข้าถึงสารสนเทศเพื่อการศึกษาวิจัย ซึ่งได้รับจากการฝึกอบรมของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มาเผยแพร่เพื่อการประยุกต์ใช้ประโยชน์ต่อไป

เทคนิคการเข้าถึงสารสนเทศเพื่อการศึกษาวิจัย  

  1. การสืบค้น (Searching)
  2. การคัดกรองผลการสืบค้น (Refining your search results)
  3. การวิเคราะห์ผลการสืบค้น (Analyzing your search results)
  4. การจัดการผลการสืบค้น (Managing your search results)

การสืบค้น (Searching)

1.1  การเตรียมคีย์เวิร์ด (Preparing your keywords)

—        ควรจะเป็นคำนาม (Noun)

—        คำพ้องความหมาย คำเหมือนคำคล้าย (Synonym) เช่น hypertension กับ high blood pressure หรือ woman female lady girl เป็นต้น

การสืบค้น (Searching)

ตัวอย่างการเตรียมคีย์เวิร์ด เพื่อคัดเลือกวรรณกรรมที่เป็นงานวิจัยหลายประเภท

    เรื่องที่ต้องการสืบค้น คือ

    การบำบัดหรือจัดการอาการปวดหลังส่วนล่างแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง

—        อาการปวดแบบเฉียบพลัน acute pain

—        อาการปวดแบบเรื้อรัง chronic pain

—        หลัง Back

—        หลังส่วนล่าง low back

—        การจัดการ Management

1.2 การใช้เครื่องหมายช่วยในการสืบค้น (Wildcards)

    * ละตัวอักษรตั้งแต่ 0 ตัวอักษรเป็นต้นไป

       เช่น manag* จะค้นหา manage manages manager management

    ? แทนที่ตัวอักษรเพียงตัวเดียวเท่านั้น

       wom?n จะค้นหา woman women  หรือ

       fib?? จะค้นหา fiber fibre

    “…..” ค้นตรงตามตัวที่พิมพ์

    “lung cancer” “stingless bee” “hard of hearing” เป็นต้น

    (…….) จัดลำดับการสืบค้นก่อนหลัง

    rabies AND (dog OR cat)

 

การสืบค้น (Searching)

1.3 การสร้างเงื่อนไขเพื่อการสืบค้นโดยใช้ตัวเชื่อม (Operators)

—        AND ค้นหาทุกคำ

          ตัวอย่าง  insulin AND diabetes

          ทั้ง insulin และ diabetes ต้องพบอยู่ในบทความเดียวกัน

—        OR ค้นหาอย่างน้อยหนึ่งคำ

          ตัวอย่าง  heart OR cardiac

          heart หรือ cardiac คำใดคำหนึ่งต้องปรากฎอยู่ในบทความ

—        NOT ปฎิเสธการค้นหาคำนี้

          rabies NOT dogs

          rabies ซึ่งเป็นคำแรกต้องปรากฎในบทความ แต่คำที่สองคือ dogs ต้องไม่ปรากฎอยู่ในบทความ

การใช้ตัวเชื่อมเพื่อกำหนดคำให้อยู่ใกล้กันภายในจำนวนคำที่กำหนด ทั้งนี้การใช้ตัวเชื่อม NEAR ใช้ได้กับบางฐานข้อมูลเท่านั้น

—        NEAR/n การตั้งค่าให้คำอยู่ใกล้กันภายในจำนวนคำที่กำหนด (n)

—        NEAR/3-5 phrase กำหนดให้อยู่ภายในกลุ่มคำหรือวลีเดียวกัน

    ตัวอย่าง drying NEAR/3 vegetable ผลการสืบค้นที่พบ คือ คำว่า drying อยู่ในตำแหน่งที่ใกล้กับคำว่า vegetable ภายในหรือไม่เกิน 3 คำ โดยที่ลำดับของคำจะปรากฎคำใดก่อนก็ได้

NAER/15 same sentence กำหนดให้อยู่ภายในประโยคเดียวกัน

    ตัวอย่าง drying NEAR/15 vegetable ผลการสืบค้นที่พบคือคำว่า drying อยู่ในตำแหน่งที่ใกล้กับคำว่า vegetable ภายในหรือไม่เกิน 15 คำ หรือประมาณการว่าทั้งสองคำต้องปรากฎภายในประโยคเดียวกัน โดยที่ลำดับของคำจะปรากฎคำใดก่อนก็ได้

—        NAER/50 same paragraph กำหนดให้อยู่ภายในย่อหน้าเดียวกัน

     ตัวอย่าง drying NEAR/50 vegetable ผลการสืบค้นที่พบ คือ คำว่า drying อยู่ในตำแหน่งที่ใกล้กับคำว่า vegetable ภายในหรือไม่เกิน 50 คำ หรือประมาณการว่าทั้งสองคำต้องปรากฎภายในย่อหน้าเดียวกัน โดยที่ลำดับของคำจะปรากฎคำใดก่อนก็ได้

1.4 วิธีการสืบค้น (Search Methods)

—        Basic search ค้นทุกเขตข้อมูล ผลลัพธ์การสืบค้นจะมีปริมาณมากและกว้าง

—        Advanced search เลือกกำหนดเขตข้อมูลได้ สร้างเงื่อนไขที่ซับซ้อนได้ดี ปริมาณผลการสืบค้นไม่มากและแคบกว่า Basic search         

—         

การคัดกรองผลการสืบค้น  

(Refining your search result)

การคัดกรองผลการสืบค้นหรือจำกัดผลการสืบค้นให้แคบลงได้โดย

—        การเพิ่มคีย์เวิร์ด (Adding more keywords)

—        การเลือกหัวเรื่องที่ต้องการ (Choosing your subjects)

—        การกำหนดปีที่พิมพ์ (Limiting a search by publication year)

—        การกำหนดเขตข้อมูล (Specifying fields)

ประเภทสิ่งพิมพ์ (Publication types)

การวิเคราะห์ผลการสืบค้น (Analyse results)

—        การวิเคราะห์ผลการสืบค้นด้วยการจัดเรียงผลลัพธ์ (Sort results by)

—        Relevance (จัดเรียงตามความเกี่ยวเนื่องเกี่ยวข้องกับคีย์เวิร์ด)

การจัดการผลการสืบค้น (Manage your results)

การจัดผลการสืบค้น อันได้แก่ ข้อมูลบรรณานุกรม (Bibliographic information) และเอกสารฉบับเต็ม (Full Text)

—        การสั่งพิมพ์ (Printing)

—        การบันทึกข้อมูล (Saving)

—        การอีเมล (Email)

—        การนำข้อมูลบรรณานุกรมออก (Exporting citation)

—        โปรแกรม EndNote

—        Text file

—         

ตัวอย่างการสืบค้นสารสนเทศโดยใช้ฐานข้อมูล Springer Link - Journal

ฐานข้อมูล  Springer Link - Journal เป็นสานักพิมพ์ชั้นนาที่ให้บริการเนื้อหาในสาขาวิชาหลัก ๆ

ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และทางการแพทย์ รวมถึงสาขาทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ อาทิเช่น

Behavioral Science, Computer Science, Biomedical and Life Science, Business and

Economics, Mathematics and Statistics, Chemistry and Materials Science, Medicine, Chinese

Library of Science, Russian Library of Science,Humanities, Social Science and Law, Physics

and Astronomy, Earth and Environmental Sciences, Engineering โดยมีเนื้อหาครอบคลุมสิ่งพิมพ์

ประเภทหนังสือ และวารสาร เป็นต้น รายละเอียดฐานข้อมูล

โดยสามารถเข้าใช้งานได้ที่ http://www.link.springer.com

 

รูปแบบการสืบค้น มี 3 รูปแบบ คือ

1. แบบ Browse by discipline

2. แบบ Quick Search

3. แบบ Advanced Search

1. การสืบค้นแบบ Browse by discipline ไล่เรียงตามหัวเรื่อง

2. การสืบค้นแบบQuick Search สืบค้นแบบรวดเร็ว

3. การสืบค้นแบบAdvanced Search สืบค้นขั้นสูง

หน้าแสดงผลลัพธ์ 

  1. 1.      จำนวนรายการผลลัพธ์ที่พบทั้งหมด  
  2. 2.      คลิกที่ชื่อเรื่องเพื่อเข้าดูเอกสาร 
  3. 3.      หรือเลือกจำกัดผลลัพธ์ให้แคบลงจากส่วน Rfine your search

 

สาระสังเขป(Abstract)

 

 การสั่งพิมพ์ (Print) และการบันทึก (Save) เอกสารฉบับเต็ม(Full Text) รูปแบบ PDF

 

  

ให้เลือกบันทึก (Save) แล้วสั่งพิมพ์เอกสาร

 

                                                                                      สมคิด ดีจริง

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=609
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดสอบระบบ Dugga » เรียนรู้การใช้งานระบบ Dugga - Digital Assessment Platform
Dugga - Digital Assessment Platform (https://www.dugga.com) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสอบ บนโลกออนไลน์ ให้สะดวก ปลอดภัยมากขึ้น แนวทางการออกแบบประเภทคำถามมีหลากหลายกว่า 15 ประเภท แนะการจัดการระบบความปล...
AI  Dugga  Exam     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 9/7/2567 12:31:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 11:47:10   เปิดอ่าน 26  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน วิทยากรโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ  การตีพิมพ์ผลงาน  จริยธรรมการวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 7/7/2567 15:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 7:01:51   เปิดอ่าน 23  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ กรรมการ กพว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้เกียรติบรรยายเกี่ยวกับ หลักเก...
ตำแหน่งทางวิชาการ  ประกาศ ก.พ.อ.     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:15:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 2:37:51   เปิดอ่าน 46  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » ความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE
เป็นประเด็นที่ผู้ประเมินอาจเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE โดยที่ประเด็นต่าง ๆ ที่นำมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อใช้ในการเป็นผู้ประเมินเพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ให้เป็นไปในทิศทางเดี...
AUNQA  OBE  ประกันคุณภาพการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:04:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 4:48:37   เปิดอ่าน 42  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง