สรุปเนื้อหาเกี่ยวกับการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ "เทคนิคการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ (ACS Training: Publishing Research)"
วันที่เขียน 15/3/2559 13:28:06     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/5/2567 5:32:01
เปิดอ่าน: 3091 ครั้ง

ในกระบวนการทำงานวิจัยนั้น เมื่อผู้ทำวิจัยได้ดำเนินการวิจัยเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่สำคัญคือ การนำเสนอผลการวิจัยให้ผู้อื่นได้รับรู้ เพื่อที่จะได้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะต่อไป ซึ่งการนำเสนองานวิจัยก็มีหลากหลายรูปแบบ อาทิ การนำเสนอแบบโปสเตอร์ การนำเสนอด้วยปากเปล่าในการประชุมวิชาการต่าง ๆ และการตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารวิชาการต่าง ๆ เป็นต้น การตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารวิชาการนั้นถึอเป็นรูปแบบการนำเสนองานวิจัยที่เป็นนิยมในหมู่นักวิจัยเป็นอย่างมาก เนื่องจากบทความวิจัยนั้น ๆ จะคงแสดงอยู่ในวารสารนั้น ๆ ตลอดไป รวมถึงผู้อื่นสามารถสืบค้นได้ง่าย ดังนั้นแล้วผู้วิจัยจึงจำเป็นต้องมีทักษะในการเขียนบทความวิจัยที่สามารถทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน ไม่คลุมเครือ การเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ จึงถือว่าเป็นการฝึกทักษะการเขียนบทความวิจัยของเขียน อันจะทำให้การเขียนบทความวิจัยมีความถูกต้อง ชัดเจน เข้าใจง่าย และเป็นสากล เป็นต้น

การบรรยายโดยวิทยากร

       หัวข้อ “ประเภทและองค์ประกอบเพื่อการเตรียมผลงานวิจัย (Scientific disclosure; types and anatomy) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ศิวพร มีจู สมิธ วิทยากรกล่าวถึง เหตุผลของการตีพิมพ์หรือนำเสนอผลงานวิจัย ซึ่งประกอบด้วย ๒ เหตุผล หลัก ๆ คือ

       ๑. เหตุผลส่วนตัว (Personal gain) อาทิ เพื่อการขอสำเร็จการศึกษา เพื่อสร้างผลงาน เพื่อเป็นที่ชื่นชม และเพื่อหารายได้

       ๒. เหตุผลสาธารณะ (Public gain) อาทิ เพื่อการเผยแพร่องค์ความรู้ที่ค้นพบอันจะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ

       จากนั้นกล่าวถึง ประเภทของการเผยแพร่ผลงานวิจัย ซึ่งมี ๓ ประเภทหลัก ๆ คือ

           ๑) โปสเตอร์ (poster)

           ๒) การนำเสนอในการประชุมวิชาการ (presentation) และ

           ๓) การตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ (publication)

โดยขยายความเกี่ยวกับเตรียมความพร้อมของประเภทการเผยแพร่ผลงานวิจัยต่าง ๆ อาทิ

       โปสเตอร์ มีโครงสร้างหลักอยู่ ๕ ส่วน คือ บทนำ (Introduction) วิธีการ (methods) ผลการวิจัยหรืออภิปรายผล (results/discussion) การสรุปผล (conclusion) และการอ้างอิง (literature cited)

       การนำเสนอในการประชุมวิชาการ มีหลักที่สำคัญที่ต้องพึงระวัง คือ รู้เวลาในการนำเสนอ รู้ว่าผู้ฟังคือใคร ควรใช้เวลาต่อหน้านำเสนอเพียง ๑ นาที ไม่ควรนำเสนอด้วยการอ่านจากหน้านำเสนอ และควรเตรียมคำตอบสำหรับคำถามที่เป็นไปได้ที่จะได้รับจากผู้ฟัง

       การตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ วิทยาการได้เน้นและขยายความเกี่ยวกับหัวข้อนี้ อาทิ

       ข้อควรระวังก่อนการส่งตีพิมพ์ เช่น ควรตรวจสอบว่าเคยนำส่วนใดส่วนหนึ่งของผลงานวิจัยไปเผยแพร่หรือไม่ เป็นต้น

       การเตรียมความพร้อมบทความวิจัย

            ๑) หัวข้องานวิจัย สามารถตั้งชื่อหัวข้องานวิจัยได้ ๓ รูปแบบหลัก คือ อิงสมมติฐาน (Hypothesis) อิงวิธีการ (Methods) และอิงผลลัพธ์ (Results)

            ๒) บทคัดย่อ (Abstract) ควรเขียนให้ชัดเจนและครอบคลุมงานวิจัยที่เป็นหลักสำคัญทั้งหมด เนื่องจากบทคัดย่อเป็นด่านแรกที่ผู้อ่านงานวิจัยพบเจอก่อน โดยอาจยึดหลักสำคัญ ดังนี้

                  ๒.๑) บอกถึงวัตถุประสงค์ของงานวิจัย

                  ๒.๒) อธิบายถึงวิธีการหรือเทคนิคที่ใช้ในงานวิจัย

                  ๒.๓) แสดงผลลัพธ์ที่สำคัญ ๆ

                  ๒.๔) สรุปผลลัพธ์ที่ได้

                  ข้อแนะนำในการเขียนบทคัดย่อเป็นภาษาอังกฤษ ๑) ควรใช้ Past tense ๒) ควรใช้ภาษาที่มีความชัดเจนไม่คลุมเครือ ๓) แสดงผลลัพธ์ที่ชัดเจน ๔) ไม่ควรใช้คำโอ้อวดเกินจริง และ ๕) ไม่ควรใช้คำ อาทิ better, faster, larger, more effective, more variable เป็นต้น

             ๓) รูปภาพ (Figure) ควรใช้สีน้อยที่สุด ภาพและตัวอักษรที่แสดงในภาพมีความคมชัด เป็นต้น

       หัวข้อ “สาระน่ารู้ การแชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับขั้นตอนการส่งผลงานวิจัยเพื่อรับการประเมินสำหรับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ (Manuscript submission: Peer-review in practice and tips) โดย โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ศิวพร มีจู สมิธ วิทยากรกล่าวถึง Peer review ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งที่สำคัญในการตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารวิชาการที่สำคัญ โดยได้แสดงถึงสถิติของการ ตอบรับบทความวิจัย อาทิ ได้รับการตอบรับแต่ให้ปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำร้อยละ ๔๑ ปฏิเสธหลังจากพิจารณาบทความร้อยละ ๓๐ เป็นต้น จากนั้นกล่าวถึง การเลือกวารสารวิชาการที่จะตีพิมพ์ควรต้องพิจารณาหลักสำคัญ ๆ ได้แก่ ควรเลือกตีพิมพ์ในวารสารที่ความเกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่ทำเป็นอันดับแรก ต่อมาให้พิจารณาขอบเขตของงานวิจัย พิจารณาจากชื่อเสียงของวารสาร และอันดับสุดท้ายพิจารณาที่ค่า Impact factor ฯลฯ

การอบรมเชิงปฏิบัติการ

       หัวข้อ “การเขียนถึงเนื้อความของเขาให้เป็นประโยคของเรา (Paraphrasing) โดย Dr. Christopher B. Smith วิทยากรได้บรรยาย การคัดลอกงานวิจัย (paraphrasing) ที่ผู้วิจัยหรือผู้เขียนบทความวิจัยที่จะต้องให้ความสำคัญ โดยให้ความหมายของ Paraphrasing ว่าเป็นการคัดลอกหรืออ้างถึงคำ (word) ความคิด (idea) ของบุคคลอื่นมาเป็นของตนเอง โดยการคัดลอกงานวิจัยมักพบเจอได้ ๔ รูปแบบ คือ ๑) คัดลอกหรือนำงานของผู้อื่นมาอ้างอิงโดยขาดการอ้างอิง ๒) การใช้ความคิดของผู้อื่นโดยขาดการให้เครดิต ๓) การอ้างอิงหรือให้เครดิตที่ไม่เพียงพอ ๔) การนำข้อความของผู้อื่นโดยขาดการใช้เครื่องหมาย quotation (“…”)  เป็นต้น และกล่าวถึงเทคนิคการนำเนื้อความของบุคคลอื่นมาประยุกต์ให้เป็นประโยคของเรา โดยการให้ผู้เข้าร่วมการอบรมได้ลองปฏิบัติจริง อาทิ การเปลี่ยนเอกพจน์ (singular) ไปเป็น พหูพจน์ (plural) การเปลี่ยนรูปแบบการเขียนโดยการสรุปสาระสำคัญ เป็นต้น

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=488
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
Data Science คืออะไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร » Data Science คืออะไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร
Data Science หรือ วิทยาการข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ โดยครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บข้อมูล (Collect) การจัดการข้อมูล (Manage) การวิเคราะห์ข้อมูล (Analyze) ไปจนถึงขั้นตอนการนำข้อมูลมาช...
Data Science  วิทยาการข้อมูล     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ธวัชชัย เพชรธาราทิพย์  วันที่เขียน 24/4/2567 13:27:01  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/5/2567 0:46:40   เปิดอ่าน 24  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 ในวันที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 08.00 - 17.00 น. ณ ห้องเอกภพวิทยา ชั้น G อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดย...
ChatGPT  การประชุมวิชาการ  เทคโนโลยี  วิทยาศาสตร์  สิ่งแวดล้อม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 11/4/2567 15:19:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 1/5/2567 19:43:12   เปิดอ่าน 40  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม สัมมนาหรือประชุมวิชาการ » รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิริพร สมุทรวชิรวงษ์  วันที่เขียน 2/4/2567 16:14:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2/5/2567 22:15:26   เปิดอ่าน 66  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง